Connect with us

News

คนกรุงฯ สาหัสแล้ว! โครงการตึกใหญ่ ยัดเข้าในซอยแคบ อรรถวิชช์ ลั่น! เดือดร้อนกันหมด

Published

on

อรรถวิชช์ ร่ายปัญหาผังเมืองกรุงเทพฯ คนอยู่ลำบากตึกสูงขึ้นในพื้นที่สงวน พร้อมขอร้องให้ชัชชาติ เปิดศาลาว่าการ เป็นประธาน รับฟังความเห็นประชาชน

ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า ดร.อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต สส.กทม. กล่าวถึงการขยายเวลารับฟังความเห็นการจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครว่า การขยายเวลาถึงสิ้นเดือน ก.พ.2567 ไม่เพียงพอ โดยขอร้องให้นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดศาลาว่าการ กทม. เป็นประธานรับฟังความเห็นประชาชนด้วยตนเอง ซึ่งขณะนี้มีประชาชนเดือดร้อนหลายพื้นที่ หลายเขต รวมตัวกันคัดค้านโครงการที่เกิดผลกระทบในพื้นที่ ตัวอย่างเช่น

1.กลุ่มเดือดร้อนจากโครงการตึกใหญ่ยัดเข้าในซอยแคบ เริ่มตั้งแต่ ซอยเกอเธ่ ,ซอยสุขุมวิท 39,49,53 ,กลุ่มคนรักษ์พญาไท โซนพื้นที่ซอยราชครู-อารีย์สัมพันธ์ ,โซนพื้นที่ซอยลาดพร้าว 18 ,รัชดา 42,44 กลุ่มนี้ต้องทำผังเมืองเฉพาะสงวนเป็นพื้นที่ห้ามสร้างตึกสูงในซอย จะได้ไม่ต้องนั่งเถียงกันว่า ถนน 6 หรือ 12 เมตรอีก น่าเห็นใจนะครับ เกือบทุกอาทิตย์ต้องเฝ้าระวังการทำ EIA ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์

2.กลุ่มเดือดร้อนจากการโดนเวนคืนถนนใหญ่ อยากนำเสนอเพิ่ม ”ทางลัด” เช่น ในเขตจอมทอง โซนถนนราชพฤกษ์ เส้นทาง ฉ.4 เชื่อม เพชรเกษม-สุขสวัสดิ์ เชื่อมวงแหวนใต้ โซนนี้ชาวบ้านจะถูกเวนคืนมากจริงๆ มีทางลัดหลายเส้นน่าจะทำให้ทะลุเชื่อมถนนใหญ่ เช่น ซอยเอกชัย 30,33 และอื่นๆ อีกมาก

3.กลุ่มที่อยู่อาศัยใกล้แนวรถไฟฟ้าใหม่ สายสีแดงเข้ม สายสีเหลือง เช่น ในเขตหลักสี่ ดอนเมือง เพิ่งมีรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม หากได้สร้างสะพานข้ามคลองเปรมประชากร เชื่อมกับสถานีทุ่งสองห้อง จะทำให้ประชาชนเดินทางเข้าเมืองได้สะดวกขึ้น

4.กลุ่มที่ต้องการบึงรับน้ำ ป้องกันน้ำท่วมในโซนกรุงเทพตะวันออก อย่างเขตคลองสามวา “บึงคู้บอน” ที่ผมไม่เห็นในผังเมืองใหม่ ทั้งๆ ที่ผ่านการรับฟังความเห็นจากประชาชนมาแล้ว

5.กลุ่มภาคีเครือข่ายที่ช่วยเหลือประชาชนในการขับเคลื่อนเช่น สภาองค์กรของผู้บริโภค เป็นต้น

ดร.อรรถวิชช์ ย้ำว่า การรับฟังความเห็นผังเมืองรวมไม่เพียงพอ ต้องจัดรับฟังความเห็นผังเมืองเฉพาะ แยกแต่ละเขต เพราะแต่ละที่ภาคประชาชนมีปัญหาต่างกัน การขยายเวลาเพียงสิ้นเดือน ก.พ. ไม่เพียงพอ และขอให้ผู้ว่าฯ กทม. รับฟังความเห็นด้วยตนเอง เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าปัญหาจะนำไปสู่การแก้ไข

เพื่อไม่พลาดข่าวสารดีๆ อย่าลืมกดติดตามพวกเรา TOJO NEWS

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: