สส.แบงค์ ชี้ เพื่อไทย จะเวนคืน-ปรับสัญญา รถไฟฟ้า คนได้ประโยชน์คือเอกชน เผย 3 บริษัทมีหุ้นส่วน บีทีเอส-ซิโนไทย-ราชกรุ๊ป
ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ สส.กรุงเทพฯ จตุจักร-บางเขน-หลักสี่ โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์หรือเอ็กซ์ โดยระบุว่า
เวนคืน-ปรับสัญญา เพื่อ แบกภาระค่าใช้จ่ายแทนเอกชน ที่กำลังขาดทุน ใช่หรือไม่?
เนื่องจาก สายสีเหลือง และสายสีชมพู มีผู้โดยสารขึ้นน้อยกว่าเป้าที่คำนวนไว้มาก
- สายเหลือง เพียง 30,000 คน/วัน
- ชมพู เพียง 45,000 คน/วัน
ทว่า จุดคุ้มทุนอยู่ราวๆ 120,000คน/วัน
แปลว่าโอกาสที่ 2 สายนี้จะคืนทุนให้กับเอกชนที่ลงทุนไป ภายใน 30ปี ของอายุสัมปทานนั้น เป็นเรื่องยากมากๆแล้ว และทุกวันนี้ก็คงรับภาระ ขาดทุน จากการแบกค่าบริการมาโดยตลอด
จากผลประกอบการของทั้ง BTS และ STEC กลับมาขาดทุนครั้งแรกในรอบหลายปี ซึ่งโบรกเกอร์และนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่พูดเสียงเดียวกันว่า ส่วนหนึ่งก็มาจาก การลงทุนรถไฟฟ้า สายสีชมพู และสายสีเหลือง
นั่นความหมายว่า การปรับสัญญา/การเวนคืน ในครั้งนี้ คือ การที่รัฐไปซื้อกิจการที่รายจ่ายสูง รายได้ต่ำ กำไรไม่มี เพื่อมา “แบกค่าใช้จ่ายแทนเอกชน”
การอ้างเรื่องค่าโดยสารที่แพง จริงๆรัฐยังมีกลไก อย่างการ “อุดหนุนรายหัว” ที่สามารถทำได้ และไม่ต้องเข้าไปแบกภาระขาดทุน ของรถสายสีเหลือง และชมพู แถมจะเพิ่ม-ลด การอุดหนุน เมื่อไรก็ได้
และจะว่าไป ต่อให้รัฐไม่ต้องหา ช่วยเอกชน หาเรื่องเอาตัวไปพลีชีพ ไปแบกภาระขาดทุนแทนเอกชนเลย
ถ้าปล่อยต่อไปเรื่อยๆ เผลอๆ เอกชนจะขอคืนสัมปทานล่วงหน้า และส่งมอบคืน รถไฟฟ้าให้รัฐฟรีๆ รัฐไม่ต้องจ่ายเงินเวนคืนซักบาทเพราะถ้าเอกชนยิ่งฝืนแบกต่อไป ยิ่งเหนื่อย และยิ่งจะติดลบ ขาดทุนหนักไปเรื่อยๆ
การจะซื้อกิจการ รัฐต้องคำนวนมูลค่า โดยอิงจาก จำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการจริง ณ ปัจจุบัน กับอายุสัมปทานที่เหลือ และช่องทางรายได้ทั้งหมด และ หักค่าใช้จ่ายค่าบริการ ค่าบำรุงรักษา ค่าเสื่อมและต้นทุนทางการเงิน เพื่อหากำไร-ขาดทุน ที่แท้จริง
ถ้ากิจการนี้ ขาดทุน และไม่มีทางกำไรได้เลย นั่นคือ วิกฤตของเอกชนที่ถือสัมปทาน ไม่ใช่รัฐ
การที่รัฐจะเอาเงินไปเวนคืนกิจการที่ขาดทุน คือการที่รัฐเข้าไปช่วยอุ้ม ไม่ใช่รัฐและเอกชนอยากจะช่วยประชาชน ขออย่ามาอ้าง และบิดเบือนผิดๆ
ปล. ผมชอบแนวคิด ช่วยเอกชน สไตล์เพื่อไทย มากๆเลย แต่ละอย่างที่คิด จะพ่วงประชาชนไปเอี่ยวนิดเอี่ยวหน่อยให้ฟังดูเหมือนประชาชนได้ประโยชน์ แต่จริงๆ คนที่ได้ประโยชน์ตัวจริง คือ เอกชน
การที่รัฐยอมเสียภาษีเพื่อ
(1) ไปซื้อกิจการเขามา ทั้งที่มูลค่าตกลงเรื่อยๆเพราะขาดทุน
(2) ไปแบกค่าดำเนินการที่ขาดทุนแทน
(3) ต้องตกลงจ้างเจ้าเดิมเดินรถ-บริหาร-เก็บเงินต่อ
ถือว่า รัฐหาเรื่อง ผลาญเงินประชาชน 3 เด้ง เพื่อหาทางออกให้เอกชน สวยๆ ไม่ต้องทนขาดทุนต่อไปแถมได้เงินที่ลงทุนผิดพลาดคืน แต่พูดให้ใครฟังก็ดีดู ว่าช่วยประชาชน แต่จริงๆคือเสียหนักกว่าเดิม ซึ่งแทคติกนี้ไม่ต่างไรกับ กรณีขยายสัมปทานทางด่วน คิดมาได้แต่ละอย่างผมขอตบมือให้เลยครับ
ข้อสังเกตุ
สายสีเหลือง และสายสีชมพู ผู้ที่ถือสัมปทานคือ Northern Bangkok Monorail (NBM) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุน โดยกิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR JV consortium) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง
-บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) 75%
-บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรักชั่น จำกัด (มหาชน) (STEC) 15%
-บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (RATCH) 10%
#เพื่อไม่พลาดข่าวสารดีๆ อย่าลืมกดติดตามพวกเรา TOJO NEWS