Connect with us

Highlight

กรุงเทพ กำลังจะกลายเป็นเมืองไร้ปอด เพราะพื้นที่สีเขียวค่อยๆหายไป

Published

on

กรุงเทพ กำลังจะกลายเป็นเมืองไร้ปอด เพราะพื้นที่สีเขียวค่อยๆหายไป  

ข่าวการตัดต้นไม้ของเขตปทุมวันแพร่สะพัดทางโซเชียล มีการแชร์ภาพต้นไม้หัวกุด ที่เคยเป็นต้นไม้ใหญ่ริมทางให้ความร่มรื่นริมถนนที่หายากมากๆในกทม.โดยมีกลุ่ม Big Trees และพรรคกล้า ได้เข้าร้องเรียนและเรียกร้องให้มีการตัดต้นไม้อย่างถูกวิธี เพื่อเป็นการรักษาชีวิตของต้นไม้ ที่กว่าจะใช้เวลาเติมโตแตกกิ้งก้านใบให้ร่มเย็นก็หลายสิบปี ไม่ควรมาถูกตัดให้ตายเพียงไม่กี่นาทีเพราะไม่รู้จักวิธี

“พื้นที่สีเขียว” มีความสำคัญไม่ได้ต่างจากนโยบายอื่นๆ อาจจะเป็นเพราะไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงกับบ้านเมือง ทำให้ถูกมองข้ามไป แต่จริงๆแล้วปัญหาพื้นฐานหลายอย่างเกิดมาจากการที่ต้นไม้ในกรุงเทพฯมีน้อยเหลือเกิน

ผังเมืองมีผลต่อพื้นที่สีเขียวโดยตรง เพราะพื้นที่ในการปลูกต้นไม้นั้นมีเพียงน้อยนิด เห็นได้จากการขายถนนเพื่อให้เพียงพอต่อความหนาแน่นขอองการจราจรที่เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ฟุตบาทที่เอาไว้เดินใต้ร่มไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงา ถูกแบ่งพื้นที่ใช้สอยอย่างอื่น กลายเป็นพื้นที่ของร้านค้า รถมอเตอร์ไซน์ หลายพื้นที่ถูกไม้ถูกตัดออกไป เพื่อไม่ให้ขัดความความเจริญของเมืองที่กำลังเติบโต

หลายคนเพิ่มมารู้จัก PM2.5 เพราะกรุงเทพฯกำลังวิกฤติ เพราะมลพิษที่เพิ่มมากขึ้น พื้นที่สีเขียวเปรียบเหมือนปอด กรุงเทพฯจึงมีปอดที่เล็กเหลือเกิน เล็กเกินจะดูดซับฝุ่นขนาดเล็กเข้าไปช่วยคนกรุงเทพฯให้รอดพ้นจากโรคต่างๆที่เกิดจากการสะสมของฝุ่นควันพิษเหล่านี้เข้าไปในร่างกาย

กรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองที่มีพื้นที่สีเขียวน้องที่สุดในอาเซียน เมื่อเทียบกันแล้วกับเมืองใหญ่ๆ ที่เจริญแล้ว จำนวนประชากรต่อพื้นที่สีเขียว ต่างกันหลายสิบเท่า 

องค์การอนามัยโลก (WHO) ที่กำหนดว่าเมืองที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดีควรมีพื้นที่สีเขียวอยู่ที่ 9 ตารางเมตร/คน

ข้อมูลจากสำนักงานสวนสาธารณะ กรุงเทพมาหนคร (กทม.) ระบุว่า กรุงเทพมีพื้นที่สีเขียวเพียง 6.43 ตร.ม./คนเท่านั้น  (ข้อมูล ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2560) ตัวเลขดูเหมือนจะใกล้เคียงกับมาตรฐานที่ WHO กำหนดไว้ แต่ดูห่างไกลเหลือเกินกับเมืองอื่นๆ 

จากการสำรวจของ MIT’s Senseable City Lab และ the World Economic Forum พบว่า ประเทศที่มีความหนาแน่นของพื้นที่สีเขียวมากที่สุดคือสิงคโปร์ อยู่ที่ 29.3% ซึ่งสิงคโปร์ตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2030 ประชากร 85% จะต้องอาศัยอยู่ใกล้กับสวนในระยะไม่เกิน 400 เมตร

สอดคล้องกับผลสำรวจของ Economist Intelligence Unit พบว่า อัตราส่วนพื้นที่สีเขียวต่อประชากรอยู่เฉลี่ยในเอเชียอยู่ที่ 39 ตารางเมตร/คน โดยสิงคโปร์มีอัตราส่วนพื้นที่สีเขียวต่อประชากรสูงถึง 66 ตารางเมตร/คน ซึ่งสูงกว่ากรุงเทพฯ เกือบ 22 เท่า ทั้งที่ขนาดเนื้อที่ทั้งประเทศเล็กกว่ากรุงเทพฯ ถึง 2.5 เท่า ขณะที่กัวลาลัมเปอร์อยู่ที่ 50 ตารางเมตร/คน

มาดูอับดับ 12 โลกของเมืองต่างๆที่มีพื้นที่สีเขียวมากที่สุด โดย MIT’s Senseable Lab และ World Economic Forum (WEF) ร่วมมือกันสร้าง Treepedia แผนที่แสดงความหนาแน่นของพื้นที่สีเขียวในเมืองใหญ่ต่างๆทั่วโลก จากผลการประเมินเมืองที่มีต้นไม้มากที่สุดในโลก

MIT’s Senseable Lab และ World Economic Forum (WEF) ร่วมมือกันสร้าง Treepedia แผนที่แสดงความหนาแน่นของพื้นที่สีเขียวในเมืองใหญ่ต่างๆทั่วโลก จากผลการประเมินเมืองที่มีต้นไม้มากที่สุดในโลก

         อันดับที่ 1 สิงคโปร์ มีพื้นที่สีเขียวมากถึง 29.3% ของพื้นที่เมืองทั้งหมด

         อันดับที่ 2 เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา มีพื้นที่สีเขียว 25.9%

         อันดับที่ 3 เมืองแซคราแมนโต รัฐแคลิฟอร์เนีย 23.6%

         อันดับที่ 4 เมืองแฟรงก์เฟิร์ต เยอรมนี 21.5%

         อันดับที่ 5 กรุงเจนีวา สวิสเซอร์แลนด์ 21.4%

         อันดับที่ 6 เมืองอัมสเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ 20.6%

         อันดับที่ 7 เมืองซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน 20%

         อันดับที่ 8 เมืองโทรอนโท แคนาดา 19.5%

         อันดับที่ 9 ไมอามี่ รัฐฟลอริดา 19.4%

         อันดับที่ 10 เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ 18.2%

         อันดับที่ 11เมืองเทลอาวีฟ อิสราเอล 17.5%

         อันดับที่ 12 นครลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย 15.2%

ทางออก ทางแก้ สำหรับการเพิ่มพื้นที่สีเขียว เป็นอีกหนึ่งโจทย์ไม่ได้ได้ทำแล้วได้ผลเลยในวันรุ่งขึ้น เพราะกว่าต้นไม้แต่ละต้นจะแตกกิ่งก้านออกมาให้ร่มเงาสร้างประโยชน์ให้สิ่งแวดล้อมนั่นต้องใช้เวลา ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่กรุงเทพจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่สีเขียวอย่างจริงไปไม่แพ้ด้านอื่นๆ

ติดตามเส้นทางการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพได้ในสกู๊ปต่อไป

ข้อมูล 

http://senseable.mit.edu/treepedia

องค์การอนามัยโลก (WHO)

MIT’s Senseable Lab

World Economic Forum (WEF)

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: