อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์(Albert Einstein) (14 มีนาคม ค.ศ. 1879 – 18 เมษายน ค.ศ. 1955)
นักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวเยอรมัน ซึ่งได้รับการยอมรับว่า เป็นหนึ่งในนักฟิสิกส์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล
ไอน์สไตน์ โด่งดังมาจากการพัฒนา ทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนสำคัญในการพัฒนาทฤษฎี
กลศาสตร์ควอนตัม ซึ่งทฤษฎีสัมพัทธภาพและทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม
เป็นสองเสาหลักของฟิสิกส์ยุคใหม่
สูตรความสมมูล มวล–พลังงาน ของไอน์สไตน์ E = mc2 ซึ่งมีที่มาจากทฤษฎีสัมพัทธภาพ
E = mc2 ได้รับการขนานนามว่า เป็น “สมการที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก”
ผลงานของไอน์สไตน์มีอิทธิพลต่อปรัชญาทางวิทยาศาสตร์ ในวงกว้าง
เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1921
ด้วยคำประกาศเกียรติคุณว่า “สำหรับผลงานด้านฟิสิกส์ทฤษฏี”
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้นพบปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก
ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม
ในปี ค.ศ. 1905 ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นปีมหัศจรรย์(annus mirabilis) ของไอน์สไตน์
เนื่องจากไอน์สไตน์ได้ตีพิมพ์บทความ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ครั้งใหม่ถึง สี่ฉบับ ได้แก่
– ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก
– อธิบายถึงการเคลื่อนที่แบบบราวน์
– การนำเสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ และ
– อธิบายถึงความสมมูลระหว่าง มวล–พลังงาน
ไอน์สไตน์ เกิดในจักรวรรดิเยอรมัน แต่ย้ายไปอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 1895
โดยได้ละทิ้งสัญชาติเยอรมัน (เป็นเรื่องของราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์ค)
ในปี ค.ศ. 1897 เมื่อมีอายุได้ 17 ปี เขาได้สมัครเรียนหลักสูตรการสอนคณิตศาสตร์และฟิสิกส์
ระดับอนุปริญญาที่โรงเรียนสารพัดช่างแห่งสหพันธรัฐสวิสเซอร์แลนด์ในเมืองซูริก
และจบการศึกษาในปี ค.ศ. 1900
ในปี ค.ศ. 1901 ไอน์สไตน์ได้รับสัญชาติสวิส
ในปี ค.ศ. 1903 เข้าทำงานที่สำนักงานสิทธิบัตรสวิสในกรุงเบิร์น
ในปี ค.ศ. 1905 ได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยซูริก
ในปี ค.ศ. 1914 ไอน์สไตน์ได้ย้ายไปยังกรุงเบอร์ลินตามคำสั่งในการเข้าร่วมกับสถาบันวิทยาศาสตร์
แห่งปรัสเซียและมหาวิทยาลัยฮุมบ็อลท์แห่งเบอร์ลิน
ในปี ค.ศ. 1917 ไอน์สไตน์ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสถาบันฟิสิกส์ไคเซอร์วิลเฮล์ม
ไอน์สไตน์ได้กลับมาถือสัญชาติเยอรมันอีกครั้ง
ในปี ค.ศ. 1933 ในขณะที่ไอน์สไตน์ได้ไปเยือนที่สหรัฐอเมริกา อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ก็ก้าวขึ้นสู่อำนาจ
ทำให้ไอน์สไตน์ไม่ได้เดินทางกลับเยอรมัน เพราะเขาค้ดค้านนโยบายของรัฐบาลที่นำโดยนาซี
จึงได้ตั้งรกรากในสหรัฐอเมริกาและกลายเป็นพลเมืองชาวอเมริกันในปี ค.ศ. 1940
ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้เขียนจดหมายไปถึงประธานาธิบดีสหรัฐแฟรงคลิ้น ดี. โรสเวลต์
เพื่อย้ำเตือนถึงโครงการอาวุธนิวเคลียร์ของเยอรมันที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และแนะนำให้สหรัฐ
เริ่มทำการวิจัยโครงการแบบเดียวกัน ไอน์สไตน์ให้การสนับสนุนแก่ฝ่ายสัมพันธมิตร
และประณามแนวคิดเรื่องการใช้นิวเคลียร์เป็นอาวุธ
You must be logged in to post a comment Login