Connect with us

Culture & Art

เจ้าที่ และ พระภูมิ แตกต่างกันอย่างไร

Published

on

โดย ภูมิ จิระเดชวงศ์

หากกล่าวถึงหนึ่งในความเชื่อของชาวไทย โดยพื้นฐานแล้ว ย่อมมีเรื่องพระภูมิเจ้าที่อย่างแน่นอน แต่พระภูมิและเจ้าที่นั้น ไม่ใช่ดวงจิตตนเดียวกัน เพราะมีหลาย ๆ ท่านเข้าใจว่า พระภูมิก็คือเจ้าที่ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

พระภูมิ คือ พระราชโอรสของเจ้ากรุงพาลี ที่ปกครองใต้บาดาล พระภูมิตามตำนานไทยมีทั้งหมด ๙ พระองค์ คือ พระชัยมงคล , พระนครราช , พระชัยศรพณ์ , พระเทเพน , พระคนธรรพ์ , พระธรรมโหรา , พระธรรมิกราช , พระทาสธารา และ พระเทวเถรวัยทัต ทั้ง ๙ พระองค์นั้นจะปกครองพื้นที่ต่างๆ ตั้งแต่ในเมือง ไปจนถึงป่าเขา และชายทะเลมหาสมุทร คอยตรวจตรา และคุ้มครองรักษามนุษย์ที่บูชา ตามคติความเชื่อทางไสยเวท พระภูมิ เป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ประเภทภุมมัฎฐะเทวดา หรือ เทวดาที่อยู่บนพื้นดิน การที่ตั้งศาลพระภูมิ คือการเชื้อเชิญเทวดาที่เป็นพระโอรสของเจ้ากรุงพลี เข้ามาประทับในเคหะสถานของเรา

เจ้าที่ คือ ดวงวิญญาณที่เป็นใหญ่อยู่ในพื้นที่นั้นๆ ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเจ้าที่จะต้องเป็นเทวดาเสมอไป อาจเป็นดวงวิญญาณเจ้าของที่แต่เดิม เป็นรุกขเทวดา เป็นมหิทธิกาบางจำพวก หรือแม้แต่ดวงจิตอันมีฤทธิ์ที่เป็นเดรัจฉาน ถ้ามีกำลังมากพอ ก็สามารถเป็นเจ้าที่ได้ คำว่าเจ้าที่ จะใช้กับพื้นดิน พื้นราบ หรือเคหะสถานต่างๆ ที่มีมนุษย์อยู่อาศัย

นอกจากเจ้าที่แล้ว ยังมีเจ้าประจำสถานที่ต่างๆ อันเป็นที่ตามธรรมชาติ เช่น เจ้าป่า เจ้าเขา เจ้าทุ่ง เจ้าท่า เจ้าถ้ำ เจ้าผา เจ้าอ่าว เจ้าทะเล เป็นต้น ซึ่งเจ้าในแต่ละสถานที่ มักจะนิยมทำศาลบูชา เป็นศาล ๔ เสา สูงไม่เกินหน้าอก หรือไม่ก็ทำเป็นอาคาร สำหรับให้เจ้าเหล่านั้นอยู่อาศัย

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: