Connect with us

Published

on

เมื่ออดีตหัวหน้าพรรคการเมืองรายนึง ได้ไลฟ์สดออกอากาศทางสื่อโซเซี่ยลมีเดีย เพื่อวิพากษ์เรื่องของวัคซีนป้องกันโควิด ทำให้คำว่า “วัคซีนพระราชทาน”กลายเป็นที่รู้จักกันชั่วข้ามคืน แม้ในความตั้งใจผู้ที่เอ่ยถึงชื่อนี้ ต้องการสื่อความหมายอีกแบบนึงก็ตามที 

 นอกจากนั้นแล้วยังมีอีกชื่อนึงที่ได้รับการพูดถึงนั่นก็คือ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ในฐานะที่เป็นบริษัทซึ่งได้รับการคัดเลือกจาก ผู้ผลิตวัคซีน Oxford-AstraZenecaจากอังกฤษ ให้เป็นผู้ผลิตวัคซีนสำหรับป้องกันโควิด นอกสหราชอาณาจักรเป็นแห่งแรก

วันนี้สำนักข่าวโตโจ้นิวส์ จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ให้ลึกซึ้งมากกว่าเดิม 

บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ก่อตั้งในปี พ.ศ.2552 โดยเกิดจากพระราชปณิธานของ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้วยเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะให้ประชาชนชาวไทยสามารถได้มีโอกาสใช้ยาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงในราคาที่ถูกลง สร้างความมั่นคงทางยา เพื่อดูแลรักษาสุขภาพของคนไทย “ฟื้นฟูปัญหาสุขภาพของประชาชน”เพื่อการพัฒนาประโยชน์สุข ให้เกิดกับส่วนรวมและประเทศชาติ ดังที่ได้พระราชทานพระราชดำรัส ในเรื่องสุขภาพของประชาชน ไว้ว่า“คน คือปัจจัยสำคัญที่จะพัฒนาประเทศ 

สร้างความพอมี พอกิน”เครือสยามไบโอไซเอนซ์ จึงก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2552 ซึ่งประกอบไปด้วย 2 บริษัทหลักคือ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด และบริษัท เอเพ็กซ์เซล่า จำกัด  

บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ดำเนินการวิจัย พัฒนา และผลิตยา เครื่องมือแพทย์ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพต่างๆ โดยมีการวิจัย พัฒนาและผลิตครบวงจร ตั้งแต่ตัวยาสำคัญและสารออกฤทธิ์ จนถึง ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปและนับเป็นบริษัทผู้ผลิต ยาชีววัตถุ หรือ ยาไบโอฟาร์มา แห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทยจนกระทั่งปัจจุบัน

ขณะที่ปีถัดมาได้เปิดบริษัทสำหรับทำการตลาดทั้งในและต่างประเทศ ชื่อว่า บริษัท เอเพ็กต์เซล่า จำกัด ต่อมาอีกราว 7 ปี ก็แตกบริษัทย่อยอีก 2 บริษัท คือ บริษัท เอบินิส จำกัด เป็นการร่วมมือกับ CIMAB รัฐวิสาหกิจยาของสหรัฐ เพื่อวิจัย พัฒนาและส่งออกยาชีววัตถุ โดยเฉพาะโรคข้ออักเสบ

รูมาตอยด์ สะเก็ตเงิน เป็นต้น อีกบริษัท คือ บริษัท อินโนไบโอคอสเมด จำกัด จะมุ่งเน้นการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ชีวเวชสำอาง

  “ยาชีววัตถุ” เป็นผลิตภัณฑ์ยาที่ได้จากสิ่งมีชีวิต ปัจจุบันยังผลิตจากการใช้เทคโนโลยีการตัดต่อทางพันธุกรรม เพื่อสร้างดีเอ็นเอสายผสม (recombinant DNA หรือ rDNA) ตัวอย่างยา เช่น การผลิตยาเพิ่มเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว เป็นต้น 

โดยเริ่มการผลิตและการขายในปี พ.ศ.2559 และผลงานล่าสุดก็คือ วิจัยและพัฒนาชุดตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ซึ่งเป็นวิธีการตรวจที่เป็นมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก

 และในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 บริษัท ยังได้ร่วมมือกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในการพัฒนาและผลิตชุดตรวจเชื้อไวรัสโควิด-19 แบบ RT-PCR 

เป็นการตรวจเชื้ออย่างรวดเร็วเพื่อลดการแพร่เชื้อ ซึ่งเป็นแห่งแรกของประเทศไทยที่ผลิตได้ตามมาตรการฐานขององค์การอนามัยโลก โดยมีการส่งมอบไปยังห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ทั่วประเทศ

 สำหรับผู้ถือหุ้นใหญ่ ก็คือ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือหุ้น 100% ด้วยทุนจดทะเบียน 5,000 ล้านบาท โดยมีผลประกอบการของทั้งสองบริษัทดังนี้

บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด (มีข้อมูลล่าสุดปี 2561)

ปี 2559 รายได้ 24 ล้านบาท ขาดทุน 79 ล้านบาท

ปี 2560 รายได้ 83 ล้านบาท ขาดทุน 114 ล้านบาท

ปี 2561 รายได้ 117 ล้านบาท ขาดทุน 76 ล้านบาท

บริษัท เอเพ็กซ์เซล่า จำกัด

ปี 2559 รายได้ 59 ล้านบาท ขาดทุน 32 ล้านบาท

ปี 2560 รายได้ 158 ล้านบาท ขาดทุน 8.5 ล้านบาท

ปี 2561 รายได้ 234 ล้านบาท กำไร 4.2 ล้านบาท

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: