Connect with us

On this day

๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๐ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

Published

on

ภาพจาก พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

เป็นพระราชพิธี ที่รัฐบาลไทยจัดขึ้นเพื่อแสดงความอาลัยต่อการเสด็จสวรรคตของ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จัดขึ้น ณ พระเมรุมาศ 
มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ ๒๕ – ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นวันถวายพระเพลิง 
คณะรัฐมนตรีกำหนดให้วันดังกล่าว เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ

โดยการดำเนินการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ นั้น คณะทำงานทุกฝ่าย
ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างพระเมรุมาศและอาคารประกอบ
เช่น พระที่นั่งทรงธรรม ศาลาลูกขุน เป็นต้น

ส่วนการบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถ ราชยาน และเครื่องประกอบพระราชพิธีนั้น
ได้มีการซ่อมแซมพระมหาพิชัยราชรถ พระยานมาศสามลำคาน ราชรถน้อย และพระที่นั่งราเชนทรยาน
เพื่อให้พร้อมใช้ในพิธีจริง นอกจากนี้ยังมีการจัดสร้างราชรถ ราชยานขึ้นมาใหม่
คือ ราชรถปืนใหญ่และพระที่นั่งราเชนทรยานน้อย 
รวมทั้งประติมากรรมประกอบพระเมรุมาศในพระราชพิธีครั้งนี้ได้มีการปรับปรุงให้มีความร่วมสมัย
โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (พระนามาภิไธยในขณะนั้น)
ทรงเป็นองค์วินิจฉัยในการจัดสร้างพระเมรุมาศ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานอำนวยการพระราชพิธี

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ
เริ่มเตรียมการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เรื่อยมา
สรุปลำดับการเตรียมงานได้ดังนี้

พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชขณะดำเนินการก่อสร้าง
ภาพจาก พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

การเตรียมงานในปี ๒๕๕๙

  • ๓ พฤศจิกายน ปรับพื้นที่บริเวณท้องสนามหลวงให้รองรับการจัดพระราชพิธี
  • ๑๔ พฤศจิกายน บวงสรวงตัดไม้จันทน์หอม
  • ๑๙ ธันวาคม บวงสรวงพระมหาพิชัยราชรถ
  • ๒๐ ธันวาคม ช่างสิบหมู่รับมอบไม้จันทน์หอม
  • ๒๖ ธันวาคม พิธีปักหมุดก่อสร้างพระเมรุมาศ

    การเตรียมงานในปี ๒๕๖๐
  • 27 กุมภาพันธ์ พิธีบวงสรวงยกเสาเอกเพื่อเริ่มการก่อสร้างพระเมรุมาศ
  • ๑ มีนาคม ประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ ครั้งแรก ในการนี้
    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (พระอิสริยศักดิ์ในขณะนั้น)
    เสด็จฯ มาทรงร่วมการประชุมด้วย
  • ๒๔ มีนาคม บวงสรวงราชรถปืนใหญ่
  • ๑ พฤษภาคม ส่งมอบราชรถปืนใหญ่ให้กรมศิลปากร
  • ๕ พฤษภาคม กรมศิลปากรเคลื่อนย้ายราชรถปืนใหญ่ไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร 
    เพื่อดำเนินการตกแต่งให้สมพระเกียรติ
  • ๒๖ มิถุนายน ประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ ครั้งที่ ๒
  • ๖ กรกฎาคม ติดตั้งกล้องและเครื่องเสียงในการถ่ายทอดสดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
  • ๒๑ กันยายน บวงสรวงการอัญเชิญราชรถและพระยานมาศ
  • ๒ ตุลาคม พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี ตรวจความคืบหน้า
    การจัดสร้างพระเมรุมาศและสิ่งปลูกสร้างประกอบ
  • ๔ ตุลาคม มีการเปิดเผยว่าพระเมรุมาศจะเสร็จสิ้นการก่อสร้างในวันที่ ๑๐ ตุลาคม
  • ๑๑ ตุลาคม คณะทูตานุทูตจาก ๖๕ ประเทศเข้าเยี่ยมชมการก่อสร้างพระเมรุมาศและราชรถ
  • ๑๒ ตุลาคม ซ้อมยกนพปฎลมหาเศวตฉัตรประดับยอดพระเมรุมาศครั้งแรก
  • ๑๓ ตุลาคม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทอดพระเนตร
    ความคืบหน้าในการจัดสร้างพระเมรุมาศและสิ่งปลูกสร้างประกอบเป็นการส่วนพระองค์
  • ๑๖ ตุลาคม พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร เปิดเผยว่าการก่อสร้างพระเมรุมาศเสร็จสมบูรณ์แล้ว
  • ๑๗ ตุลาคม ซ้อมยกนพปฎลมหาเศวตฉัตรประดับยอดพระเมรุมาศครั้งที่ ๒
  • ๑๘ ตุลาคม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร 
    (พระปรมาภิไธยในขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินมาทรงยก นพปฎลมหาเศวตฉัตร
    ประดับยอดพระเมรุมาศ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง 
    เป็นอันเสร็จสิ้นการก่อสร้างพระเมรุมาศอย่างสมบูรณ์และเป็นทางการ

โดยคณะรัฐมนตรี ได้รับทราบมติที่คณะอนุกรรมการฯ ฝ่ายจัดการพระราชพิธีฯ
กำหนดวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในระหว่างวันที่ ๒๕ – ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
พร้อมทั้งพิจารณาหมายกำหนดการพระราชพิธีฯ และกำหนดจำนวนริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ
ไว้เป็นที่เรียบร้อย โดยมีพระราชพิธีสำคัญ ได้แก่
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ในวันที่ ๒๕ ตุลาคม,

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
เสด็จขึ้นไปถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พระราชพิธีทางการ)
ภาพจาก พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

พระราชพิธีเชิญพระบรมโกศออกพระเมรุมาศ และถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในวันที่ ๒๖ ตุลาคม

ริ้วขบวนอัญเชิญพระโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เลียบพระบรมมหาราชวังไปยังหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ภาพจาก พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

ซึ่งคณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษด้วย,
พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิและเชิญพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคาร
กลับเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง ในวันที่ ๒๗ ตุลาคม,

ริ้วขบวนอัญเชิญพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เคลื่อนจากมณฑลพิธีท้องสนามหลวง เข้าสู่พระบรมมหาราชวัง
ภาพจาก พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมอัฐิ ในวันที่ ๒๘ ตุลาคม,

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรทรงเก็บพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ภาพจาก พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

พระราชพิธีเลี้ยงพระ และเชิญพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท 
และพระราชพิธีบรรจุพระบรมราชสรีรางคาร ในวันที่ ๒๙ ตุลาคม

ริ้วขบวนเชิญพระโกศพระบรมอัฐิโดยพระที่นั่งราเชนทรยานไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
ภาพจาก พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

ข้อมูลจาก
พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)
Death and funeral of Bhumibol Adulyadej – Wikipedia

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: