Connect with us

News

หมอธีระวัฒน์ เผย! ข้อเสนอจากแพทย์จบใหม่ ที่เราต้องฟัง!!

Published

on

หมอธีระวัฒน์ เปิด 5 ข้อปัญหาใหญ่! ทำไมหมอจบใหม่ไม่อยู่ใช้ทุนโรงพยาบาลชุมชน ชี้ ต้องรีบแก้ไข ไม่มีสาธารณสุขที่ดี ก็ไม่มีเศรษฐกิจที่ดี

ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ข้อเสนอจากแพทย์ จบใหม่
(ที่เราต้องฟังเพราะนี่คืออนาคตของระบบและรวมถึงเจ้าหน้าที่อื่นๆในระบบทั้งหมดและพยาบาล)
ประเทศต้องตระหนักถึงปัญหาหมอหรือแพทย์ใช้ทุนลาออก ไม่อยู่ใช้ทุนในโรงพยาบาลชุมชนในปีต่อ ๆ ไป หรือลาออกเสียตั้งแต่ก่อนจบปีแรก
ปัญหานี้มีมาเกิน 10 ปีแล้ว แต่การแก้ปัญหายังไม่มีความชัดเจน เพิ่มค่าตอบแทนน้อยนิด อยู่ในระบบต่อไป ค่าตอบแทนก็ไม่ต่างเท่าไหร่ ลาออกกันมากขึ้นเรื่อย ๆ หมอในระบบน้อยลง ไม่สามารถพัฒนาสาธารณสุขท้องถิ่นได้ สุดท้ายหมอที่ยังอยู่ก็ต้องรับภาระมากขึ้น เป็นวงจร ถ้าไม่ตัดวงจรนี้ก็ไม่สามารถทำให้ปัญหาดีขึ้นได้

1.สาเหตุหลักคือเวลางานที่หนักเกินไป สังคมเปลี่ยนไป หมอก็อยากมีชีวิตดี ๆ บ้าง ต้องยอมรับว่ามาเป็นหมออยากช่วยคน แต่จะให้เสียสละทั้งชีวิต น้อยคนจะยอม

ต้องออกเป็นกฎทั่วประเทศเหมือนกัน ว่าห้ามทำงานเกิน กี่ชั่วโมงต่ออาทิตย์ (รวมการไปทำเอกชนด้วย ไม่ใช่พอให้ทำน้อยลง ก็ไปรับเอกชน สุดท้ายก็ทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพอยู่ดี) ห้ามทำติดต่อกันเกิน 24 ชั่วโมง บังคับให้ได้หยุดในวันหยุด (unsociable hour) อย่างน้อย ครึ่งหนึ่งต่อเดือน

ปัญหาที่จะเจอคือ หมอไม่พอเพราะเวลางานลดลง ดังนั้น ต้องจัดการหาเงินมาว่าจ้างหมอชั่วคราวมาช่วยในชั่วโมงที่หาคนทำงานไม่ได้ เก็บข้อมูลว่าจำเป็นต้องมีหมอเพิ่มอีกเท่าไหร่จึงจะสามารถดำเนินการต่อได้โดยไม่ต้องจ้างชั่วคราวในอนาคต และวางแผนรับเพิ่มในระยะยาว

2.แบกรับความรับผิดชอบสูงเกินไป เพราะคิดว่าเดี๋ยวต้องไปอยู่ชุมชนต้องทำเป็นทุกอย่าง
หมอหนึ่งคนไม่สามารถเก่งทุกอย่างได้ โดยเฉพาะใน 5 ปี หลังมีการตั้งเกณฑ์คุณภาพในการรักษาดูแลคนไข้ที่สูงมาก เนื่องจากข้อมูลทางการแพทย์ที่เยอะขึ้นอย่างก้าวกระโดดจึงทำให้ต้องอ่านทบทวนอยู่ตลอดเวลา และความรู้ของคนไข้กับญาติสูงขึ้นจึงจำต้องอธิบายและตอบคำถามเป็นเวลานาน จึงเป็นระบบที่ไม่เอื้ออำนวยต่อสุขภาพจิต ของหมอที่จบใหม่ซึ่งต้องทั้งทำงานเกินมนุษย์ และต้องตามวิชาการระดับโลก

3.Decentralization ยกระดับโรงพยาบาลชุมชน ให้มีระบบชัดเจน มีคนบริหาร มีหมอเพิ่ม เช่นหมอเวชศาสตร์ครอบครัวที่มีความสนใจพิเศษเฉพาะด้าน ๆ ไป ยังได้ข้อดีในการทำ local health promotion and support primary/secondary prevention คือ ส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่ สนับสนุน การป้องกันโรค ทั้งก่อนเกิดโรค และเมื่อเกิดโรคไปแล้ว ไม่ให้ โรคพัฒนามากขึ้นไปอีก ทั้งหมดนี้ ต้องเข้มแข็งขึ้น

4.เพิ่มปีการใช้ทุน และเพิ่มปีการเรียนเฉพาะทาง แต่ต้องทำให้ระบบน่าอยู่ต่อ พอจบแล้วก็อยากอยู่ทำงานในโรงพยาบาลรัฐต่อ เช่น ใช้ทุนที่บ้านเกิดตนเองเพื่อที่อยากจะพัฒนาสุขภาพชุมชนที่ตนเองเกิดมา ไม่ใช่บ้านอยู่จันทบุรี แต่โดนส่งไป แหลมฉบัง เพราะจับฉลาก นอกจากนั้นเพิ่มเงินเดือนตามจำนวนปีที่อยู่ให้สูง เพื่อที่จะอยู่ได้โดยสามารถเลี้ยงครอบครัวได้ ลดจำนวนที่ใช้ทุนแล้วเรียนเฉพาะทางจบก็ลาออกไปทำเอกชน

5.ความเสี่ยงสูงโดนฟ้องร้องสูง เสียความรู้สึก เลือกเรียนสาขาที่ไม่เสี่ยงเช่นผิวหนัง จักษุ หรือ เสริมความงาม ซึ่งสามารถเลือกเวลางาน ไม่มีฉุกเฉินและค่าตอบแทนสูง
สรุปเอาอย่างเฉียบๆ
1-เรื่องจากพักผ่อนไม่พอ
ค้องแก้ไปในข้อแรก
2-ต้องมีความชัดเจนในการปกป้องหมอ กำจัดกลุ่มเอาเปรียบระบบโดยมาตราการเด็ดขาด
3- มีความชัดเจนในการดูแลช่วงบั้นปลายชีวิตคนไข้ เรื่องการสอดท่อช่วยหายใจ การให้ยากระตุ้น การปั้มหัวใจนั้นคือการรักษา ดังนั้น แพทย์ต้องเป็นคนตัดสินใจ ไม่ใช่ ญาติ แต่ต้องมีการคุยอธิบายกับคนไข้และญาติให้เข้าใจว่าทำไม
ไม่ใช่ยื้อชีวิตไม่มีที่สิ้นสุด
4- เพิ่มค่าตอบแทนสูงสุดในสาขาขาดแคลนเช่น ศัลยกรรมสมอง
ไม่มีสาธารณสุขที่ดี ก็ไม่มีเศรษฐกิจที่ดี คนป่วยทำงานไม่ได้ ป่วยหนักไม่มีที่พึ่ง ลูกหลานที่ทำงานได้ก็ ต้องมาดูแล และออกจากงาน

#เพื่อไม่พลาดข่าวสารดีๆ อย่าลืมกดติดตามพวกเรา TOJO NEWS

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: