Connect with us

On this day

9 สิงหาคม 2517 ริชาร์ด นิกสันประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาลาออก จากตำแหน่ง หลังจากมีส่วนพัวพันกับคดีอื้อฉาว วอเตอร์เกต

Published

on

ภาพจาก Richard Nixon presidential portrait – Wikipedia,Watergate scandal – Wikipedia

ริชาร์ด มิลเฮาส์ นิกสัน ( Richard Milhous Nixon 9 มกราคม ค.ศ. 1913 – 22 เมษายน ค.ศ. 1994)
เป็นประธานาธิบดีคนที่ 37 แห่งสหรัฐ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ค.ศ. 1969 จนถึง ค.ศ. 1974
ก่อนหน้านั้น นิกสัน เคยเป็น รองประธานาธิบดี คนที่ 36 ตั้งแต่ ค.ศ. 1953 ถึง ค.ศ. 1961
ก้าวเข้าสู่วงการเมืองในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจาก รัฐแคลิฟอร์เนีย
และเป็นประธานาธิบดี เพียงคนเดียวของสหรัฐอเมริกา ที่ต้อง ลาออก จากตำแหน่ง 

ครอบครัวของ ริชาร์ด นิกสัน ในวัยเด็ก
ภาพจาก Nixon_child.jpeg (wikimedia.org)

ริชาร์ด นิกสัน เกิดในครอบครัวยากจนในเมืองเล็กๆ ทางตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย 
จบการศึกษาจาก โรงเรียนกฎหมาย มหาวิทยาลัยดุ๊ก ใน ค.ศ. 1937 เมื่อเรียนจบ
ก็เดินทางกลับแคลิฟอร์เนียทำงานด้านกฎหมาย ต่อมาในปี ใน ค.ศ.1942
นิกสันและภรรยา แพทริเซีย ไรอัน นิกสัน ได้ย้ายไปวอชิงตันเพื่อทำงานให้กับรัฐบาลกลาง
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นิกสัน เข้าประจำการในกองทัพเรือในฐานะกำลังสำรอง
ต่อมา ค.ศ.1946 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของรัฐแคลิฟอร์เนีย 
ปีค.ศ. 1950 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา และต้องขับเคี่ยวกับ ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ 
เพื่อหาตัวแทนพรรครีพับลิกัน ไปสมัครลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปีการเลือกตั้ง ค.ศ. 1952
แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ นิกสัน เป็น รองประธานาธิบดี ในสมัย ลินดอน บี จอห์นสัน อยู่ 8 ปี
ต่อมา นิกสัน ลงสมัครท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้งในปี ค.ศ. 1960
ก่อนที่จะพ่ายให้แก่ จอห์น เอฟ. เคนเนดี้ 
นิกสัน พ่ายแพ้ ในการแข่งขันชิงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียให้กับแพต บราวน์ใน ค.ศ. 1962
ใน ค.ศ. 1968 เขาได้ลงสมัครเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้ง และได้รับเลือกตั้ง
โดยสามารถเอาชนะฮิวเบิร์ต ฮัมเฟรย์ และ จอร์จ วอลเลซ ได้หลังจากการนับคะแนนเลือกตั้ง

พาดหัวข่าวจากหนังสือพิมพ์ เดอะ วอชิงตัน โพสต์ ในวันที่ ประธานาธิบดี นิกสัน ตัดสินใจลาออก
ภาพจาก Is this Russia thing as bad as Watergate? – Daytona Beach News-Journal Online – Daytona Beach, FL

เหตุอื้อฉาวทางการเมือง ช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1970 เป็นเหตุการณ์สืบเนื่องมาจาก
เหตุการณ์ลักลอบโจรกรรมข้อมูลในสำนักงานใหญ่ของพรรคเดโมแครต 
ณ อาคารวอเตอร์เกต คอมเพลกซ์ ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1972 
ในขณะทีมของ นิกสัน พยายามปกปิดหลักฐาน การมีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุโจรกรรมดังกล่าว

คดีดังกล่าวนี้ถูกเปิดโปงโดยนักข่าวสองคนบ็อบ วู้ดเวิร์ด (Bob Woodward)
และคาร์ล เบิร์นสไตน์ (Carl Bernstein) สองนักข่าวประจำหนังสือพิมพ์ วอชิงตัน โพสต์
ได้ขุดคุ้ยและเปิดโปงเรื่องราวจากคดีวอเตอร์เกตอยู่นาน สร้างแรงกดดันต่อทำเนียบขาวขึ้นเรื่อยๆ

บ็อบ วู้ดเวิร์ด (Bob Woodward) และนายคาร์ล เบิร์นสไตน์ (Carl Bernstein)
สองนักข่าวประจำหนังสือพิมพ์ วอชิงตัน โพสต์ ผู้เปิดโปงและเกาะติดคดีวอเตอร์เกต

ภาพจาก Washington Post bids farewell to office where it broke Watergate | World news | The Guardian

เรื่องอื้อฉาว เริ่มต้นขึ้นด้วยการจับกุม ชายห้าคน ในคดีลักลอบโจรกรรมข้อมูลในที่ทำการใหญ่
ของพรรคเดโมแครต ณ อาคารวอเตอร์เกต คอมเพลกซ์ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1972
ขณะที่หลักฐานทั้งหมดพุ่งชี้ไปยังคณะทำงานของประธานาธิบดี รวมไปถึง
พนักงานเบิกความฟ้องในคณะทำงานสืบสวนคดีวอเตอร์เกต ซึ่งตั้งโดยวุฒิสภา
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1973 คณะสอบสวนเปิดเผยว่า ภายในห้องทำงานของประธานาธิบดีนิกสัน
ถูกดักฟัง และได้บันทึกการสนทนาต่าง ๆ เอาไว้ ใจความจากเทปบันทึกเสียงเหล่านั้
บ่งชี้ว่า ประธานาธิบดีนิกสัน พยายามที่จะ ปกปิด การมีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องในการโจรกรรมข้อมูลดังกล่าว
ซึ่งเกิดขึ้น ณ ที่ทำการพรรคเดโมแครต หลังจากมีการต่อสู้ฟ้องร้องกันหลายรอบ ในชั้นศาล
ศาลฎีกาสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา มีคำตัดสินให้ประธานาธิบดี ต้องส่งมอบเทปบันทึกเสียงทั้งหมด
แก่พนักงานสืบสวนของรัฐ นิกสัน จึงต้องจำยอมส่งมอบเทปดังกล่าวตามคำตัดสินของศาล
ทำให้คดีนี้ไปอยู่ในอำนาจการสอบสวนของสำนักงานสืบสวนสอบสวนกลางหรือ เอฟบีไอ
สำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (เอฟบีไอ) ได้ทำการเชื่อมโยงเส้นทางการเงิน
ของคนร้ายทั้งห้าคน จนสาวไปถึงกองทุนกลุ่มหนึ่ง และพบว่ากลุ่มทุนดังกล่าวเป็นกลุ่มระดมทุน
สำหรับการลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในสมัยที่สองของนิกสัน
เหตุการณ์นี้ยังนำไปสู่การฟ้องร้อง, การไต่สวน, การลงโทษ และการจำคุกบุคคล
ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้ง 43 คน รวมไปถึงคณะทำงานระดับสูงของรัฐบาลนิกสันอีกหลายสิบคน

เจอรัลด์ ฟอร์ด ปรากฏตัวเพื่อให้ปากคำในการไต่สวนคดีวอเตอร์เกตของ ริชาร์ด นิกสัน
ภาพจาก Gerald Ford hearing 2 – Wikipedia

หลังจากเผชิญแรงกดดันจากสังคม, การไต่สวนในสภาผู้แทนราษฎร 
และมีความเป็นไปได้สูงว่า วุฒิสภา จะมีมติลงโทษ ประธานาธิบดี นิกสัน จึงชิงลาออก
จากการเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1974
ก่อนที่ต่อมา ประธานาธิบดี เจอรัลด์ ฟอร์ด 
ซึ่งขึ้นรับตำแหน่งต่อจาก นิกสัน ได้ทำการนิรโทษกรรมให้แก่นิกสัน

ประธานาธิบดี เจอรัลด์ ฟอร์ด ผู้ขึ้นรับตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจาก ริชาร์ด นิกสัน
ภาพจาก Gerald Ford presidential portrait – Wikipedia

ในช่วงเวลา 20 ปีหลังการเกษียณอายุ นิกสัน ได้เขียนบันทึกความทรงจำ
และหนังสืออีก 9 เล่มและเดินทางไปเยือนต่างประเทศหลายครั้ง
ทำให้ภาพลักษณ์ของเขาทำให้กลายเป็นรัฐบุรุษระดับอาวุโสและผู้เชี่ยวชาญด้านต่างประเทศ
เขาป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอ
เมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1994 และเสียชีวิตในอีก 4 วันต่อมา รวมอายุได้ 81 ปี

ข้อมูลจาก

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: