กฐินมีกำหนดระยะเวลาถวาย ไม่ได้จะถวายตลอดทั้งปี หากการทอดกฐินนั้นมีเพียง 1 เดือน คือ ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (ง่าย ๆ คือ นับจากวันออกพรรษา ไปหมดเขตวันลอยกระทงของปีนั้น)
ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือระยะเวลา ทอดกฐิน
กฐิน เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาติให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้วสามารถรับมานุ่งห่มได้ คำว่า ทอดกฐิน หรือการ กรานกฐิน เป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา
หากท่านได้มีโอกาสไปทำบุญทอดกฐินที่ผ่านมา ก็จะเห็นการประดับวัดด้วยธงต่าง ๆ ซึ่งธงเหล่านี้จะถูกเรียกว่า ธงกฐิน ง่าย ๆ ตรงตัวเลย
มารู้ความหมายของธงแต่ละผืน ที่จะเห็นได้ปีละหน ในช่วงทอดกฐินกัน
ธงเต่า
เต่า สัตว์ที่มีกระดองแข็งคอยคุ้มกันป้องกันภัย ความหมายเมื่อวัดปักธงเต่า เพื่อแสดงแจ้งให้รู้ว่าวัดนี้ทอดกฐินเรียบร้อยแล้ว จะปลดลงในวันเพ็ญเดือน 12
ธงมัจฉา
นางมัจฉา สะท้อนถึงเสน่ห์แห่งความงาม ชวนให้หลงไหลเคลิบเคลิ้ม ตัวแทนหญิงสาว หมายถึงความหลง ตามความเชื่อระบุว่า อานิสง์จากการถวายผ้าแก่พระภิกษุสงฆ์จะส่งผลบุญให้มีรูปงาม
ธงจระเข้
จระเข้ สะท้อนให้เห็นภาพ สัตว์ปากใหญ่กินไม่อิ่ม หมายถึงความโลภ ตำนานเล่าขานสืบต่อกันมา เศรษฐีคนหนึ่งเกิดเป็นจระเข้ว่ายน้ำตามขบวนกฐินจนขาดใจตาย
ธงตะขาบ
ตะขาบ สัตว์มีพิษ เปรียบดั่งความโกรธที่อยู่ในหัวใจ คอยเผาจิตใจ วัดไหนปักธงนี้แสดงให้รู้ว่ามีคนมาจองกฐินแล้ว ใครที่จะมาปวารณาทอดกฐินก็ให้ผ่านไปวัดอื่นไม่ต้องไถ่ถามให้เสียเวลา
___________________________________________________________________________
อ่านบทความอื่น ๆ
เกาะลอยน้ำ ณ บึงโขงหลง ขอพรปู่อือลือนาคราช ใครไปถ้ำนาคาไม่ควรพลาดที่นี่
ทำอะไรก็ติดขัด ให้ “ขอขมากรรม” พึ่งบารมี “หลวงพ่อกลักฝิ่น”
You must be logged in to post a comment Login