Connect with us

Highlight

‘โจ บิ๊กทรี’ ทุ่มชีวิตกว่า 10 ปี เพื่อพื้นที่สีเขียวในกทม. สู่ ‘ปทุมวันโมเดล’

Published

on

“สิ่งที่ทำมาตลอด 10 กว่าปี คือ ขาหนึ่งทำงานบริษัทตัวเอง ขาอีกข้างหนึ่งก็รณรงค์เรื่องพื้นที่สีเขียว”

จากหนุ่มนักเรียนนอก “โจ พงศ์พรหม ยามะรัต” ที่กลับมาเมืองไทยในช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่แตกปี 40 ตั้งใจกลับมาเมืองไทยเพื่อฟื้นฟูเปลี่ยนแปลงประเทศ จุดเริ่มต้นของกลุ่ม “BIG TREES” ต้นไม้เป็นสัญลักษณ์แทนเรื่องสิ่งแวดล้อม แทนภาพของเมืองที่ดี 

“10 ปีที่แล้ว คอนโดกับต้นไม้จะอยู่ด้วยกันไม่ได้ แต่ปัจจุบันนี้จุดขายของคอนโดคือพื้นที่สีเขียว มันเปลี่ยนไป เราทำสำเร็จไป 1 เรื่อง 10 ปีที่ผ่านมาเอกชนไม่ว่าจะห้างหรือคอนโด เริ่มเข้าใจในสิ่งที่เราทำ เรารณรงค์ เราเรียกร้อง เราไปสำรวจต้นไม้เอง” 

คุณโจ เล่าถึงผลงานในสิ่งที่ทำร่วมกับกลุ่ม BIG TREES ให้เราฟัง “การพัฒนาไม่ใช่การตัดต้นไม้สร้างเมือง”  ความตั้งใจในการรักษาพื้นที่สีเขียวและพัฒนาสิ่งแวดล้อม คุณโจ ลงทุนบินไปเมืองจีนเพื่อไปศึกษา เอาความรู้ และดูต้นแบบของเมืองสีเขียว เพื่อเอาความรู้และสิ่งที่ได้เหล่านั้นมาเผยแพร่ในเพจเฟซบุ๊ก BIG TREES เราเห็นความตั้งใจนี้อย่างจริงใจเมื่อคุณโจบอกว่าทุกอย่างใช้เงินส่วนตัวในการบินไปดูงานแต่ละครั้ง

การทำงานของกลุ่ม BIG TREES ไม่ได้เป็นการประท้วงหรือเรียกร้อง แต่เป็นการที่ช่วยหาทางออกให้กับปัญหาเพื่อให้ทุกคนได้สิ่งที่ต้องการ โดยที่ต่างคนก็ต่างถอยคนละนิด

ในช่วงนั้นกลุ่ม BIG TREES และ คุณโจได้รับความสนใจจากสื่อ นิตยสารพอสมควร  เรียกได้ว่าเป็นไอคอนด้านสิ่งแวดล้อมของคนรุ่นใหม่ ก็ถือว่าประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ ให้คนรุ่นใหม่ได้หันมาสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ลงพื้นที่เขตปทุมวัน

สิ่งที่จะทำให้การพัฒนาเมืองประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง ต้องอาศัยศักยภาพจากหลายภาพส่วนใหม่ใช่แค่กลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น สิ่งหนึ่งที่คุณโจพยายามจะทำคือ “สร้างกระบวนการเชื่อมฝั่งการเมืองและฝั่งทุน กระบวนการที่ยังขาดอยู่ จะดีไม่ดีเรื่องของเขา อีกเรื่องนึง”

ดูเหมือนว่าทุกอย่างกำลังไปได้ดี กลุ่ม BIG TREES เริ่มมีสมาชิกมากขึ้น เป็นที่รู้จักมากขึ้น ทำอะไรก็เริ่มมีพลังมากขึ้น พูดอะไรก็เสียงดังมากขึ้น คุณโจก็ต้องเฟตออกมาเมื่อต้องสร้างชีวิตครอบครัวและมีลูก แต่ก็กลับมาลุยอีกครั้งเมื่อเห็นว่าสิ่งที่ทำชนะแค่เอกชน แต่ภาครัฐที่เป็นศัตรูสำคัญของพื้นที่สีเขียวนั้นทำไม่สำเร็จ

ทำไมเราต้องมีต้นไม้? คำถามที่คุณโจถามกลับเรา 

“รู้มั้ยว่าในอาเซียนเรามีพื้นที่สีเขียวน้อยที่สุด แล้วน่าตกใจกว่านั้นคือถ้าไม่นับประเทศ ทะเลทราย ตะวันออกกลาง ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีพื้นที่สีเขียวน้อยสุดสุด top 5 ล่างสุดของโลก”

สิงคโปร์มีพื้นที่สีเขียว 66 ตรม.ต่อประชากร 1 คน 

กัวลาลัมเปอร์ มี 55 ตรม. ต่อ 1 คน 

ขนาดเซี่ยงไฮ้ ภาพที่เราเห็นว่าเป็นประเทศที่มีแต่ตึกสูงๆ เป็นพันตึก มีพื้นที่สีเขียว 27 ตรม.ต่อคน 

ประเทศที่ประกาศว่าตัวเองมีวิกฤติเรื่องพื้นที่สีเขียวคือญี่ปุ่น เมืองโตเกียว มีอยู่ 9 ตรม. ต่อประชากร 1 คน 

แต่รู้มั้ยครับว่ากรุงเทพมีเพียง 5-6 ตรม. ต่อคนเท่านั้น ไม่รวมประชากรแฝง 

สิงคโปร์

เพราะว่าพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานครถูกทำลายมาตลอด 20-30 ปีที่ผ่านมา เมื่อพื้นที่สีเขียวน้อยลงมันเกิดอะไรขึ้น แน่นอนมันมาพร้อมกับความเจ็บป่วยของคนกรุงเทพ ทั้งโรคมะเร็ง โรคทางเดินหายใจ ไมเกรน ความดัน เพราะอะไร? เรื่องนี้เราเรียนกันมาตั้งแต่ประถมอยู่แล้ว ว่าต้นไม้เยอะมันก็ลดมลภาวะ พอต้นไม้ไม่พอ มลภาวะมันก็เยอะ มันก็เลยกลับมาที่ว่า ทั่วโลกเค้าประกาศว่า เมืองทุกเมืองในโลกนี้ ยกเว้นเมืองที่เป็นทะเลทราย ต้องมีพื้นที่สีเขียวอย่างต่ำ 12 ตรม. ต่อประชากร 1 คน แล้วกรุงเทพฯ ต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือเรื่องของอุณหภูมิของกรุงเทพมหานคร ที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นในสิงคโปร์ ในขณะที่สิงคโปร์อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมากกว่าเราด้วยซ้ำ เมื่อ 40 ปีที่แล้ว อุณหภูมิในช่วงฤดูร้อนแค่ 37 องศา นี่ถือว่าร้อนจนอยู่ไม่ได้ แต่ทุกวันนี้ อุณหภูมิในช่วงฤดูร้อน 39-40 องศา ติดต่อกันมา 4-5 ปี เมื่อร้อนขึ้น ก็ต้องใช้ไฟมากขึ้น ค่าใช้จ่ายก็สูงขึ้น แต่ไม่มีใครพูดถึงเรื่องพื้นที่สีเขียวเลย ไปพูดถึงการไฟฟ้าให้ลดค่าไฟ สุดท้ายมันกระทบหลายอย่าง 

มาถึงตรงนี้แล้วคุณโจบอกเราว่า เริ่มเปลี่ยนตัวเอง จากที่คนรู้จักในนามของ โจ บิ๊กทรี ตามสื่อก็จะจำได้ แต่ตอนนี้บทบาทที่ทำคือ ประสานงานคนเข้ามา เอาสมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทยเข้ามา อาจจะเชิญสมาคมสถาปนิกสยามมา กลุ่มรุกขกร และอื่นๆ เพื่อตั้งเป็นขบวนการ “ปทุมวันโมเดล” ไม่ต้องนึกถึงโจ บิ๊กทรี ไม่ต้องนึกถึงสมาคม ไม่ต้องนึกถึงผู้คน แต่ให้คิดว่ามันคือโมเดล ที่เป็นองค์กรที่มีศักยภาพ พร้อมทำงานเป็นทีม  

“ปทุมวันโมเดล”  ต้องมีพื้นที่สีเขียว ไม่นับสวนลุมพินี ให้ได้เลยมาตรฐานโลกคือ 15-30 ตรม. ต่อประชากร 1 คน บนถนนต้องมีพื้นที่สีเขียวสองข้างทาง พื้นที่ชุมชนต้องหาพื้นที่สีเขียว จะมีการจับมือกับ จุฬาฯ และธรรมศาสตร์ ตั้งกระบวนการที่มีมาตรฐาน เชิญนักวิชาการและมหาวิทยาลัยเข้ามา เป็นที่ปรึกษาให้กับเขต เมื่อเอาโมเดลนี้เป็นตัวตั้ง และทำในเขตอื่นๆ มีตัวชี้วัด ให้เขตอื่นๆทำตาม

ความทุ่มเทและความตั้งใจของผู้ชายคนนี้ตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมา สะท้อนอะไรในหลายแง่มุมของปัญหาและการพัฒนาเมือง สุดท้ายแล้วมันคือการยื่นมือเข้ามาร่วมกันของทุกภาคส่วน การตระหนัก และเห็นความสำคัญและลงมือแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ในหลายประเทศไม่ได้ใช้เวลาในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพียงสองสามปี แต่ใช้เวลา 10 กว่าปี กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จภายใจวันเดียว วันนี้วิกฤติที่สามารถแก้ไขได้ อย่าให้สายก่อนที่จะไม่มีเวลาแก้ไข เพราะเรื่องนี้คือเรื่องของคนทุกคน

โจ พงศ์พรหม ยามะรัต

#TOJONEWS #โตโจ้นิวส์

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: