ในปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เขมรยังเป็นเมืองขึ้นของราชอาณาจักรสยาม ต่อมาเขมรแอบไปเจรจาขออยู่ในอารักขาฝรั่งเศส ฝรั่งเศสได้ทีจึงอาศัยความทันสมัยของกองเรือฝรั่งเศส
บีบบังคับให้สยาม ยินยอม ยกดินแดนเขมรส่วนนอก รวมทั้ง เกาะอีก 6 เกาะ ให้แก่ฝรั่งเศส
ราชอาณาจักรสยาม กับ ญวน(เวียดนาม) ทำสงครามที่เรียกว่า “อานามสยามยุทธ” ยาวนานกว่า 14 ปี เพื่อ
ดินแดนในส่วนลาวและเขมร ซึ่งแต่เดิมเป็นเมืองขึ้นของ สยาม แต่ อาณาจักรญวน ในขณะนั้นก็ต้องการได้ดินแดนลาวและเขมร มาอยู่ในความครอบครอง หลังจากสู้รบกันมาอย่างยาวนาน ทั้งสองอาณาจักรเล็งเห็นว่ามีแต่ความสูญเสีย จึงเจรจาสงบศึก ดินแดนในส่วนของลาวและเขมรยังเป็นของสยาม แต่ ลาวกับเขมรต้องส่งเครื่องบรรณาการให้แก่ญวนด้วย แต่สยามยังมีสิทธิ์ในการสถาปนากษัตริย์เขมรดั่งเดิม
ต่อมารัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
สถาปนากษัตริย์แห่งเขมร โดยให้ นักองด้วง ขึ้นครองราชย์ เป็น สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี หรือ
สมเด็จพระหริรักษ์รามสุริยะมหาอิศวรอดิภาพ
ในปี 2397 เขมร ได้แอบส่งสารลับไปยังฝรั่งเศส โดยขอให้ ฝรั่งเศส ช่วยกู้ดินแดนที่เสียให้ ญวณ ได้กลับมาอยู่กับเขมร อีกครั้ง และมาช่วยคุ้มครอง เขมร ให้พ้นจากทั้งอำนาจของ สยามและญวน แต่การติดต่อระหว่างฝรั่งเศสและเขมรครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อคณะทูตของมงติญี กงสุลฝรั่งเศสประจำเซี่ยงไฮ้เข้ามาทำสนธิสัญญากับไทยแบบเดียวกับสนธิสัญญาเบาว์ริงของอังกฤษเมื่อ พ.ศ.2399
เมื่อเดินทางออกจากไทย มงติญีได้เดินทางต่อไปยังเขมร แต่ นักองค์ด้วง กษัตริย์เขมรในขณะนั้นตอบว่าเขมรเป็นเมืองน้อยไม่อาจทำสัญญาได้ตามลำพัง ต้องปรึกษาสยามก่อน คณะทูตของมงติญีจึงเดินทางต่อไปยังราชสำนักเว้ ของญวน
อย่างไรก็ตาม หลังจากคณะทูตของมงตีญีกลับไปไม่นาน นักองค์ด้วงได้ส่งหนังสือไปยังกงสุลฝรั่งเศสของสิงคโปร์เมื่อ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2399 เพื่อนำไปถวายพระเจ้านโปเลียนที่ 3 ของฝรั่งเศส เพื่อขอให้ฝรั่งเศสช่วยคุ้มครองเขมรให้พ้นจากอำนาจของสยามและญวน
แต่ไม่กี่ปีถัดมาสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดีก็เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ
ให้ นักองราชาวดี หรือสมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ ขึ้นเป็นกษัตริย์เขมร องค์ต่อไป
หลังจากที่โดนน้องชายอย่างพระสีวัตถาและลุงคือ สนองสู จ้องทำการแย่งบัลลังก์ แต่ด้วยความช่วยเหลือจากทางสยามจึงได้ครองราชย์สำเร็จ ในช่วงก่อนปี 2406 นั้น ฝรั่งเศสได้เข้ามามีอำนาจในดินแดนแถบ อินโดจีน หรือ ญวนมากขึ้น และได้เข้ามาบีบบังคับโดยใช้กำลังทั้งทางกองเรือและทางการทูตให้สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ยอมให้อำนาจแก่ฝรั่งเศส ในการเข้ามาปกครองและให้เขมรเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศสและพระองค์ยังคงเป็นกษัตริย์อยู่ และได้ทำสัญญากันในปี 2406 ฝรั่งเศสเข้ามาเอาผลประโยชน์โดยเอาเปรียบทางการค้าแก่สยาม และต้องการดินแดนเพื่อเข้าไปใกล้กับแม่น้ำโขงเพราะต้องการจะล่องเรือเข้าไปยังจีนผ่านทางนั้น
เมื่อรู้ว่าสยามได้ทำสัญญาลับกับ เขมร ว่าดินแดนเขมรส่วนนอกยังเป็นของ สยาม ไม่ใช่ของฝรั่งเศส
ทางฝรั่งเศสจึงยื่นคำขาดกับ สยาม ให้ยกเลิกสัญญาฉบับนั้นและยอมสละดินแดนเขมรส่วนนอกให้ฝรั่งเศสเสีย ฝรั่งเศสจึงได้ส่งกองเรือเข้ามาประชิดเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อข่มขู่สยามหลายครั้ง
หลังจากที่ฝรั่งเศสดำเนินนโยบายแข็งกร้าวในการยึดครองดินแดนของญวน พลเรือเอก เดอ ลากรองดิแยร์ ข้าหลวงอินโดจีนฝรั่งเศส ได้เข้ามาติดต่อ เขมร อีกครั้ง เพื่อให้เขมร เป็นดินแดนในอารักขาของฝรั่งเศส
นักองค์ราชาวดี ได้ตกลงใจทำสนธิสัญญาดังกล่าว หลังจากการลงนามในสนธิสัญญาเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ.2406 นักองค์ราชาวดี ได้ทำหนังสือกราบทูลรัชกาลที่ 4 ว่าถูก ฝรั่งเศส บังคับให้ทำสัญญา
สยามได้พยายามรักษาสิทธิของตนเหนือเขมร โดยทำสนธิสัญญาลับ สยาม-เขมร เมื่อ 1 ธันวาคม พ.ศ.2406
เพื่อยืนยันสิทธิของ สยามเหนือเขมร พระนโรดม ยินยอมลงนามในสนธิสัญญานี้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อฝรั่งเศส ทราบถึงการทำสนธิสัญญาลับ สยาม-เขมร ก็ได้เข้ามาคัดค้านและเจรจาเพื่อขอยกเลิกสนธิสัญญา ฝ่ายสยามเห็นว่าไม่มีทางจะต่อสู้กับกองเรือฝรั่งเศสได้
เมื่อวันที่ 15 กรกฏาคม พ.ศ.2410 (ค.ศ.1867) สยามจำต้องยอมลงนามในสนธิสัญญากับฝรั่งเศส
รับรองให้ เขมรส่วนนอก ด้านติดกับ โคชินไชนา รวมเกาะอีก 6 เกาะ เป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส
หลังจากฝรั่งเศส บังคับกษัตริย์ นโรดมพรหมบริรักษ์ แห่งเขมร ให้ยอมยกดินแดนดังกล่าวไปอยู่ใต้การปกครอง
ของฝรั่งเศสมาก่อนหน้านั้นเรียบร้อยแล้ว.
You must be logged in to post a comment Login