Connect with us

On this day

๒๘ กันยายน ๒๔๖๐ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศใช้ พระราชบัญญัติว่าด้วย การประกาศให้ ธงไตรรงค์ เป็นธงชาติไทย

Published

on

ธงชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ เป็นธงชาติของประเทศไทย 
มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สีหลักในธง ๓ สี คือ สีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน 
ภายในแบ่งเป็นแถบ ๕ แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น ๒ เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึง
สถาบันหลักทั้งสามของประเทศไทย คือ ชาติ (สีแดง) ศาสนา (สีขาว) และพระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน)
สีทั้งสามนี้เองคือที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่าธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี)

ประวัติศาสตร์การใช้ธงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย สืบได้ความว่า มีการใช้ธง
สำหรับเป็นเครื่องหมายของกองทัพ และใช้ธงสีแดงเป็นเครื่องสำหรับเรือกำปั่น เดินทะเลทั่วไป
มาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และยังไม่มี ธงชาติ ไว้ใช้อย่างเป็นทางการ

ธงแดงเกลี้ยง สำหรับใช้เป็นที่หมายของเรือสยามโดยทั่วไป ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ภาพจาก ธงชาติไทย – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งเรือหลวงและเรือค้าขายของเอกชนยังคงใช้ ธงสีแดงล้วน
เป็นเครื่องหมายของเรือแห่งสยาม ต่อมาจึงได้มีการนำสัญลักษณ์ต่าง ๆ
มาประดับบน ธงพื้นสีแดง เพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นธงสำหรับเรือหลวง

ธงเรือหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ. 2325)
ภาพจาก ธงชาติไทย – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

ในกฎหมายธงสมัยรัชกาลที่ ๑ ได้กล่าวว่า “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปจักรสีขาวลงในธงแดง สำหรับใช้เป็นธงของเรือหลวง”
สาเหตุที่พระองค์กำหนดให้ใช้ “จักรสีขาว”ลงไว้กลางธงผ้าพื้นแดงสำหรับชักในเรือกำปั่นหลวง
เพื่อแสดงความแตกต่างระหว่างเรือของพระมหากษัตริย์ กับเรือของราษฎรสยาม ที่ใช้ธงผ้าพื้นแดงเกลี้ยง

ธงเรือหลวงในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ. 2360)
ภาพจาก ธงชาติไทย – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ทรงได้ช้างเผือกเอก ๓ ช้าง
คือพระยาเศวตกุญชร พระยาเศวตไอยรา และพระยาเศวตคชลักษณ์ 
นับเป็นเกียรติยศยิ่งและบุญบารมีต่อแผ่นดิน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปช้าง
เข้าภายในวงจักรสีขาวของเรือหลวงไว้ด้วย อันมีความหมายว่า พระเจ้าแผ่นดินอันมีช้างเผือก 
แต่ธงช้างอยู่ในวงจักรใช้แต่ เรือหลวง เท่านั้น เรือพ่อค้ายังคงใช้ ธงแดง ตามเดิม

ธงเกตุ สำหรับชักที่หัวเรือหลวง (ต่อมาใช้เป็นธงฉานของกองทัพเรือไทย)
ภาพจาก ธงชาติไทย – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยมีการทำสนธิสัญญากับชาติตะวันตกมากขึ้น
อันเป็นผลต่อเนื่องจาก การทำสนธิสัญญาเบาริ่ง กับสหราชอาณาจักรใน พ.ศ. ๒๓๙๘
พระองค์มีพระราชดำริว่า ธงพื้นสีแดง ที่เอกชนสยามใช้ทั่วไปนั้น ซ้ำกับประเทศอื่นในการติดต่อระหว่างประเทศ สยาม จึงจำเป็นต้องมี ธงชาติ ใช้เป็นของตัวเอง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ใช้ ธงพื้นสีแดงมีรูปช้างเผือก เปล่าอยู่ตรงกลางเป็นธงชาติสยามแต่เอารูปจักรออก

ธงช้างเผือก ธงสี่เหลี่ยมพื้นแดง ตรงกลางมีรูปช้างเผือกเปล่าหันหน้าเข้าหาเสาธง
ใช้เป็นธงชาติสยาม สำหรับใช้บนแผ่นดินเป็นธงแรก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ธงชาติไทย – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

เนื่องจากมีเหตุผลว่า จักรเป็นเครื่องหมายเฉพาะพระองค์พระมหากษัตริย์
ธงนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ได้ทั่วไปทั้งเรือหลวงและเรือเอกชน
แต่เรือหลวง นั้นทรงกำหนดให้ใช้พื้นเป็นสีน้ำเงินขาบชักขึ้นที่หัวเรือ
เพื่อเป็นเครื่องหมายสำหรับแยกแยะว่าเป็นเรือหลวงด้วย ธงนี้มีชื่อว่า ธงเกตุ 
(ต่อมาได้วิวัฒนาการมาเป็นธงฉานของกองทัพเรือไทยในปัจจุบัน)

ธงราชนาวีไทย ภาพจาก ธงชาติไทย – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)
ธงฉาน ของกองทัพเรือไทย
ภาพจาก ธงชาติไทย – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

ธงช้างเผือก ได้ถูกใช้เป็นธงชาติสยามสืบมานานถึง ๘๔ ปี กินระยะเวลารวมถึง ๔ รัชกาล
จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้มีพระราชประสงค์ในการเปลี่ยน
และเพิ่มแบบธง สำหรับชาติสยามใหม่ สำหรับประชาชนทั่วไป เพื่อใช้ในการค้าขาย ล่องเรือระหว่างประเทศ
และใช้ประดับบนบก

ธงค้าขาย ใช้เป็นธงชาติ ในทั่วๆไปสมัย พ.ศ. ๒๔๕๙
ภาพจาก ธงชาติไทย – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

ธงนี้เรียกว่า ธงแดงขาว ๕ ริ้ว (ชื่อในเอกสารราชการเรียกว่า ธงค้าขาย) แต่สำหรับหน่วยงานราชการ
ของรัฐบาลสยาม ยังคงใช้ ธงช้างเผือก เป็นสัญลักษณ์
จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้มีการเปลี่ยนแถบสีแดงที่ตรงกลาง ธงค้าขาย เป็น สีขาบ 
(เป็นชื่อสีโบราณอย่างหนึ่งของไทย คือสีน้ำเงินเข้มเจือม่วง)
ดังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ด้วยเหตุที่ว่า สีน้ำเงินขาบ เป็นสีส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์

ธงไตรรงค์ เริ่มนำมาใช้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๐ – ปัจจุบัน
ภาพจาก ธงชาติไทย – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

ธงชาติแบบใหม่นี้ได้อวดโฉมต่อสายตาชาวโลกครั้งแรกในสงครามโลกครั้งที่ ๑
ซึ่งกองทหารอาสาของไทยได้เชิญไปเป็น ธงชัยเฉลิมพล ประจำหน่วย
อย่างไรก็ตาม ธงสำหรับกองทหารอาสาในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
นั้นมีการเพิ่มรูปสัญลักษณ์พิเศษลงในธงด้วย
โดยด้านหน้าธงนั้นเป็นรูป ช้างเผือก ทรงเครื่องยืนแท่นในวงกลมพื้นสีแดง
ลักษณะอย่างเดียวกับธงราชนาวีไทย

ธงชัยเฉลิมพล ของกองทหารอาสาจากสยาม ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ด้านหน้า
ภาพจาก ธงชาติไทย – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

แถบสีแดงทั้งแถบบนแถบล่างทั้งสองด้าน จารึกพุทธชัยมงคลคาถาบทแรก (ภาษาบาลี)
เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่กองทหารอาสาของไทย ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ 

ธงชัยเฉลิมพล ของกองทหารอาสาจากสยาม ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ด้านหลัง
ภาพจาก ธงชาติไทย – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

ลักษณะของธงไตรรงค์เมื่อแรกบัญญัติ ปรากฏตามความบรรยายในมาตรา ๔
แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ ดังนี้
ธงชาติสยาม รูปสี่เหลี่ยมรี มีขนาดกว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน มีแถบสีน้ำเงินแก่
กว้าง ๑ ส่วน ซึ่งแบ่ง ๓ ของขนาดกว้างแห่งธงอยู่กลาง มีแถบขาวกว้าง ๑ ส่วน
ซึ่งแบ่ง ๖ ของขนาดกว้างแห่งธงข้างละแถบ
แล้วมีแถบสีแดงกว้างเท่าแถบขาวประกอบชั้นนอกอีกข้างละแถบ
ธงสำหรับชาติสยามอย่างนี้ให้เรียกว่า ธงไตรรงค์ สำหรับชักในเรือพ่อค้าทั้งหลาย
แลในที่ต่างๆของสาธารณชนบรรดาที่เปนชาติสยามทั่วไป
ส่วนธงพื้นสีแดง กลางมีรูปช้างปล่อย
ซึ่งใช้เปนธงชาติสำหรับสาธารณชนชาวสยามมาแต่ก่อนนั้น ให้เลิกเสีย

ภาพแสดงสัดส่วนธงชาติไทยที่ถูกต้องตามมาตราฐาน
ภาพจาก ธงชาติไทย – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

ต่อมาได้มีการปรับปรุงถ้อยคำบรรยายลักษณะของธงชาติเสียใหม่ ในมาตรา ๕
แห่งพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช ๒๔๗๙ ซึ่งระบุว่า
ธงชาติ รูปสี่เหลี่ยม มีขนาดกว้าง ๖ ส่วน ยาว ๙ ส่วน ด้านกว้าง ๒ ใน ๖ ส่วน
ตรงกลางเป็นสีขาบ ต่อจากแถบสีขาบออกไปทั้งสองข้าง ข้างละ ๑ ใน ๖ ส่วน
เป็นแถบสีขาว ต่อสีขาว ออกไปทั้งสองข้างเป็นแถบสีแดง
ธงชาตินี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ธงไตรรงค์”

ธงไตรรงค์ ยุคปัจจุบัน
ภาพจาก ธงชาติไทย – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

ในมาตรา ๕ (๑) แห่งพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช ๒๕๒๒ ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติ ธง
ฉบับที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้กล่าวถึงลักษณะธงชาติไว้ดังนี้
ธงชาติ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖ ส่วน ยาว ๙ ส่วน ด้านกว้างแบ่งเป็น ๕ แถบ
ตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นแถบสีน้ำเงินแก่กว้าง ๒ ส่วน
ต่อจากแถบสีน้ำเงินแก่ออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็นแถบสีขาวกว้างข้างละ ๑ ส่วน
ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็นแถบสีแดงกว้างข้างละ ๑ ส่วน
ธงชาตินี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ธงไตรรงค์”

ต่อมา มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีลงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
กำหนดค่าสีมาตรฐานของธงในระบบซีแล็บดี 65 
(รวมทั้ง สวทช. ได้นำไปต่อยอดเป็นค่า RGB, HEX, และ CMYK) ดังนี้

ค่าสีมาตรฐานของธงในระบบซีแล็บดี 65
ภาพจาก ธงชาติไทย – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

ข้อมูลจาก
ธงชาติไทย – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: