Connect with us

Politics

ดูเลย! เปิดชื่อ ส.ส.-ส.ว.ลงชื่อส่งร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้ง

Published

on

เปิดชื่อ ส.ส.-ส.ว. 105 คน ลงชื่อส่งร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. ให้ศาลรธน.ตีความ

ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังธรรมใหม่ พร้อมด้วยนายปรีดา บุญเพลิง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคครูไทยเพื่อประชาชน และนายคฑาเทพ เตชะเดชเรืองกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อชาติไทย เข้ายื่นหนังสือต่อนายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ ฐานะประธานรัฐสภาเพื่อขอให้ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ว่า ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. (ฉบับที่…) พ.ศ… มีประเด็นขัดหรือแย้ง กับรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 หรือตราไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือไม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับสมาชิกรัฐสภาที่ร่วมลงนามในคำร้องมีทั้งสิ้น 105 คน ประกอบด้วย ส.ส. 79 คนและส.ว. 26 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นส.ส.พรรคภูมิใจไทย 42 คน พรรคชาติไทยพัฒนา 7 คน อาทิ นายธีระ วงศ์สมุทร นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ อนุรักษ์ จุรีมาศ เป็นต้น พรรคพลังท้องถิ่นไท 5 คน อาทิ นายชัชวาลล์ คงอุดม นายโกวิทย์ พวงงาม นางสาวกวินนาถ ตาคีย์ พรรคก้าวไกล 5 คน อาทิ

นายคารม พลพรกลาง นายขวัญเลิศ พานิชมาท พรรครวมพลัง 4 คน อาทิ จุฑาฑัตต เหล่าธรรมทัศน์ สุเนตตา แซ่โก๊ะ พรรคพลังประชารัฐ 3 คน คือนายนิโรธ สุนทรเลขา นายพรชัย ตระกูลวรานนท์ และนายวีระกร คำประกอบ พรรคประชาธิปัตย์ 2 คน คือนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กับนายพนิต วิกิตเศรษฐ์ และ พรรคเล็ก 11 คน ประกอบด้วย พรรคเพื่อชาติ 2 คน พรรคเสรีรวมไทย พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคครูไทยเพื่อประชาชน พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรคพลเมืองไทย พรรคพลังชาติไทย และพรรคประชาชาติ พรรคเพื่อชาติไทย พรรคละ 1 คน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในหนังสือคำร้องระบุประเด็นที่ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไม่ได้เป็นประเด็นเกี่ยวกับสูตรคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่ใช้จำนวน 100 คนหาค่าเฉลี่ย ส.ส.พึงมี แต่เป็นรายละเอียดที่เกี่ยวเนื่องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขให้ได้มาซึ่งส.ส.บัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคพึงมีหลังจากเลือกตั้ง ให้ตีความมาตรา 25 ซึ่งแก้ไขมาตรา 130 ซึ่งกำหนดห้ามนำผลคะแนนเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่เลือกตั้งไม่แล้วเสร็จนำมาคำนวณหา ส.ส.ที่แต่ละพรรคพึงมี และจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองพึงได้รับ ทั้งนี้ประเด็นดังกล่าวขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 93 ว่าด้วยการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคพึงมี ที่กำหนดเงื่อนไขในทางปฏิบัติ ให้ กกต. สามารถปฏิบัติงานได้แม้ประกาศผลเลือกตั้งได้ทุกเขต

ให้ตีความมาตรา 26 ซึ่งแก้ไขมาตรา 131 ว่าด้วยข้อกำหนดภายใน 1 ปีหากมีการเลือกตั้งทั่วไป เพราะการทุจริตหรือเลือกตั้งไม่เที่ยงธรรม การห้ามนำคะแนนที่ได้จากเลือกตั้งซึ่งไม่สุจริตเที่ยงธรรมมารวมคำนวณ ซึ่งเขียนไม่สอดคล้องกับ รัฐธรรมนูญ มาตรา 94 ที่กำหนดให้ความเชื่อมโยงกับมาตรา 93 ไว้และคาดว่าจะเกิดปัญหาในอนาคตได้

นอกจากนั้นยังมีประเด็นที่ให้วินิจฉัยว่าร่างพ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส.ตราไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ต่อประเด็นการพิจารณาร่างพ.ร.ป. ที่ไม่แล้วเสร็จภายใน 180 วัน โดยยกเจตนารมณ์ระบุว่า เพื่อให้รัฐสภามีความพยายามอุตสาหะอย่างเต็มที่ในการพิจารณากฎหมาย แต่ไม่ได้มุ่งหมายให้ใช้เป็นวิธีการหรือเทคนิคที่ทำให้ร่างกฎหมายตกไป เพราะจะทำให้พรรคการเมืองที่รวมกันมีเสียงข้างมากหรือเสียงจำนวนมากใช้เป็นเทคนิคขัดขวางร่างกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาของกมธ. แล้วฝ่ายตนเสียประโยชน์ให้ตกไปด้วย โดยเทคนิคถึงเวลาเกินกรอบ 180 วัน

“กระบวนการตามร่างพ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส. มีเหตุการณ์ที่ควรสงสัยว่าส.ส.พรรคเพื่อไทยและพรรคพลังประชารัฐ ใช้วิธีถ่วงเวลาประชุม และจงใจให้รัฐสภาไม่สามารถพิจารณาร่างกฎหมายให้เสร็จสิ้นในกรอบเวลาที่กำหนด โดยพบว่าการประชุมรัฐสภา วาระพิจารณาทั้ง 4 ครั้ง ส.ส.ทั้ง 2 พรรคไม่แสดงตนเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ประชุมล่มและการพิจารณาไม่เสร็จสิ้นตามกรอบเวลา การที่ 2 พรรคใหญ่มีผลปะโยชน์ร่วมกันในการเลือกตั้งประจักษ์ว่าหากใช้วิธีการคำนวณแบบเดิมที่เป็นร่างของ ครม. จะทำให้มีความได้เปรียบ จึงใช้วิธีเชิงเทคนิค ทำให้องค์ประชุมไม่ครบ และรัฐสภาไม่สามารถพิจารณาร่างกฎหมายลูกได้ตามกรอบเวลา จึงถือเป็นการตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และยังเป็นการทำผิดข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของส.ส.และกรรมาธิการ ข้อ 14 ”

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: