Connect with us

On this day

30 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันผู้สูญหายสากล (International Day of the Disappeared)

Published

on

เพื่อรำลึกถึงผู้หายสาบสูญ ขาดการติดต่อกับครอบครัวโดยสิ้นเชิง
ทั้งจากการหายไปอย่างไร้ร่องรอยและการถูกบังคับให้สูญหาย

วันที่ 30 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันรำลึกถึงชะตากรรมของบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหาย
ผู้ถูกคุมขังแบบลับๆในสถานที่ไม่เหมาะสม ซึ่งญาติ มิตร และ/หรือตัวแทนทางกฎหมาย
ไม่ได้ร่วมรับทราบชะตากรรมของผู้ถูกคุมขัง

ที่มาของการกำหนดให้วันที่ 30 สิงหาคม เป็นวันวันผู้สูญหายสากล
มาจากการทำงานของสหพันธ์สมาคมญาติผู้ถูกคุมขังในละตินอเมริกา
Federación Latinoamericana de Asociaciones de
Familiares de Detenidos-Desaparecidos หรือ FEDEFAM
ซึ่งเป็นหน่วยงาน เอ็นจีโอ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1981 ในคอสตาริกา
เป็นสมาคมในระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาค ทำหน้าที่ต่อต้านการคุมขังอย่างลับๆ
การบังคับบุคคลให้สูญหาย และการลักพาตัว
ซึ่งกิดขึ้นบ่อยครั้งในหลายประเทศของละตินอเมริกา

ภาพจาก Agrupación_de_Familiares_de_Detenidos_Desaparecidos_de_Chile_(de_Kena_Lorenzini)(wikimedia.org)

องค์กรที่ทำงานเพื่อสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศหลายแห่งเช่น แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (AI)
สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR)
และคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC)
ซึ่งมีภาระกิจหลักในการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
ได้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้หายสาบสูญ จึงได้ยกระดับความสำคัญโดยการกำหนดให้
วันที่ 30 สิงหาคม ของทุกปี ให้เป็นวันรำลึกถึงผู้สูญหายสากล
เป็นโอกาสที่จะสร้างความตระหนักรู้ให้แก่สาธารณชน
ถึงความสูญเสียทั้งของญาติมิตรและครอบครัว

โดยคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ(ICRC) มีสิทธิพิเศษเพิ่มเติม ในฐานะองค์กรที่เป็นกลาง
จากการควบคุมของภาครัฐ ในบางกรณี ICRC เป็นหน่วยงานเดียวที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึง
กลุ่มผู้ต้องขังบางกลุ่ม ซึ่งสามารถติดต่อ ตรวจสอบ รวมถึงให้การเยียวยาในเบื้องต้นได้
สำหรับครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ ข่าวสารจาก ICRC
เป็นเพียงช่องทางเดียวที่บอกเล่า ชะตากรรมของคนเหล่านี้

การเข้าเยี่ยมผู้ถูกควบคุมในฟื้นที่ ที่มีความขัดแย้งหรือสงคราม
เพื่อยืนยันตัวตนและติดต่อสื่อสารกับครอบครัว เป็นหน้าที่สำคัญส่วนนึงของ ICRC
แต่คำจำกัดความของผู้สูญหายหรือการสูญหายนั้น มีความหมายครอบคลุมมากกว่า
การตกเป็นเหยื่อของการบังคับให้หายสาบสูญ แต่มันหมายรวมถึง คนทุกๆคน
ที่ขาดการติดต่อกับครอบครัว อันเป็นผลพวงมาจากความขัดแย้งของสงคราม
ภัยธรรมชาติ หรือโศกนาฏกรรมอื่นๆ
ผู้สูญหายเหล่านี้อาจถูกกักขัง ติดอยู่ในต่างประเทศ ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
หรือเสียชีวิต ด้วยบริการติดตามและทำงานร่วมกับสภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงแห่งชาติ
ใน 189 แห่งทั่วโลก ICRC พยายามทำหน้าที่แทนผู้สาบสูญ ในนามของครอบครัว
เพื่อย้ำเตือนรัฐบาลและกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง ให้ตระหนักถึงการเคารพสิทธิของครอบครัว
ในอันที่จะรับรู้ข่าวสารและชะตากรรมของคน ที่พวกเขารัก

การทำงานร่วมกับครอบครัวผู้สูญหาย นอกจากจะช่วยเยียวยาสภาพจิตใจผู้ประสบชะตากรรม
จากการสูญเสียคนที่รักแล้ว ยังต้องดูแลสภาพความเป็นอยู่ รวมถึงช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ที่ประสบปัญหาทางการเงิน

ภาพจาก 30,000 People Were ‘Disappeared’ in Argentina’s Dirty War. These Women Never Stopped Looking – HISTORY

การถูกจำคุกแบบลับๆ หรือความโดยไม่มีความผิดที่ชัดเจน ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง
ในกรณีของความขัดแย้ง ในภาวะสงคราม จะมีกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ รับรองปฏิญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทั้งปวง จากการถูกบังคับสูญหาย
ตามมติที่ 47/133 ซึงลงนามกันเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ให้การคุ้มครองพลเมืองของโลกทุกคน

พ.ศ. 2535 OHCHR คาดว่า มีผู้ถูกจำคุกอย่างลับๆ อยู่ใน 30 ประเทศทั่วโลก
คณะทำงานเกี่ยวกับบุคคลให้สูญหาย มีบันทึกรายชื่อผู้ที่หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ราวๆ 46,000 คน

การประท้วงที่ ฟิลิปปินส์

เหตุการณ์สำคัญๆ ที่เคยเกิดขึ้นในวันผู้สูญหายสากลได้แก่ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ที่ ฟิลิปปินส์ ญาติพี่น้องของผู้สูญหายหลายร้อยคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเคลื่อนไหว คาดว่าสูญหาย
จากการถูกลักพาตัวหรือการลอบสังหาร โดยกองกำลังฝ่ายความมั่นคงของรัฐบาลฟิลิปปินส์
ได้จัดการประท้วงรัฐบาลครั้งใหญ่ เนื่องในวันผู้สูญหายสากล

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2551 มีการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศขึ้นในนาม
International Coalition Against Enforced Disappearances (ICEAD)
ซึ่งได้รวบรวมองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนจากทั่วโลก เพื่อร่วมมือกันจัดกิจกรรมรณรงค์ระดับโลก
เพื่อส่งเสริมการให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศ
ว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคน จากการถูกบังคับให้เป็นผู้หายสายสูญ

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: