Connect with us

News

จับตา! ปทุมธานี นนทบุรี กทม. 10 ต.ค.นี้ น้ำทะเลหนุนสูง!!

Published

on

กรมชลประทาน เผย​ ต้องจับตาพื้นที่นอกคันกั้น ปทุมธานี นนทบุรี กทม. 10 ต.ค.นี้ น้ำทะเลหนุนสูง จะส่งผลให้ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม 30-50 ซม.

ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ขณะนี้มีพื้นที่ประสบอุทกภัย 15 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย นครราชสีมา ชัยภูมิ ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง อุบลราชธานี พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร ขอนแก่น ชัยนาท สุพรรณบุรี และอุทัยธานี กรมชลประทานเร่งระบายน้ำที่ท่วมขังออกให้เร็วที่สุด พร้อมนำผลวิเคราะห์และคาดการณ์สภาพอากาศ รวมทั้งแนวโน้มของอิทธิพลพายุของกรมอุตุฯ มาประกอบการบริหารจัดการน้ำเพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

สำหรับสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและป่าสักปริมาณน้ำเหนือลดลงแล้ว จะทยอยปรับลดการระบายน้ำสู่พื้นที่ตอนล่างให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนบริเวณรอบทุ่ง วันนี้ (6 ต.ค.) น้ำแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาในอัตรา 2,749 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที ลดลงวานนี้ (2,788 ลบ.ม.ต่อวินาที) ส่วนเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ระบายน้ำ 901 ลบ.ม.ต่อวินาที ลดลงจากเมื่อวาน (1,000 ลบ.ม.ต่อวินาที) จากนั้นควบคุมให้น้ำไหลผ่านเขื่อนพระรามหกสูงสุดในอัตรา 762 ลบ.ม.ต่อวินาที (6 ต.ค.) น้ำไหลรวมกันผ่าน อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา 3,104 ลบ.ม.ต่อวินาที ไม่เกินความจุของลำน้ำที่รับได้ 3,500 ลบ.ม.ต่อวินาที

ในวันที่ 10 ต.ค. จะเกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูงสุด คาดว่า จะส่งผลให้ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม 30-50 ซม. บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกแนวคันกั้นน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จ.ปทุมธานี นนทบุรี และ กทม. ซึ่งได้เสริมเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำเพื่อเร่งระบายออกทะเล นอกจากนี้ ยังใช้ทุ่งพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อตัดยอดน้ำหลาก กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ประเมินว่า ลุ่มน้ำยม-น่านผันน้ำเข้าทุ่งบางระกำแล้ว 400 ล้าน ลบ.ม. ส่วนทุ่งพื้นที่ลุ่มต่ำ 10 ทุ่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา รับน้ำแล้วรวม 978 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 67% จากแผนที่กำหนดไว้ 1,454 ล้าน ลบ.ม.

“สาเหตุที่ยังไม่ได้รับน้ำเข้าทุ่ง 100% ตามแผน เพราะยังมีนาข้าวที่รอเก็บเกี่ยวอีก 121,000 ไร่หรือ 11.8 % ของที่เพาะปลูกทั้งหมด เมื่อเกษตรกรเก็บเกี่ยวหมดแล้ว จะพิจารณารับน้ำเข้าจนเต็มศักยภาพ ซึ่งเป็นการเตรียมแปลงสำหรับเพาะปลูกพืชน้ำน้อยในช่วงหน้าแล้งได้อีกด้วย” อธิบดีกรมชลประทาน ระบุ

สำหรับลุ่มน้ำชี–มูล น้ำที่ระบายจากจ.ชัยภูมิ ลงแม่น้ำชีเคลื่อนตัวมาถึงเขื่อนชนบท อ.ชนบท จ.ขอนแก่น แล้วเอ่อล้นตลิ่ง ประกอบกับระดับน้ำในเขื่อนอุบลรัตน์มีน้ำมากถึง 85.44% จึงต้องระบายน้ำลงลำน้ำพองและชีตาม จึงทำให้น้ำท่วมสูง ใน จ.ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด รวมทั้งต้องเฝ้าระวัง จ.มหาสารคาม ยโสธร และศรีสะเกษด้วย เนื่องจากน้ำที่ระบายจากจ.นครราชสีมาลงแม่น้ำมูลเคลื่อนตัวมาผ่านจ.ศรีสะเกษแล้ว แล้วจะไหลไปที่จ.อุบลราชธานี

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: