Connect with us

On this day

๕ สิงหาคม ๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ สถาปนา โรงเรียนนายร้อย ขึ้นหลังพระราชวังสราญรมย์

Published

on

โดยเริ่มจากการจัดตั้งทหารมหาดเล็กเด็ก ที่เรียกว่า “ทหารมหาดเล็กไล่กา” จำนวน 12 คน
ในช่วงต้นรัชกาลต่อมาได้ขยายกำลังขึ้น โดยฝึกข้าหลวงเดิม ให้เป็นทหารมหาดเล็ก
สมทบกับพวกมหาดเล็กไล่กา รวม 24 คน
จึงเรียกทหารในชุดนี้ว่า “ทหาร 2 โหล” และต่อมา ได้เพิ่มจำนวนทหารมหาดเล็กเป็น 72 คน
แต่งตั้งเป็น กองทหารมหาดเล็กสำหรับรักษาพระองค์

รูปด้านหน้าโรงเรียนทหารสราญรมย์ นับเป็นแบบอาคารแบบตะวันตกที่ยาวที่สุดที่ก่อสร้างขึ้นในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๕
(ภาพจากหนังสือ “สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยาม สมัยรัชกาลที่ ๔-พ.ศ. ๒๔๘๐” โดย อาจารย์สมชาติ จึงศิริอารักษ์, ๒๕๕๓)
“โรงเรียนทหารสราญรมย์” จากมหาดเล็กไล่กา สู่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (silpa-mag.com)

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า กำเนิดขึ้นพร้อม ๆ กับ กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
โดยเริ่มจากการจัดตั้งทหารมหาดเล็กเด็กที่เรียกวว่า “ทหารมหาดเล็กไล่กา” จำนวน 12 คน ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้ขยายกำลังขึ้นโดยฝึกข้าหลวงเดิม
ให้เป็นทหารมหาดเล็กสมทบกับพวกมหาดเล็กไล่การวม 24 คน จึงเรียกทหารในชุดนี้ว่า “ทหาร 2 โหล”
และต่อมาได้เพิ่มจำนวนทหารมหาดเล็กเป็น 72 คน แต่งตั้งเป็นกองทหารมหาดเล็ก
สำหรับรักษาพระองค์อย่างใกล้ชิด

พ.ศ. 2414 โปรดเกล้าฯ ให้ขยายกองทหารมหาดเล็กออกเป็นกองร้อย
เรียกว่า “กอมปานี” (company) ถึง 6 กองร้อย จัดตั้งเป็น “กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์”

พ.ศ. 2415 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสถานที่สอนวิชาการและระเบียบการขึ้นในกรมทหารมหาดเล็ก
รวมทั้งให้มีการสอนวิชาภาษาอังกฤษและภาษาไทยด้วย เรียกสถานศึกษาว่า คะเด็ตทหารมหาดเล็ก 
ส่วนนักเรียนเรียกว่า “คะเด็ต” (cadet)

ภาพจาก ประวัติโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (crma.ac.th)

พ.ศ. 2423 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกรมทหารหน้าขึ้น (ซึ่งต่อมาได้วิวัฒนาการเป็นกรมยุทธนาธิการ)
จึงกำเนิด “คะเด็ตทหารหน้า” ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ได้เร่งปรับปรุงกิจการทหารโดยลำดับ
เมื่อเจริญกว้างขวางและเป็นแบบแผนขึ้นบ้างแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช 
จัดตั้งโรงเรียนสอนวิชาทหารสำหรับทหารบกทั่วไปขึ้น โดยให้ใช้พื้นที่บริเวณหลังพระราชวังสราญรมย์
เป็นสถานที่ตั้ง (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกรมแผนที่ทหาร) โดยรวมคะเด็ตทหารมหาดเล็ก คะเด็ตทหารหน้า
นักเรียนแผนที่ และส่วนที่เป็นทหารสก๊อตเข้าด้วยกัน ใช้ชื่อรวมว่า คะเด็ตสกูล 
สำหรับนักเรียนเรียกว่า “คะเด็ต” มีนายพันเอกนิคาล วอลเกอร์ (Nical Walger) เป็นผู้บังคับการคนแรก

สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
ภาพจาก https://www.facebook.com/colouredbysebastianpeet

5 สิงหาคม พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จมาทรงกระทำพิธีเปิดโรงเรียนคะเด็ตสกูล

14 มกราคม พ.ศ. 2431 ได้ตราข้อบังคับขนานนามโรงเรียนคะเด็ตสกูลเสียใหม่ว่า 
โรงเรียนทหารสราญรมย์

6 ตุลาคม พ.ศ. 2440 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ กองโรงเรียนนายสิบมา สมทบด้วย
เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนสอนวิชาทหารบก

25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนทหารบก 
เปิดโอกาสให้รับบุคคลสามัญที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยได้
ต่อมามีผู้สนใจเข้ารับการศึกษาเพิ่มมากขึ้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายนักเรียนนายสิบ
ไปสังกัดกองพลทหารบกตามเดิม
และเมื่อ 26 พฤษภาคม 2446 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนนายร้อยทหารบก 
เปิดการสอนใน 2 แผนก คือ โรงเรียนนายร้อยชั้นปฐมและโรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม

รูปด้านหน้าโรงเรียนนายร้อยมัธยม ที่ถนนราชดำเนิน
(ภาพจากหนังสือ “สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยาม สมัยรัชกาลที่ ๔-พ.ศ. ๒๔๘๐” โดย อาจารย์สมชาติ จึงศิริอารักษ์, ๒๕๕๓) 
“โรงเรียนทหารสราญรมย์” จากมหาดเล็กไล่กา สู่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (silpa-mag.com)

5 ปีถัดมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าสถานที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก
คับแคบไปแล้วไม่เพียงพอแก่การที่จะผลิตนักเรียนเพิ่มขึ้นทันกับความต้องการ
ของสถานการณ์ในเวลานั้น ซึ่งขาดแคลนนายทหาร จึงโปรดเกล้าฯ
ให้ซื้อที่ดินติดถนนราชดำเนินนอก เป็นเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่เศษ
ดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม
(ส่วนโรงเรียนนายร้อยชั้นปฐมยังคงอยู่ ณ โรงเรียนทหารสราญรมย์เดิม)
เสร็จแล้วพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงกระทำพิธีเปิดโรงเรียนเมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2452

อาคารเรียนโรงเรียนนายร้อยมัธยม ที่ถนนราชดำเนิน อาคารหลังนี้ปัจจุบันป็นตั้งของกองบัญชาการกองทัพบก
ภาพจาก “โรงเรียนทหารสราญรมย์” จากมหาดเล็กไล่กา สู่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (silpa-mag.com)

โรงเรียนนายร้อยชั้นปฐม และโรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยมได้ดำเนินการมาด้วยดี
ต่อมาเศรษฐกิจของชาติตกต่ำ กระทรวงกลาโหม จึงให้รวมโรงเรียนนายร้อยทั้งสองนี้
เข้าด้วยกันเรียกชื่อว่า โรงเรียนนายร้อยทหารบก 
อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมยุทธศึกษาทหารบก

26 มีนาคม พ.ศ. 2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จมาพระราชทานกระบี่
แก่นักเรียนนายร้อยทหารบกที่จบการศึกษาชั้นสูงสุดเป็นครั้งแรก
และจากนั้นเป็นต้นมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานกระบี่แก่นักเรียนนายร้อยที่จบการศึกษาขั้นสูงสุดทุกปี

พ.ศ. 2477 ได้มีการจัดตั้ง โรงเรียนเทฆนิคทหารบก ขึ้นในกรมยุทธศึกษาทหารบก
เพื่อผลิตนายทหารบางเหล่าที่เป็นเหล่าสายเทคนิค

2 ธันวาคม พ.ศ. 2485 – 14 มกราคม พ.ศ. 2487 ได้มีการผลิตนักเรียนนายร้อยหญิง
ขึ้น 1 รุ่น จำนวน 28 คนและมีเพียงรุ่นเดียว

14 เมษายน พ.ศ. 2485 – พ.ศ. 2487 ได้มีการผลิตนักเรียนนายร้อยสำรองขึ้น 3 รุ่น
และได้เปิดหลักสูตรอีกครั้งหนึ่งตั้งแต่ 30 เมษายน พ.ศ. 2499 อีก 6 รุ่น รวม 9 รุ่น

ในห้วงสงครามมหาเอเซียบูรพา ประเทศไทยจำเป็นต้องทำสัญญาเป็นพันธมิตรไมตรีกับฝ่ายญี่ปุ่น
เมื่อ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ในปี พ.ศ. 2486 ทำให้ กรุงเทพฯ กลายเป็นเป้าหมายการโจมตีของ
กองกำลังฝ่ายพันธมิตร ทางราชการจึงคิดแผนการ ย้ายเมืองหลวง ไปอยู่
ณ สถานที่แห่งใหม่ ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2487
นักเรียนนายร้อยทุกหลักสูตรและทุกคน จึงได้ออกเดินทางจากกรุงเทพมหานคร
ไปขึ้นรถไฟที่สถานีรถไฟสามเสน ไปลงที่สถานีรถไฟตะพานหิน จังหวัดพิจิตร
จากนั้นเดินเท้าต่อไปอีก 112 กิโลเมตร เข้าสู่หมู่บ้านป่าแดง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์

ภาพโรงเรียนนายร้อยในสมัยที่ย้ายมาอยู่ที่ บ้านป่าแดง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
ภาพจาก ภาพโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าในอดีต (crma.ac.th)


เปิดทำการสอนนักเรียนนายร้อยอยู่ไม่นาน พอต้นปี พ.ศ. 2488
ได้เคลื่อนย้ายมาอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนกระทั่งสงครามสงบ
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2488 โรงเรียนนายร้อยจึงได้กลับมาอยู่ ณ สถานที่ตั้งเดิม

พ.ศ. 2489 กระทรวงกลาโหมได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรของโรงเรียนนายร้อย
เป็นหลักสูตรการศึกษา 5 ปีตามแบบอย่างโรงเรียนนายร้อยทหารบกของสหรัฐอเมริกา

1 มกราคม พ.ศ. 2491 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามโรงเรียนนายร้อยแทนชื่อเดิมว่า โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 มีพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จการศึกษา
จากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ให้ได้วิทยฐานะวิทยาศาสตรบัณฑิต
ใช้อักษรย่อว่า วทบ. (ทบ.) โดยมีหลักสูตรการศึกษา ดังนี้

  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
    • วิศวกรรมเครื่องกล
    • วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
    • วิศวกรรมโยธา
    • วิศวกรรมแผนที่
  • วิทยาศาสตรบัณฑิต
    • วิทยาการคอมพิวเตอร์
    • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ศิลปศาสตรบัณฑิต
    • สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา

ต่อมาโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ณ ถนนราชดำเนินนอกอยู่ในสภาพแออัด
ด้วยมีจำนวนนักเรียนนายร้อยเพิ่มขึ้น สถานที่ฝึกศึกษา เล่นกีฬา และสถานที่พักผ่อนไม่เพียงพอ
ขาดสภาพสิ่งแวดล้อมสำหรับการเป็นโรงเรียนนายร้อยหลักของประเทศ
ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
จึงมีพระราชดำริให้โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า มีสถานที่ตั้งแห่งใหม่ ณ บริเวณเขาชะโงก
อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก
โรงเรียนนายร้อยแห่งนี้ได้กระทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2524
โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
และพลเอกหญิง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 
(ขณะดำรงพระยศพันเอก) ได้เสด็จฯ มากระทำพิธี

โรงเรียนนายร้อย จปร. (nakhonnayok.go.th

30 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ข้าราชการ ลูกจ้าง นักเรียนนายร้อย พร้อมด้วยศิษย์เก่า
ได้พร้อมใจกันเดินเท้าออกจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าสถานที่ตั้งเดิม
เข้าสู่สถานที่ตั้งแห่งใหม่ โดยมีพลเอกหญิง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธาน
ในการนำกำลังพลเข้าสู่สถานที่ตั้งแห่งใหม่ด้วยความเรียบร้อยพร้อมเพรียงกัน

5 สิงหาคม พ.ศ. 2529
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก
ถือเป็นการเปิดโรงเรียนนายร้อยแห่งใหม่อย่างเป็นทางการ และได้ดำเนินการสอนมาจนถึงปัจจุบัน

ข้อมูลจาก
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)
“โรงเรียนทหารสราญรมย์” จากมหาดเล็กไล่กา สู่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (silpa-mag.com)
http://www2.crma.ac.th/crmaoldpic

http://www.crma.ac.th/crmahistory

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: