Connect with us

Health

สาธารณสุข เผย ข้อมูลเรื่องความรุนแรงและ อาการข้างเคียง หลังฉีดวัคซีน ไฟเซอร์ ​

Published

on

โดยอาการรุนแรงที่พบหลังรับวัคซีน​คือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และกลุ่มอาการอักเสบ
หลายระบบในเด็ก (MIS-C) หรือ อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

ราย​งานจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยข้อมูลเรื่อง
ประสิทธิภาพของวัคซีนต้านโควิดของบริษัท ไฟเซอร์ โดยอ้างอิงข้อมูลจาก องค์การอนามัยโลก
ประจำประเทศไทย โดยระบุว่า วัคซีนไฟเซอร์ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
ในการป้องกันการป่วยหนักและการเสียชีวิต ในเด็กอายุ 5 ปีขึ้นไป ส่วนอาการข้างเคียง
หลังได้รับวัคซีน เกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่โดยทั่วไป จะมีอาการเพียงเล็กน้อยและหายได้เอง

ส่วนอาการรุนแรง ที่พบหลังรับวัคซีน ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และ กลุ่มอาการ
อักเสบหลายระบบในเด็ก(MIS-C) หรือ อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นอาการที่พบได้ยาก
และมีสาเหตุหลายประการ ส่วนใหญ่เกิดในทารก วัยรุ่น หรือวัยหนุ่มสาว และหายได้เอง
แต่ก็มีบ้างในบางคน ที่อาจมีอาการป่วยหนักและต้องเข้ารับการรักษาตามกระบวนการ

การวิจัยในอเมริกาพบว่า หลังจากฉีดวัคซีนไฟเซอร์จำนวน 8.7 ล้านเข็ม ให้เด็กอายุ 5-11 ปี
มีผู้ป่วยเป็นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเพียง 11 ราย คิดเป็น 0.00013% หรือ 1.3 ราย
ต่อการฉีดวัคซีน 1 ล้านเข็ม และ โดยทั่วไป พบในบุคคลเพศชายอายุ 12-24 ปี
ส่วนอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ที่เกิดในเด็กอายุ 5-11 ปีหลังรับวัคซีน
พบได้ยากมาก ในทางตรงข้าม มีแนวโน้มว่าอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
จะเกิดในผู้ที่ติดเชื้อโควิด 19 มากกว่าในผู้ที่รับวัคซีนต้านโควิด 19

งานวิจัยระบุว่า เด็กชาย อายุ 12 ปีขึ้นไป ที่ติดเชื้อโควิด มีโอกาสเป็น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
มากกว่าชายในกลุ่มอายุเดียวกัน ที่รับวัคซีนต้านโควิด 19 ถึง 6 เท่า

กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็ก (MIS-C) เป็นอาการใหม่ พบได้ยาก แต่รุนแรง
ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับทั้งการติดเชื้อโควิด 19 และการรับวัคซีนต้านโควิด 19
อาการ MIS-C ทำให้อวัยวะหลายส่วนของร่างกาย อักเสบ เช่น หัวใจ ปอด ไต
สมอง ผิวหนัง ดวงตา และ ช่องท้อง

ผู้ที่มีอาการ MIS-C เฉียบพลัน อาจต้องเข้ารับการรักษาในห้องไอซียู
อาการและสัญญาณของ MIS-C ได้แก่ มีไข้ (สูงกว่า 38 องศา) ร่วมกับอาการ
อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ได้แก่ ปวดท้อง เส้นเลือดฝอยในตาแตก ท้องร่วง
เวียนศีรษะ ผื่นขึ้น อาเจียน และ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิด MIS-C แต่ดูเหมือนว่าจะพบในเด็กอายุ 8-9 ปีมากที่สุด
แม้ว่าจะพบในทารก และคนวัยหนุ่มสาวด้วย
อาการ MIS-C สามารถรักษาได้ หากพบแพทย์อย่างทันท่วงที มียาที่ช่วยควบคุมการอักเสบ
และป้องกันไม่ให้อวัยวะเสียหาย เด็กส่วนใหญ่ หายเป็นปกติ

การวิจัยในฝรั่งเศส หลังจากฉีดวัคซีน mRNA 8 ล้านเข็มให้เด็กอายุ 12-17 กว่า 4 ล้านคน
พบผู้ป่วย MIS-C จำนวน 9 ราย โดย 8 รายเป็นชาย และ 3 รายต้องเข้าห้องไอซียู
แต่ทุกคนหายดีแล้ว

อัตราการพบโรค MIS-C ที่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีน คือ จะพบผู้ที่มีอาการ 1.1 ราย ต่อ
การฉีดวัคซีน 1 ล้านเข็ม ซึ่งต่ำกว่ามาก เมื่อเทียบกับอัตราการเกิด MIS-C ในเด็กอายุ 12-17 ปี
ที่ติดเชื้อโควิด ซึ่งมีข้อมูลว่า พบอยู่ที่ 113 รายต่อ 1 ล้านคน

ในการวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง พบว่าเด็กและวัยรุ่น ที่รับวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม
มีโอกาสการเกิด MIS-C ลดลง 91% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน

หลักฐานในปัจจุบัน ยืนยันประโยชน์ ของการฉีดวัคซีนโควิด 19
ในเด็กอายุ 5-11 ปี ว่ามีผลดีมากกว่าผลเสีย จากอาการข้างเคียงที่รุนแรง

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: