Connect with us

Politics

อ.จุฬาฯ ยังไม่ฟังธง เครื่องบินรบเมียนมา ตั้งใจรุกล้ำไทย?

Published

on

“ดร.ปณิธาน” แนะ ถอดบทเรียน เครื่องบินรบเมียนมารุกล้ำน่านฟ้าไทย ตั้งใจหรือไม่

ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า รองศาสตราจารย์ ดร.ปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านความมั่นคง ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Top News ถึงกรณีเครื่องบินกองทัพเมียนมารุกล้ำน่านฟ้าไทย จนมีการวิเคราะห์ว่าเป็นความตั้งใจหรือเพลี่ยงพล้ำว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถยืนยันได้จนเป็นที่แน่ใจว่าอะไรเกิดขึ้น

ซึ่งจะต้องรอดูข้อเท็จจริงที่น่าจะเห็นชัดขึ้นในสัปดาห์หน้าที่จะมีการชี้แจงทำความเข้าใจ แลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างประเทศและหน่วยงานต่างๆในประเทศ ทั้งนี้หากดูจากสภาวะทางกายภาพตามแนวชายแดนเชื่อว่าฝ่ายความมั่นคงทั้งสองฝ่ายคุ้นเคยกับภูมิประเทศเป็นอย่างดีอยู่แล้ว การใช้ยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายเมียนมา ทั้งเครื่องบินรบ หรืออุปกรณ์ตรวจจับเครื่องบินรบ หรือเรดาห์ เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง

ดังนั้นเรื่องความประมาทเลินเล่อหรือไม่คุ้นเคยภูมิประเทศก็ต้องดูน้ำหนักว่าจะมีมากเพียงพอหรือไม่ แต่ในชั้นนี้ยังไม่สามารถยืนยันได้ เพียงแต่มีข้อสังเกตว่าจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นหลายประกาศทำให้เกิดการรุกล้ำน่านฟ้าอย่างที่เป็นข่าว คงต้องรอให้ข้อเท็จจริงปรากฎมากขึ้นกว่านี้ เพื่อไม่ให้กระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดี ที่เรากับเมียนมาได้ปรับปรุงและยกระดับขึ้นมาใช้เวลาหลายสิบปีกว่าเราจะปรับความสัมพันธ์ให้ดีขึ้นในระดับนี้

เมื่อถามว่า แอคชั่นของรัฐบาลไทยและกองทัพ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าตอบโต้กลับเบาเกินไป และล่าช้า นายปณิธาน กล่าวว่า หลังจากการถอดบทเรียนทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะกองทัพไทย ฝ่ายความมั่นคงของไทยและผู้ที่เกี่ยวข้องในอนาคตน่าจะสามารถที่จะสร้างความมั่นใจ ลดความกังวลและความตื่นตระหนก รวมถึงความสงสัยของหลายฝ่าย และฝ่ายค้านในรัฐสภาในเรื่องนี้ได้

หากมีการเปิดเผยข้อมูลและมีการแก้ไขข้อบกพร่องในชั้นต้น เราต้องยืนยันกันว่าประเทศเมียนมาและประเทศในอาเซียนที่เราเป็นมิตรประเทศ ไม่มีประเทศไหนเป็นภัยคุกคามต่อกัน เราเป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อกัน มีกลไกตามแนวชายแดนและระหว่างประเทศที่ทำงานร่วมกันในด้านทหาร การลาดตระเวน การร่วมมือในโครงการต่างๆด้านความมั่นคง ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากการสู้รบในเมียนมาที่อยู่บริเวณแนวชายแดนทำให้เกิดปัญหาลักษณะแบบนี้ โดยนี่ไม่ใช่ครั้งแรก ต้องวางแผนกันให้ดีกว่านี้อย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก

เหตุการณ์นี้ก็มีหลายฝ่ายพูดกันว่าถ้ายุทโธปกรณ์ของเรา หรือระบบตรวจจับไม่ได้เป็นปัญหาความทันสมัยก็คงต้องไปดูเรื่องสายบังคับบัญชาการ การเตรียมพร้อม การสั่งการ และการดำเนินการล่วงหน้าที่ไม่กระทบกับประเทศเพื่อนบ้านจะทำได้หรือไม่ เช่นตรวจจับเห็นความเครื่องไหวเครื่องบินในประเทศเพื่อนบ้านมีท่าทีที่ล่อแหลมในการปฏิบัติการทำการรบหรือการทำสงครามในประเทศของเขา แต่อาจจะกระทบเข้ามาในเวลาที่ค่อนข้างสั้นและจำกัด การตัดสินใจทำงานในเชิงป้องปราม ตรวจสอบ ระมัดระวัง หรือแจ้งเตือนเพื่อสกัดดั้นให้เร็วขึ้นกว่าปกติจะทำได้หรือไม่ ค่าใช้จ่ายเป็นอย่างไร จะส่งสัญญาณผิดพลาดให้เพื่อนบ้านมีความรู้สึกอย่างไรหรือไม่หากไม่มีการสื่อสารหรือไม่มีการซักซ้อมมาตรการขั้นตอนเหล่านี้

ปกติเพื่อนบ้านที่มีความใกล้ชิดกันมากๆทางการทหารเขาจะแลกเปลี่ยนปฏิบัติการทางการทหารล่วงหน้า และประชาชนยังคาดหวังสูงว่ากองทัพไทย และกองทัพอากาศไทยจะทำให้ไม่เกิดการรุกล้ำน่านฟ้าหรืออธิปไตยของไทย ทางฝ่ายค้านก็คงจะสงสัยและอยากตรวจสอบค่าใช้จ่ายด้านยุทโธปกรณ์ และการฝึกมีปัญหาอย่างไรหรือไม่ เพื่อช่วยกันแก้ไขให้ประเทศมีความปลอดภัยมากขึ้น ในแง่ของภัยคุกคามระยะสั้นและเฉพาะหน้ากับประเทศเพื่อนบ้านรอบด้านนั้นไม่มี แต่ทั้งนี้คงต้องไปดูเรื่องทางการทูตที่เราเห็นข่าวแล้วว่าจะมีการขอโทษกัน และทำงานร่วมกันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุแบบนี้ขึ้นอีก

เมื่อถามว่ากรณีนี้ถูกพากษ์วิจารณ์ว่ามองเป็นมิตรมากกว่าปกป้องประเทศตัวเอง นายปณิธาน กล่าวว่า ตรงนี้จะเป็นประเด็นที่ซับซ้อนขึ้นกว่าเดิมว่าความเป็นมิตร จะถูกนานาชาติมองว่าเราเลือกข้างหรือไม่ นี่เป็นประเด็นใหม่ที่เกิดจากผลพวงผลกระทบครั้งนี้ ซึ่งรัฐบาลต้องรับฟังและชี้แจงนานาชาติด้วย การทำอย่างไรอย่างนึ่งในขณะนี้ตามแนวชายแดนจะถูกมองเสมอว่าไทยเลือกข้างสนับสนุนใครหรือไม่ และถูกกล่าวหาไปแล้วจากหลายฝ่ายที่มองจากหลายเหตุการณ์ที่ผ่านมา

ครั้งนี้ก็จะต้องหาทางป้องกันดำเนินการบางอย่างที่เกิดการตีความว่าประเทศไทยเลือกข้างใดข้างหนึ่ง ในแง่นโยบายเราไม่สนับสนุนความรุนแรงหรือสงคราม ไม่สนับสนุนการละเมิดสิทธิตามกติกาสากลที่เราเป็นภาคี แต่เราก็ต้องยึดหลักการเป็นเพื่อนบ้านที่ดี ช่วยเหลือตามมนุษยธรรม และไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งหมดนี้ต้องถอดบทเรียนอีกครั้ง

เมื่อถามว่า การวางตัวของไทยควรวางตัวอย่างไรจากเหตุการณ์ระหว่างเมียนมากับกองกำลังชลกลุ่มน้อย นายปณิธาน กล่าวว่า

1.เราต้องรักษาหลักมนุษยธรรมให้ความช่วยเหลือผู้ที่หลบหนีภัยสู้รบที่ขณะนี้มีหลายแสนคนแล้วในไทย บางครั้งมีปัญหาเรื่องการส่งกลับทำให้ค้างอยู่ในประเทศไทย จนเป็นภาระให้คนไทย เราก็ต้องระวัง แต่เราก็ให้ความช่วยเหลือตลอด

2.คือหลักการเป็นเพื่อนบ้านที่ดี เราจะไม่เข้าไปเลือกฝ่าย เป็นกติกาของอาเซียน และพยายามพุดคุยบริหารจัดการกับกลุ่มคนที่มาอาศัยชั่วคราวไม่ให้ใช้ไทยเป็นฐานในการเคลื่อนไหวรูปแบบต่างๆ

3.ทำตามแนวโน้มใหม่ๆ เรื่องประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และกติกาสากลมากขึ้น ต้องหาสมดุลใหม่เพื่อให้ความสัมพันธ์ไม่ขัดหลักสากล เราต้องทำตามมติสหประชาชาติ และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้าน สุดท้ายเราคงต้องยึดคนเมียนมาที่เข้ามาทำงานในประเทศ เพื่อต้องอาศัยเรื่องเศรษฐกิจ และการเจริญเติบโตไปอีกยาวนาน

เมื่อถามว่า รัฐบาลควรตั้งรับการเมืองภายในประเทศอย่างไร หากฝ่ายค้านนำเรื่องนี้ไปอภิปรายโจมตี หรืออภิปรายไม่ไว้วางใจ นายปณิธาน กล่าวว่า รัฐบาลต้องเปิดรับคำถามจากฝ่ายค้านหรือฝ่ายที่สงสัยว่าอะไรเกิดขึ้น ทั้งในสภาฯ นอกสภาฯ และสื่อมวลชน ส่วนใหญ่ทำให้ทุกฝ่ายเข้าใจและร่วมมือกัน ไม่มีแบ่งฝ่าย เพราะความมั่นคงเป็นเรื่องของทุกฝ่ายที่ฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลต้องร่วมมือกันทำงาเนพื่อปกป้องอธิปไตยของประเทศ

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: