Connect with us

Published

on

            เมื่อคืนวันจันทร์ที่ผ่านมา (6 ก.ค. 63) ในรายการข่าวของทางช่อง Fox News ได้มีการสัมภาษณ์ นายไมก์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ เกี่ยวกับความคิดเห็นในเรื่องของการแนะนำให้ประชาชนโหลดแอปติ๊กต็อก(TikTok)มาเล่น ซึ่งทางนายไมก์ได้กล่าวในรายการว่า “หากประชาชนต้องการให้ข้อมูลของตนเองตกอยู่ในมือของพรรคคอมมิวนิสต์จีนก็ตามใจ”

            จากการตอบดังกล่าวทำให้ถูกถามต่อว่าจะถือว่าเป็นการแบนแอปพลิเคชันดังกล่าวเลยหรือไม่ ทางนายไมก์ได้กล่าวต่อไปว่าเรื่องการห้ามใช้แอปพลิเคชันดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณา และไม่อยากพูดอะไรก่อนท่านประธานาธิบดี 

            อย่างที่ทราบกันดีว่าแอปพลิเคชันติ๊กต็อกถูกผลิตและพัฒนาโดยบริษัทโซเชียลมีเดียของจีน ซึ่งมีการเติบโตมาตลอด 3 ปีที่ผ่านมา มีผู้ดาวโหลดกว่า 2 พันครั้ง ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะก้าวไปเป็นบริษัทเทคโนโลยีระหว่างประเทศ

            ในขณะเดียวกันทางการประเทศอินเดียได้มีการออกมาตรการสั่งห้ามประชาชนชาวอินเดียวใช้แอปพลิเคชันติ๊กต็อก รวมไปถึงแอปพลิเคชันอื่นๆอีก 58 แอปฯ ที่มาจากจีน ซึ่งเหตุผลส่วนหนึ่งเกี่ยวกับความมั่นคงของทางการ เพราะก่อนหน้านี้มีการปะทะกันบริเวณพรมแดนทางตอนเหนือของอินเดียกับจีนเมื่อสองสัปดาห์ก่อนการประกาศใช้แอปพลิเคชันดังกล่าว ทำให้ทหารอินเดียเสียชีวิต 20 นาย

            จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นของอินเดีย ด้านนายไมก์ได้แสดงความคิดเห็นยินดีกับการเคลื่อนไหวของอินเดียในครั้งนี้ ในขณะเดียวกัน นิกกี เฮลีย์ อดีตทูตประจำสหประชาชาติของสหรัฐก็ทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวว่า “เป็นเรื่องดีที่เห็นอินเดียห้ามใช้แอปฯ ยอดนิยม 59 แอปฯ ของบริษัทจีน”

            นอกจากนี้เจมส์ ซัลลิแวน หัวหน้าฝ่ายวิจัยไซเบอร์ของรูซี สถาบันด้านตวามมั่นคงของอังกฤษ กล่าวว่าเรื่องนี้อาจเกี่ยวข้องกับหัวเย แบรนด์เทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีน โดยกล่าวว่าหัวเว่ยนับเป็นกรณีศึกษา และนับเป็นจุดเริ่มต้นของแนวโน้มทางฝั่งตะวันตก ที่ใช้วิธีคว่ำบาตรเพื่อบีบหรือทำลายบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีน

            จากสถานณ์ดังกล่าว “ติ๊กต็อก” ได้ออกมาอธิบายถึงความพยายามรักษาระยะห่างกับทางการจีน โดยเมื่อไม่นานมานี้ทางทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก และวอตส์แอป ระบุว่าจะไม่ส่งมอบข้อมูลให้ทางรัฐบาลฮ่องกง ทำให้เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (6 ก.ค. 2563) ติ๊กต็อกได้ประกาศออกจากฮ่องกงหลังมีการประกาศใช้กฎหมายตามความมั่นคง ติ๊กต็อกได้ใช้กลยุทธ์ในลักษณะดังกล่าวมาสักพักแล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้ยังได้ว่าจ้าง เควิน เมเยอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารชาวอเมริกัน และยังเปิดสำนักงานขนาดใหญ่หลายแห่งทั้งในกรุงลอนดอน และนครลอสแอนเจลิส อีกทั้งยังระบุว่าจะไม่ให้ข้อมูลใดๆ แก่ทางการจีน

            หลังจากที่แอปติ๊กต็อกถูกแบนในอินเดีย พบว่าบริษัทหลายแห่งในอินเดียที่ทำแอปพลิเคชันที่มีแพลตฟอร์มคล้ายติ๊กต็อกมีการดาวน์โหลดพุ่งสูงขึ้น ในด้านของเฟซบุ๊กก็มีการพลักดันฟีเจอร์อินสตาแกรมรีลส์ (Instagram Reels) ที่ใช้ผู้ใช้งานโพสต์วิดีโอความยาว 15 วินาทีได้ทั้งในอินเดีย และที่อื่นๆ ทั่วโลก

            นี่คือการสันนิฐานข้อสรุปอย่างสั้นในประเด็นการห้ามใช้ติ๊กต็อก การตัดสินใจจากเหตุผลด้านความมั่นคงถูกออกแบบมาเพื่อลงโทษจีนด้วยเช่นกัน ค่อนข้างชัดเจนว่าสหรัฐฯ กำลังหาทางทำให้จีนเจ็บโดยมุ่งเน้นไปที่ภาคเทคโนโลยีของจีน

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: