Connect with us

News

ทำความรู้จัก DEAL โครงการติดตามเเละวิเคราะห์กระบวนการเลือกตั้งใน Social Media

Published

on

Digital Election Analytic Lab (DEAL) หรือ โครงการติดตามเเละวิเคราะห์กระบวนการเลือกตั้งในโซเชียลมีเดีย เป็นกระบวนการสืบเนื่องที่พัฒนามาจากหลักการและกรอบแนวคิดของจรรยาบรรณการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 ด้านการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างมีความรับผิดชอบ ลงนามร่วมกันโดยพรรคการเมืองจำนวน 30 พรรค

วัตถุประสงค์ ของ DEAL

เพื่อติดตามว่าพรรคการเมืองและผู้ลงรับสมัครเลือกตั้งปฏิบัติตามกรอบแนวคิดจรรยาบรรณฯ มากน้อยเพียงใด อีกทั้งยังเฝ้าระวังปฏิบัติการในโซเซียลมีเดียช่วงเลือกตั้งที่ตัวแสดงอื่น ๆ อาจกระทำการที่จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของโซเซียลมีเดีย และผลกระทบต่อความเห็นสาธารณะ รวมถึงพฤติกรรมการลงคะแนนของผู้มีสิทธิ์ออกเสียง ที่จะกระทบต่อกระบวนการเลือกตั้ง ความชอบธรรมของผลของการลงคะแนน ตลอดจนผลกระทบต่อบรรยากาศทางการเมืองโดยรวม และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการปลุกระดมรูปแบบต่างๆ ที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงในโลกออฟไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการเลือกตั้ง

DEAL เกิดจากการรวมตัวแบบเฉพาะกิจของเครือข่ายภาคประชาสังคม นำโดย WeWatch, Monitoring Centre on Organised Violence Events (MOVE), คณาจารย์และนักวิจัยด้านสังคมศาสตร์และสื่อดิจิทัล ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ และประชาชนอาสาสมัคร ที่เห็นพ้องกันถึงความสำคัญของพื้นที่กลาง พื้นที่การสื่อสารและการถกแถลงทางการเมืองที่ปลอดภัย สร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบ และให้ความสำคัญต่อการเลือกตั้งในฐานะของกระบวนการที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองและการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยที่ปราศจากความรุนแรง โดยโครงการฯ จะดำเนินงานในช่วงเดือนเมษายน ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566

How do we do it?

  • ประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) ระหว่างวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยมีกระบวนการทำงานเป็นแบบ  “Human-led & Tech-Enabled” ในลักษณะ Iterative Interval
  • เก็บข้อมูลโซเชียลมีเดียด้วย Facebook CrowdTangle และ Twitter API จากบัญชีโซเซียลมีเดียที่เป็นทางการของพรรคการเมือง จำนวน 67 พรรค ผู้ลงรับสมัครเลือกตั้งทั้งแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรค จำนวน 6,324  คน บุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี (แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี) จำนวน 62 คน
  • ติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการ “Actor-over-Time-based Approach” แบ่งการวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 2 ส่วน
  • การวิเคราะห์พฤติกรรมและกลวิธี

วิเคราะห์ลักษณะพฤติกรรมของบัญชีโดยการใช้ชุดเครื่องมือเเละเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ได้แก่ Social Network Analysis, Network Centrality และ Topic Modelling 

  • การวิเคราะห์เนื้อหา 

วิเคราะห์เนื้อหาด้วยกระบวนการวิเคราะห์แก่นสาร (Thematic analysis) ที่พัฒนากรอบการวิเคราะห์บนพื้นฐานของพฤติกรรมและกลวิธีการสื่อสารทางสื่อสังคมออนไลน์ที่เป็นอันตราย อันสอดคล้องกับจรรยาบรรณการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการหาเสียงเลือกตั้งอย่างมีความรับผิดชอบ

Disclaimer

ข้อจำกัดด้านการเข้าถึงทรัพยากรข้อมูล

ด้วยความแตกต่างของนโยบายด้านการอนุมัติระดับการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกของแต่ละแพลตฟอร์มทำให้สามารถเข้าถึงและเก็บข้อมูลได้เพียงแค่ Facebook และ Twitter เท่านั้น ทั้งนี้ ใน Facebook อนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลแค่เฉพาะโพสต์ต้นฉบับของบัญชีที่ตั้งค่าเป็นสาธารณะเท่านั้น

อคติที่อาจจะเกิดจากการตีความ

  • รายงานฉบับนี้มีส่วนที่นำเสนอข้อมูลที่ผ่านการตีความโดยทีมวิจัย โดยได้พยายามวิเคราะห์ข้อมูลบนหลักการที่ต้องการให้พื้นที่การหาเสียงในโซเชียลมีเดีย สอดคล้องกับระเบียบกติกาการเลือกตั้ง และไม่มีเจตนาของการเป็นกลไกการจับผิด
  • การวิเคราะห์เเละตีความ เป็นเพียงการวิเคราะห์เเละตั้งคำถามภายใต้กรอบเวลาหนึ่งๆ เท่านั้น เเละยังไม่ถือเป็นการสรุปผลที่เเล้วเสร็จ

การนำเสนอข้อมูล

สี ตัวย่อ ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏในอินโฟกราฟิก ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องหรือสามารถอนุมานไปถึงสิ่งที่เป็นอัตลักษณ์ต่างๆ ของพรรคการเมืองต่าง ๆ 

Why did we anonymized them (…for now)?

  • ลดความสุ่มเสี่ยงต่อการถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในทางการเมือง ทั้งจาก กกต. พรรคการเมือง เเละกลุ่มผู้สนับสนุนของฝ่ายต่างๆ ในระหว่างที่กระบวนการเลือกตั้งยังดำเนินการไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ 
  • DEAL  อยากชวนสังคมตั้งคำถามและทำความเข้าใจกับที่มาที่ไปของเนื้อหาการเมืองที่เราได้รับผ่านโซเชียลมีเดีย
  • DEAL หวังว่า เราจะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมออกแบบพื้นที่การสื่อสารทางการเมืองเเละให้พื้นที่โซเชียลมีเดียเป็นพื้นที่การสื่อสารที่ปลอดภัย สร้างสรรค์ เเละไม่เป็นตัวเร่งความขัดเเย้ง

ขอบคุณข้อมูลจาก : wewatchthailand

#MOVE #wewatch #DEAL #DigitalElectionAnalyticLab

#เลือกตั้ง #เลือกตั้ง66 #จับตาเลือกตั้ง

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: