Connect with us

News

”อ.เจษฎา“ ไขกระจ่าง ปรากฎการณ์ “น้ำเบียด”! ปลาหน้าแปลก ตายที่ชายหาดชะอำ!!

Published

on

“อ.เจษฎา” มีคำตอบ! อะไรคือปรากฎการณ์น้ำเบียด จนส่งผลผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล

ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า จากกรณี เพจแทนทะเล โพสต์รูปภาพชายหาดที่ชะอำ และปรากฎสัตว์ทะเลจำนวนมาก ขึ้นมาเกยตื้นที่ชายหาด พร้อมเรียกปรากฎนี้ว่า น้ำเบียด

ล่าสุด รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ให้ความรู้กรณีดังกล่าว โดยระบุว่า

“ปรากฏการณ์ น้ำเบียด คืออะไร ?

มีคนส่งโพสต์ในภาพประกอบนี้ (จากเพจ แทนทะเล Tanntalay ดูลิงค์ด้านล่าง) มาถามขอความรู้หน่อย ว่าที่มีปลาหน้าตาแปลกๆ ขึ้นมาตายเกยหาดชะอำ จังหวัดเพชรบุรี แบบในรูปนี้ แล้วชาวบ้านบอกว่าเป็นเพราะมันโดน “น้ำเบียด” นี่ จริงๆ มันเกิดจากอะไร ?

ตามข้อมูลจาก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับ “ปรากฏการณ์น้ำเบียด” ที่เคยเกิดขึ้นที่ บริเวณชายหาดหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ไว้ดังนี้ครับ

“ปรากฏการณ์น้ำเบียด” เป็นลักษณะทางธรรมชาติอย่างหนึ่งของทะเล เกิดมาจากการปะทะกันของน้ำจืดและน้ำเค็ม ที่มวลน้ำไหลเข้ามาชน และเบียดกันไว้ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

สามารถสังเกตเห็นเป็นแนวยาว หรือขอบเขตระหว่างกันได้ โดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำ ยิ่งมีความขุ่นของตะกอนดินมาก ก็ยิ่งสังเกตเห็นขอบเขตได้ชัดเจน

ซึ่งบางครั้ง อาจพบลักษณะขอบเขตนี้เป็น 2 ชั้นได้ คือ น้ำจืด ปะทะน้ำกร่อย และน้ำกร่อย ปะทะน้ำเค็ม แต่ด้วยความขุ่นของตะกอนดิน อาจทำให้ไม่สามารถแยกเขตระหว่างน้ำจืด และน้ำกร่อย

การผสมกันของชั้นน้ำบริเวณปากแม่น้ำ ในช่วงน้ำหลากมากนั้น เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป การแบ่งชั้นของน้ำ จึงคงอยู่เป็นระยะเวลายาวนาน

มวลน้ำชั้นล่าง ซึ่งไม่ได้รับแสงแดด แพลงก์ตอนพืชไม่สามารถสังเคราะห์แสง และเติมออกซิเจนให้กับน้ำได้

เมื่อออกซิเจนถูกใช้ในกระบวนการหายใจของสัตว์น้ำมากขึ้น ออกซิเจนในน้ำจะยิ่งลดลง จนป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำหน้าดิน โดยเฉพาะที่อาศัยใกล้ชายฝั่งได้

นอกจากนี้ น้ำเบียดที่เป็นทั้งน้ำเสียจากแม่น้ำเอง และที่เกิดจากน้ำเปลี่ยนสี สามารถผลักดันหรือกวาดต้อนฝูงสัตว์น้ำนั้น ให้หนีไปรวมกันตามแนวเขตได้ หรืออาจทำให้สัตว์น้ำที่หนีไม่ทัน ตายได้

ดังนั้น ลักษณะของ “น้ำเบียด-น้ำกัน” เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตในระยะสั้น ไม่เกิน 2-3 วัน จะเข้าสู่สภาวะปกติ ซึ่งขึ้นอยู่กับคลื่นลมบริเวณดังกล่าวด้วย

ภาพจาก https://www.facebook.com/Tanntalayy/posts/pfbid02B9f2nQgC1CeMQDmPesLPXUhhjv9uZpXcWyQeNskmV43YWUyeWCgZW9EXJ5KzFMqMl

ข้อมูลจาก https://www.dmcr.go.th/detailAll/16821/nws/87

#เพื่อไม่พลาดข่าวสารดีๆ อย่าลืมกดติดตามพวกเรา TOJO NEWS

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: