Connect with us

On this day

20 สิงหาคม พ.ศ. 2511 สหภาพโซเวียตและพันธมิตรสนธิสัญญาวอร์ซอ ส่งกำลังทหาร 200,000 นาย พร้อมรถถัง 5,000 คัน เข้าไปยัง เชโกสโลวาเกีย

Published

on

ภาพจาก https://twitter.com/beaver_ch5/status/1296249773368852480?s=20

ส่งผลให้การปฏิรูปประเทศและการเปิดเสรีในเชโกสโลวาเกียต้องหยุดชะงักลง
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเชโกสโลวาเกีย (KSČ) กลับมาแข็งแกร่งขึ้น

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง หลายๆประเทศในยุโรปตะวันออก
ต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลการปกครองในระบอบสังคมนิยมของสหภาพโซเวียตอย่างเต็มตัว

20 ปี ผ่านไป จนกระทั่งถึงในสมัยที่ นิกิต้า ครุสชอฟ (Nikita Khrushchev) ขึ้นเป็นผู้นําโซเวียต
ครุสชอฟ มีนโยบายที่จะปรับเปลี่ยนแนวคิดการปกครองที่เข้มงวดแบบสตาลิน (De-Stalinization)
โดยมีแนวคิดหลัก ในการปรับตัวมากขึ้น เพื่อให้อยู่ร่วมกับประเทศฝั่งตะวันตกอย่างยุโรปตะวันตก
และคู่อริอย่างสหรัฐอเมริกา ได้ง่ายมากขึ้น เรียกว่านโยบาย”อยู่รวมกันอย่างสันติ” (Peaceful-Coexistence)
ซึ่งครุสชอฟ ได้แถลงนโยบายนี้ในการประชุมสมัชชาคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 20 เมื่อปี ค.ศ. 1956
นโยบายนี้เริ่มด้วยการเปิดประเทศมากขึ้นและมีการมาเยือนของผู้นําระดับสูงจากชาติต่างๆ

นิกิต้า ครุสชอฟ (Nikita Khrushchev) ผู้นําสหภาพโซเวียต
Soviet Premier Nikita Khrushchev makes a point during a press conference at the National Press Club.
ภาพจาก The Night Nikita Khrushchev Gave Me My Nickname | Time Bettmann Archive/Getty Images

จากการพยายามผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างสองมหาอํานาจหรือที่เรียกขานว่า
“ช่วงผ่อนคลายความตึงเครียด” (Détente) ก่อให้เกิดการผ่อนคลายเรื่องความเข้มงวด
ของพรรคคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก ทําให้บางประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันออกเริ่มมีการประท้วง
เช่น ในโปแลนด์ และฮังการี ในปีค.ศ. 1956 และในช่วงเดียวกันนั้นก็ยังมีคงมีเหตุการณ์
ความตึงเครียดระหว่างโซเวียตและสหรัฐอเมริกา คือวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบาในปีค.ศ. 1962
รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างโซเวียตและจีนที่ย่ำแย่ลง เพราะเหมา เจ๋อตุง ผู้นําจีนในขณะนั้น
สนับสนุนแนวคิดทางการปกครองแบบ สตาลิน มากกว่า

จากสาเหตุดังกล่าวทําให้อิทธิพลของโซเวียตในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกเริ่มสั่นคลอนจนเกิด
การท้าทายอำนาจการปกครอง เริ่มมีความวุ่นวายทางการเมืองในยุโรปตะวันออก ทำให้สหภาพโซเวียต
ต้องแก้ไขสถานการณ์ ด้วยการใช้กําลังทหารในการแทรกแซงกิจการภายใน
เช่น เหตุการณ์การรุกรานสาธารณรัฐสังคมนิยม เชโกสโลวาเกีย ในปี ค.ศ. 1968

Alexander Dubček เลขาธิการใหญ่ พรรคคอมมิวนิสต์เชโกสโลวาเกีย
ภาพจาก On this Day, in 1968: the Prague Spring began with the election of Alexander Dubček – Kafkadesk

โดยก่อนหน้านั้น เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเชโกสโลวาเกีย ในเหตุการณ์ที่เรียกขานกันว่า
ฤดูใบไม้ผลิแห่งกรุงปราก (Prague Spring) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ
อเล็กซานเดอร์ ดูบเชก (Alexander Dubček) ผู้นำคอมมิวนิสต์หัวก้าวหน้าชาวเชโกสโลวาเกีย
ได้ขึ้นเป็นเลขาธิการใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์เชโกสโลวาเกีย ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1968
ดูบเชก ดําเนินนโยบายปฏิรูปประเทศให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น
การปฏิรูปของ ดูบเชก เป็นผลสืบเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจของประเทศที่อยู่ในสภาพทรุดโทรม
และรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์ก่อนหน้านั้น ปกครองประเทศอย่างเข้มงวด
โดยดําเนินนโยบายตามแนวทางของโซเวียตอย่างเคร่งครัด

PRAGUE, CZECH REPUBLIC – AUGUST 21: Czech youngsters holding a Czechoslovak flag stand atop an overturned truck as other Prague residents surround Soviet tanks in Prague on 21 August 1968 as the Soviet-led invasion by the Warsaw Pact armies crushed the so called Prague Spring reform in former Czechoslovakia.
(Photo credit should read LIBOR HAJSKY/AFP/Getty Images)

นอกจากนี้ ปัญหาความขัดแย่งระหว่างชนชาติชาวเช็กกับชาวสโลวัก ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น
เนื่องจากชาวสโลวัก ต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารปกครองประเทศ ก็ทําให้การ
เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลและการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพทางสังคมเกิดขึ้น อย่างต่อเนื่อง
แม้ ดูบเชก จะพยายามปฏิรูปประเทศอย่างค่อยเป็นค่อยไปและเน้นย้ําว่านโยบาย
ปฏิรูปของเขานั้นไม่ได้มีจุดมุ่งหมายจะล้มล้างระบอบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์

แต่บรรยากาศของการเรียกร้องเสรีภาพที่เกิดขึ้น ทําให้กลุ่มคอมมิวนิสต์หัวอนุรักษ์และหัวรุนแรงไม่พอใจ
และพยายามขัดขวาง ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงในเชโกสโลวาเกีย ก็ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหว
เพื่อสิทธิเสรีภาพในประเทศยุโรปตะวันออกอื่น ๆ โดยเฉพาะในโปแลนด์และเยอรมนีตะวันออก
ปัญญาชนในประเทศทั้งสองเริ่มออกมาเคลื่อนไหว เรียกร้องการปฏิรูปประเทศ
และเรียกร้องการมีเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดเห็น

ภาพจาก troops-Soviet-Prague-reform-movement-Spring.jpg (1600×1071) (britannica.com)

สถานการณ์ในขณะนั้น ทำให้สหภาพโซเวียตและประเทศพันธมิตรในสนธิสัญญาวอร์ซอ
ต้องใช้กำลังทหารเข้าควบคุมสถานการณ์ โดย ในคืนวันที่ 20-21 สิงหาคม ค.ศ. 1968
จึงเกิดปฏิบัติการทางทหารที่มีชื่อว่า ดานูบ (Operation Danube) มีการส่งกองกําลังทหาร
กว่า 350,000 นาย รถถังอีกกว่า 2,000 คัน จากประเทศสมาชิกองค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ
ซึ่งประกอบไปด้วย โซเวียต โปแลนด์ ฮังการี เยอรมนีตะวันออก และบัลแกเรีย
บุกข้ามพรมแดนเชโกสโลวะเกียทุกทิศทาง เพื่อปราบปรามประชาชนที่กําลังตื่นตัวกับการปฏิรูป
ทางการเมืองในเชโกสโลวาเกีย มีการปะทะกันระหว่างประชาชนชาวเชโกสโลวาเกียและกองกําลัง
ร่วมสนธิสัญญาวอร์ซอ ทําให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 100 คนและบาดเจ็บกว่า 800 คน

ประชาชนชาวเชโกสโลวาเกียกำลังเดินโบกธงชาติเชโกสโลวาเกีย ผ่านรถถังของสหภาพโซเวียตที่กำลังถูกไฟไหม้ในกรุงปราก
ภาพจาก 10 Soviet Invasion of Czechoslovakia – Flickr – The Central Intelligence Agency – การบุกครองเชโกสโลวาเกียของฝ่ายกติกาสัญญาวอร์ซอ – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)


ประธานาธิบดีของเชโกสโลวะเกีย ลุดวิก สวอบอดา (Ludvik Svoboda)
ประกาศห้ามไม่ให้มีการตอบโต้เพราะตระหนักว่าไม่สามารถต้านทานกำลังทหาร
ของกองทัพขององค์การสนธิสัญญาวอร์ซอได้ สวอบอดา รวมทั้ง ดูบเชิก และผู้นํา
เชโกสโลวาเกีย อีกหลายคน ถูกนําตัวไปยังกรุงมอสโกระหว่างวันที่ 23-27 สิงหาคม
ถูกบีบบังคับให้ยุติกระบวนการปฏิรูป หากไม่ปฏิบัติตามสหภาพโซเวียตจะใช้กําลังทหารเข้าควบคุม
ผนวกดินแดนของ เชโกสโลวาเกีย เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต

ภาพจาก In 1968, Warsaw Pact troops suppressed the Prague Spring | Europe | News and current affairs from around the continent | DW | 21.08.2018


ดูบเชกจึงต้องยอมปฏิบัติตามและประกาศยกเลิกนโยบายการปฏิรูป รวมทั้งต้องลงนาม
ใน ข้อตกลงมอสโก (Moscow Protocol) กับ สหภาพโซเวียตโดยมีเนื้อหาสําคัญ คือ
การให้กองกําลังร่วมองค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ ประจําการอยู่ในเชโกสโลวาเกียเป็นการชั่วคราว
จนกว่าเหตุการณ์ทางการเมืองจะกลับเป็นปกติ และต้องยอมอำนาจและหน้าที่ของโซเวียต
และประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมในเหตุการณ์นี้ ในการที่จะสามารถเข้าแทรกแซงทางทหารเพื่อปราบปราม
ศัตรูของระบอบสังคมนิยม รวมทั้งให้พรรคคอมมิวนิสต์กลับมามีบทบาทชี้นําและปกครองประเทศอีกครั้ง

ทหารจากกองกำลังร่วมสนธิสัญญาวอร์ซอ ถอนกำลังออกจากเชโกสโลวาเกีย เป็นชุดสุดท้าย ในปี 1991
Warsaw Pact troops invaded Czechoslovakia in August 1968; the last Soviet soldier left the country in 1991,
and the Pact was dissolved on July 1 that year | foto: © ČTK, Česká poziceZdroj 
ภาพจาก https://ceskapozice.lidovky.cz/tema/new-book-explores-russian-view-of-warsaw-pact-invasion-of-68.A110822_184431_pozice_33416

ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1969 กุสตาฟ ฮูซาก (Gustav Husak) ซึ่งได้รับการสนับสนุน
จากสหภาพโซเวียต ได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์แทน ดูบเชก ที่ถูกปลด
ฮูชาก จึงหันกลับไปใช้นโยบายทางสังคมและการเมืองที่เรียกว่า การคืนสู่ภาวะปรกติ(Normalization)
เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกับสหภาพโซเวียต และการดําเนินตามนโยบายการปกครองของสหภาพโซเวียต
เหมือนเดิมก่อนเหตุการณ์ ปรากสปริง (Prague Spring)

ข้อมูลจาก
https://twitter.com/beaver_ch5/status/1296249773368852480?s=20
การรุกรานสาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวักในปี ค.ศ.1968http://km-ir.arts.tu.ac.th/

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: