Connect with us

Social

รถพระราชทาน จากพระมหากรุณาธิคุณ

Published

on

เป็นที่รับรู้กันดี สำหรับคนไทยส่วนใหญ่ว่า เมื่อใดบ้านเมืองเกิดภาวะวิกฤติ ไม่ว่าจะเป็นจากภัยพิบัตินานาชนิด อุทกภัย วาตะภัย หรือแม้แต่เหตุการณ์ระบาดของโคโรน่าไวรัส โควิด-19 ตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว ความช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆจากสถาบันกษัตริย์ของไทยจะถูกส่งไปช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยในรูปแบบต่างๆไม่ว่าจะเป็น หยูกยา อาหาร น้ำดื่ม เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม แม้กระทั่งความช่วยเหลือในรูปแบบจิตอาสาเพื่อซ่อม สร้าง อาคารบ้านเรือน ถนนหนทาง สะพานที่ชำรุดได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติ 

      ต้นปี 2563 หลังจากเกิดการระบาดของไวรัสโคโรน่าเป็นวงกว้างในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ได้มีพระราชดำรัสความตอนหนึ่งที่พระราชทานเพื่อเป็นแนวทางในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เมื่อวันที่ 6 ก.ค. ความว่า 

“… อย่างที่บอกว่าประชาชนมีความสุข ประเทศมีความมั่นคง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ปัญหาต้องมี อุปสรรคต้องมีเสมอ แต่ถ้าเรามีความมั่นคงมีความอยากให้ประชาชนมีความสุข มีทัศนคติที่ดี ประชาชนก็มีความสุข พวกเราก็มีความสุข เพราะเราก็คือประชาชน..”

พระราชดำรัสดังกล่าว แปรรูปออกมาเป็น รถพระราชทาน ตรวจโรคติดเชื้อชีวนิรภัย เพื่อให้กระทรวงสาธารณสุขนำไปใช้ประโยชน์ใช้เป็นห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ในการเก็บ ตัวอย่างโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว เช่น โรงเรียน วัด ชุมชนแออัด และกลุ่มอาชีพเสี่ยงทั่วประเทศ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในระบบการเฝ้าระวังและค้นหาผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 เชิงรุก ส่งผลให้เมืองไทยสามารถควบคุมสถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรน่า 

ได้อย่างเบ็ดเสร็จ เป็นความสำเร็จที่ทั่วโลกยอมรับและชื่นชม  

จนกระทั่งปลายปี 2563 เมื่อมีการค้นพบผู้ติดเชื้อไวรัสรอบใหม่จากเชื้อกลายพันธุ์ ทำให้การระบาดในรอบนี้เป็นไปอย่างรวดเร็วและแพร่วงกว้างกว่าเดิม  

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดสร้างรถชีวนิรภัยเพิ่มเติมอีก จำนวน 7 คัน รวมเป็น 20 คัน ซึ่งจะช่วยตรวจหาเชื้อเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยงได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ 

โดยรถตรวจเชื้อนิรภัยพระราชทานทุกคัน จะประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำรถ วัสดุอุปกรณ์สำหรับการเก็บตัวอย่างครบครัน ได้แก่ หลอดเก็บตัวอย่าง VTM, ไม้ swab และ Throat swab, ชุดตรวจ Rapid Ab test, วัสดุกับ ppe ปรอท, กาวน์กันน้ำ, surgical mask, หมวกคลุมผม, face shield, แอลกอฮอล์ และถุงแดง 

และล่าสุดนี้ จากการเปิดเผยของนพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรคว่า ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ที่ทรงติดตามสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างใกล้ชิด และทรงคำนึงถึงความยากลำบากของราษฎร ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร และในพื้นที่แออัดให้สามารถเข้ารับการบริการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยสายวิสัยทัศน์อันกว้างไกล ทรงให้ความสำคัญการวิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ว่าเป็นขั้นตอนจำเป็น ที่ต้องดำเนินการให้รวดเร็วยิ่งขึ้น 

    จึงทรงมีพระราชดำริให้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และทีมผู้เชี่ยวชาญสร้างห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ เพื่อออกไปตรวจวิเคราะห์ผลได้นอก รพ. 

หรือหน่วยงาน จะช่วยลดปัญหาการขนส่งตัวอย่าง และระยะเวลาในการรอผลการวิเคราะห์ และได้พระราชทาน “รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ” ต้นแบบ ใช้งานคู่กับ รถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยฯ ค้นหาเชิงรุกแบบเบ็ดเสร็จในพื้นที่ ทราบผลที่รวดเร็ว เพื่อให้ปวงชนรอดพ้นจากโรคโควิด -19 ซึ่งได้นำมาใช้เป็นครั้งแรกในสถานการณ์จริง ในการปฏิบัติการค้นหาเชิงรุกทันที  

สำหรับรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ เป็นห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอย 16.8 ตารางเมตร (7 เมตร x 2.4 เมตร) ภายในประกอบด้วย 3 ห้องหลัก ได้แก่ ห้องสกัดสารพันธุกรรม ห้องเตรียมน้ำยาวิเคราะห์ และ

ห้องวิเคราะห์ผลด้วยเทคนิคการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมดีเอ็นเอ ด้วยปฏิกิริยาโพลีเมอเรส (Real Time Polymerase Chain Reaction (PCR)

ทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถตรวจวิเคราะห์ผลได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ สะดวกและปลอดภัย มีห้องบัฟเฟอร์เพื่อควบคุมและป้องกันการรั่วไหลของเชื้อโรค พร้อมเครื่องมือที่ติดตั้งภายในรถ ได้แก่ ตู้ปลอดเชื้อ, ตู้ปฏิบัติงานพีซีอาร์ (PCR cabinet), เครื่องสกัดสารพันธุกรรมอัตโนมัติ เครื่องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมดีเอ็นเอด้วยปฏิกิริยาโพลีเมอเรส (real-time PCR), ตู้แช่แข็ง -20 องซาเซลเซียส, ตู้ทำความเย็น 4 องศาเซลเซียส, ช่องส่งตัวอย่าง,เครื่องเขย่าผสมสาร, เครื่องปั่นเหวี่ยงตกตะกอน, ไมโครปิเปต (Micropipette), ระบบยูวีฆ่าเชื้อ, ระบบสื่อสารสองทาง, ระบบกล้องวงจรปิด และเครื่องล้างมือแอลกอฮอล์อัตโนมัติ 

“ รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษนี้ เป็นประโยชน์สามารถนำไปใช้งานคู่กับรถพระราชทานเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยเพื่อให้การออกตรวจเชื้อ COVID-19 มีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน ทำให้สามารถเข้าช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที ซึ่งการจัดสร้างรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษคันนี้ ได้รับการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เรียบร้อยแล้ว” นพ.โอภาส กล่าว 

รถพระราชทานนี้ จะช่วยเสริมการปฏิบัติงานของบุคลการด้านสาธารณสุข สามารถเก็บตัวอย่าง และวิเคราะห์ผลการตรวจในพื้นที่ที่รวดเร็ว แม่นยำ และมีความปลอดภัยต่อบุคลากรทางการแพทย์สูงสุด และที่โดดเด่นคือ สามารถนำไปใช้วิเคราะห์เชื้ออื่นๆ ที่วิเคราะห์ด้วยเทคนิคการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมดีเอ็นเอ ด้วยปฏิกิริยาโพลีเมอเรส (Real Time Polymerase Chain Reaction (PCR)) โดยใช้เวลาวิเคราะห์เพียง 3 ชม. และวิเคราะห์ได้ 70 ตัวอย่างต่อ 1 รอบต่อเครื่อง 

“นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น หาที่สุดมิได้ โดยตั้งแต่ที่ได้พระราชทานรถ “ตรวจโรคติดเชื้อชีวนิรภัย” จนถึงปัจจุบัน รถพระราชทาน “เก็บตัวอย่างชีวนิรภัย” ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข ได้ขับเคลื่อนส่งต่อน้ำพระราชหฤทัย เพื่อเป็นกำลังใจให้แก่คนไทยทั่วประเทศ ด้วยปฏิบัติการตรวจบุคคลทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงแบบเชิงรุก รวมกว่า 80,000 รายแล้ว เข้าถึงชุมชน ควบคุมการแพร่ระบาดได้รวดเร็ว เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในระบบการเฝ้าระวังและค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกอีกด้วย”  

นพ.โอภาส กล่าว 

ขอบคุณข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: