Connect with us

On this day

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นำเสนอบทความเรื่องความสมมูลระหว่างมวล-พลังงาน ด้วยสมการ E = mc2

Published

on

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์(Albert Einstein) (14 มีนาคม ค.ศ. 1879 – 18 เมษายน ค.ศ. 1955)
นักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวเยอรมัน ซึ่งได้รับการยอมรับว่า เป็นหนึ่งในนักฟิสิกส์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล
ไอน์สไตน์ โด่งดังมาจากการพัฒนา ทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนสำคัญในการพัฒนาทฤษฎี
กลศาสตร์ควอนตัม ซึ่งทฤษฎีสัมพัทธภาพและทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม
เป็นสองเสาหลักของฟิสิกส์ยุคใหม่

ไอน์สไตน์กำลังนำเสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ ภาพจาก https://www.thetimes.co.uk/

สูตรความสมมูล มวล–พลังงาน ของไอน์สไตน์ E = mc2 ซึ่งมีที่มาจากทฤษฎีสัมพัทธภาพ

E = mc2  ได้รับการขนานนามว่า เป็น “สมการที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก” 
ผลงานของไอน์สไตน์มีอิทธิพลต่อปรัชญาทางวิทยาศาสตร์ ในวงกว้าง
เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1921
ด้วยคำประกาศเกียรติคุณว่า “สำหรับผลงานด้านฟิสิกส์ทฤษฏี”
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้นพบปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก
ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม

ภาพลายมือของไอน์สไตน์ ในการสำเนอผลงานวิชาการ
The original historical documents related to Albert Einstein’s prediction of the existence of gravitational waves are seen at the Hebrew University in Jerusalem on Feb. 11, 2016

ในปี ค.ศ. 1905 ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นปีมหัศจรรย์(annus mirabilis) ของไอน์สไตน์
เนื่องจากไอน์สไตน์ได้ตีพิมพ์บทความ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ครั้งใหม่ถึง สี่ฉบับ ได้แก่
– ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก
– อธิบายถึงการเคลื่อนที่แบบบราวน์
– การนำเสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ และ
– อธิบายถึงความสมมูลระหว่าง มวล–พลังงาน

ไอน์สไตน์ ในวัยเด็ก ภาพจาก อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

ไอน์สไตน์ เกิดในจักรวรรดิเยอรมัน แต่ย้ายไปอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 1895
โดยได้ละทิ้งสัญชาติเยอรมัน (เป็นเรื่องของราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์ค)
ในปี ค.ศ. 1897 เมื่อมีอายุได้ 17 ปี เขาได้สมัครเรียนหลักสูตรการสอนคณิตศาสตร์และฟิสิกส์
ระดับอนุปริญญาที่โรงเรียนสารพัดช่างแห่งสหพันธรัฐสวิสเซอร์แลนด์ในเมืองซูริก
และจบการศึกษาในปี ค.ศ. 1900

ในปี ค.ศ. 1901 ไอน์สไตน์ได้รับสัญชาติสวิส
ในปี ค.ศ. 1903 เข้าทำงานที่สำนักงานสิทธิบัตรสวิสในกรุงเบิร์น
ในปี ค.ศ. 1905 ได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยซูริก
ในปี ค.ศ. 1914 ไอน์สไตน์ได้ย้ายไปยังกรุงเบอร์ลินตามคำสั่งในการเข้าร่วมกับสถาบันวิทยาศาสตร์
แห่งปรัสเซียและมหาวิทยาลัยฮุมบ็อลท์แห่งเบอร์ลิน 
ในปี ค.ศ. 1917 ไอน์สไตน์ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสถาบันฟิสิกส์ไคเซอร์วิลเฮล์ม
ไอน์สไตน์ได้กลับมาถือสัญชาติเยอรมันอีกครั้ง
ในปี ค.ศ. 1933 ในขณะที่ไอน์สไตน์ได้ไปเยือนที่สหรัฐอเมริกา อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ก็ก้าวขึ้นสู่อำนาจ
ทำให้ไอน์สไตน์ไม่ได้เดินทางกลับเยอรมัน เพราะเขาค้ดค้านนโยบายของรัฐบาลที่นำโดยนาซี
จึงได้ตั้งรกรากในสหรัฐอเมริกาและกลายเป็นพลเมืองชาวอเมริกันในปี ค.ศ. 1940

ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้เขียนจดหมายไปถึงประธานาธิบดีสหรัฐแฟรงคลิ้น ดี. โรสเวลต์ 
เพื่อย้ำเตือนถึงโครงการอาวุธนิวเคลียร์ของเยอรมันที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และแนะนำให้สหรัฐ
เริ่มทำการวิจัยโครงการแบบเดียวกัน ไอน์สไตน์ให้การสนับสนุนแก่ฝ่ายสัมพันธมิตร
และประณามแนวคิดเรื่องการใช้นิวเคลียร์เป็นอาวุธ

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: