Connect with us

On this day

7 สิงหาคม 2503 สาธารณรัฐโกต ดิวัวร์ (ไอวอรี่ โคสต์) ประกาศเอกราช จากการเป็นประเทศในอาณานิคมของ ฝรั่งเศส

Published

on

โกตดิวัวร์ (Côte d’Ivoire ) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ไอวอรี โคสต์ (Ivory Coast)
มีชื่อเป็นทางการว่า สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ (République de Côte d’Ivoire)
เป็นประเทศในทวีปแอฟริกา ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่บริเวณแอฟริกาตะวันตก 
ทิศตะวันตกติดกับประเทศกินีและประเทศไลบีเรีย 
ทิศเหนือติดกับประเทศมาลีและประเทศบูร์กินาฟาโซ ทิศตะวันออกติดกับประเทศกานา 
ส่วนทิศใต้เป็นอ่าวกินี หลังประกาศเอกราชประเทศก็พัฒนาประเทศอย่างรวดเร็ว
มีความเจริญรุ่งเรืองมากแห่งหนึ่งของแอฟริกา แต่หลังจากต้องเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจ
ปัญหาสงครามกลางเมืองและการคอร์รัปชั่น ทำให้ประเทศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย และตกต่ำ

เครื่องใช้ทำจากหินขัด ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จากเมือง บุนเดียลี ทางตอนเหนือของไอวอรี่โคสต์
สมบัติของพิพิธภัณฑ์ศิลปะแอฟริกัน IFAN ใน ดาการ์ เซเนกัล ภาพจาก Cistones – Ivory Coast – Wikipedia

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า มีผู้คนอาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา
มาแล้วอย่างน้อย 15,000 ปีก่อนคริสตกาล
โลกรับรู้การมีอยู่ของแอฟริกา จากการเดินทางค้าขายมาตั้งแต่ยุคโรมัน
ผ่านเส้นทางที่เรียกว่า เส้นทางการค้าซาฮาร่า ทำการค้า เกลือ ทองคำ ทาส
ระหว่างดินแดนชายฝั่งติดทะเล และอาณาจักรต่างๆที่มีดินแดนอยู่รอบๆ ทะเลทรายซาฮาร่า
ยุคที่การค้ารุ่งเรือง ก็เป็นช่วงที่พ่อค้าจากอาหรับและเปอร์เซีย เข้ามาทำการค้าขาย
พร้อมกับนำศาสนาอิสลามมาเผยแพร่ ความนิยมศรัทธา เจริญรุ่งเรืองจนศานาอิสลาม
กลายเป็นศาสนาหลักของผู้คนในแถบนี้ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ดินแดนในประเทศซูดานปัจจุบัน

มัสยึดของชุมชนผู้นับถือศาสนาอิสลามในอาณาจักร คอง ช่วงปี พ.ศ.2435
ภาพจาก คอง ไอวอรี่โคสต์ ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและประวัติศาสตร์ (hmong.in.th)
มัสยิดโบโบ ดีอูลาสโซ (Bobo Dioulasso) ตั้งอยู่ในประเทศบูร์กินาฟาโซทางแอฟริกาตะวันตก
ภาพจาก โบโบ ดีอูลาสโซ Bobo Dioulasso มัสยิดสุดแปลกแห่งแอฟริกา (thaiza.com)

ในยุครุ่งเรืองของแอฟริกา กลุ่มชาติพันธุ์หลายๆกลุ่ม ผลัดกันขึ้นมาอิทธิพลและบทบาท
ในการปกครองดินแดน มีการสถาปนา อาณาจักรของตนเอง ตามวาระของการครองอำนาจ
จนกระทั่งการมาถึงของ ฝรั่งผิวขาว จากตะวันตก สมดุลของการปกครองในภูมิภาคก็เปลี่ยนไป
ด้วยผลประโชน์จากการค้าขาย ทำให้กลุ่มพ่อค้าจากชาติตะวันตกอย่างโปรตุเกศและฝรั่งเศส
เข้ามามีบทบาททั้งในเรื่องผลประโยชน์จากการค้าขาย และจากการปกครองของคนฟื้นเมือง

ภาพเขตการปกครองของอาณาจักรต่างในแอฟริกา ก่อนการเข้ามาของฝรั่งชาติตะวันตก
ภาพจาก Royaumes ci – Ivory Coast – Wikipedia

ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 ในเวลานั้นเป็นยุครุ่งเรืองของกองเรือจากโปรตุเกสและฝรั่งเศส
เรือของนักสำรวจ และกลุ่มพ่อค้า จากยุโรป ได้เดินทางมาถึงทวีปแอฟริกาตะวันตก
ฝรั่งตะวันตก ไม่รู้จักดินแดนที่ตัวเองเพิ่งค้นพบจึงเรียกขานชื่อ ตามกิจธุระ หน้าที่ของตัวเอง
เช่น ไอวอรี่ โคสต์ หรือ ชายฝั่งงาช้าง ซึ่งในปัจจุบันคือประเทศ โกต ดิวัวร์
สะท้อนให้เห็นว่า เมืองท่าในบริเวณนี้ใช้เพื่อติดต่อค้าขาย งาช้าง เป็นสินค้าหลัก
นอกจากนี้ยังมี ชายฝั่งข้าว ซึ่งหมายถึงประเทศ ไลบีเรีย ในปัจจุบัน
ซึ่งเดิมเป็นแหล่ง ขายข้าว สำคัญของยุโรปชายฝั่งทอง หมายถึงประเทศ กานา
และ ชายฝั่งทาส ซึ่งเป็นอาณาเขตบริเวณในประเทศ โตโก เบนิน และ ไนจีเรีย ในปัจจุบัน

ลักษณะของผู้คนและเครื่องแต่งกาย ของชาวฟื้นเมืองในอาณาจักร คอง ช่วง พ.ศ. 2435
ภาพจาก คอง ไอวอรี่โคสต์ ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและประวัติศาสตร์ (hmong.in.th)

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-18 ฝรั่งจากตะวันตก ทั้งจาก ฮอลันดา โปรตุเกส และ ฝรั่งเศส
เริ่มแบ่งเขตแดนในทวีปแอฟริกา เพื่อการเข้ามาติดต่อทำการค้า ด้วยผลประโยชน์ทางการค้าที่มากขึ้น
ทั้งจากเครื่องเทศ ข้าว ทองคำ สินค้าจากของป่า งาช้าง หนังสัตว์ พืชพันธุ์ ผลไม้
การค้นพบดินแดนใหม่ในทวีปอเมริกา ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16
ดึงดูดให้คนจากชาติตะวันตก เดินทางเข้าไปแสวงโชค และตั้งรกรากในดินแดนใหม่มากขึ้น
มีความต้องการแรงงานทาส เพื่อใช้งานในการกสิกรรม เพิ่มมากขึ้น
กลายเป็นผลประโยชน์ก้อนใหญ่ที่ทุกชาติปฏิเสธไม่ได้
จึงมีการลักพาตัวชาวแอฟริกา ขึ้นเรือไปขายเพื่อเป็นแรงงานทาสที่ดินแดนใหม่ อเมริกา มากขึ้นเป็นทวีคูณ

หลุยส์ กุสตาฟ บิงเยอร์ (Louis-Gustave Binger) ผู้ดูแลผลประโยชน์ในทวีปแอฟริกาตะวันตกของฝรั่งเศส
เดินทางมาถึง อาณาจักรภายใต้การปกครองของจักรวรรดิคอง (Kong) ในปี 1892
ภาพจาก Aouabou-Traité-1892 – Ivory Coast – Wikipedia

ในช่วง พ.ศ. 2377-2387 กลุ่มคนฟื้นเมืองในแถบชายฝั่ง ไอวอรี่ โคสต์ ได้ทำสนธิสัญญา
เป็นดินแดนในอารักขาของฝรั่งเศส เพื่อป้องกันการรุกรานจากฝรั่งตะวันตกชาติอื่นๆ
อย่าง โปรตุเกส อังกฤษ ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในการค้าทางทะเลมากขึ้นกว่าเดิม
ในปี พ.ศ. 2429 ฝรั่งเศสได้เข้าควบคุมจุดค้าขายริมชายฝั่งแอฟริกาตะวันตกโดยตรงอีกครั้ง
เพื่อสนับสนุนการอ้างสิทธิ์ในการยึดครองดินแดนแถบนี้ ทางการฝรั่งเศสจึงได้มอบหมายให้
ร้อยโทหลุยส์ กุสตาฟ บิงเกอร์ ได้เริ่มลงมือสำรวจดินแดนในครอบครองในปี พ.ศ. 2430
เดินทางโดยลัดเลาะไปตามส่วนต่างๆ ของ ไอวอรี่ โคสต์ ใช้เวลาสองปีก็เสร็จสิ้นการสำรวจ
หลังจากนั้น หลุยส์ กุสตาฟ บิงเกอร์ ได้สรุปเป็นสนธิสัญญา สี่ฉบับ
ในการจัดตั้งดินแดนในแถบ ไอวอรี่ โคสต์ ให้เป็น รัฐอารักขา ของฝรั่งเศส
โดยมี Marcel Treich-Laplène ตัวแทนของกลุ่มคนฟื้นเมืองในขณะนั้นเป็นผู้คนลงนาม
มีการเจรจาข้อตกลงเพิ่มเติมอีกห้าฉบับ ซึ่งเป็นการขยายอิทธิพลของฝรั่งเศสมากกว่าเดิม
จากบริเวณต้นน้ำของลุ่มน้ำไนเจอร์ไปจนตลอดชายฝั่งของไอวอรี่ โคสต์
ก่อนที่ต่อมาในปี 2436 โกต ดิวัวร์ ก็กลายเป็น อาณานิคม ของฝรั่งเศส เต็มตัว

หลุยส์ กุสตาฟ บิงเยอร์ (Louis-Gustave Binger) ผู้ดูแลผลประโยชน์ในแอฟริกาตะวันตกของฝรั่งเศส
ลงนามในสนธิสัญญากับ ผู้นำกลุ่มฟาเมียนโคร( Famienkro) ในภูมิภาค เอ็น ซี โคโมอ์ (N’zi-Comoé) ในปัจจุบัน
ภาพจาก Aouabou-Traité-1892 – Ivory Coast – Wikipedia

ต่อมา บิงเยอร์ ก็ได้รับแต่งตั้งให้ดูแลกิจการของฝรั่งเศสในแอฟริกาทั้งหมด
มีการทำข้อตกลงกับ ไลบีเรีย ในปี พ.ศ. 2435 สหราชอาณาจักร
มหาอำนาจทางทะเลหน้าใหม่ในยุคนั้น ก็รับรองข้อตกลงดังกล่าว
ในปี พ.ศ. 2436 มีการกำหนดเขตแดนตะวันออกและตะวันตกของอาณานิคม
ส่วนดินแดนทางเหนือยังไม่ได้รับการแก้ไข
จนถึงปี พ.ศ. 2490 รัฐบาลฝรั่งเศสพยายามเข้ายึดครองพื้นที่ตอนบนของโวลตา 
(บูร์กินาฟาโซในปัจจุบัน) และ ซูดานฝรั่งเศส(ประเทศ มาลี ในปัจจุบัน)
ให้มาขึ้นกับการปกครองของฝรั่งเศส ซึ่งตั้งอยู่ที่ ไอวอรี่โคสต์
ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจและการบริหาร

คนฟื้นเมืองท้องถิ่นของแอฟริกา แต่เดิมคิดว่า การติดต่อค้าขายกับฝรั่งจากชาติตะวันตก
จะนำมาซึ่งความมั่งคั่ง ผลประโยชน์แก่เผ่าพันธุ์ของตนเป็นสำคัญ
แต่กว่าจะรู้ตัว ก็พบว่าดินแดนและอธิปไตยของตน ตกไปอยู่ในมือของฝรั่งผิวขาวจากตะวันตก
ซึ่งดูดกลืน กอบโกย ทรัพยากรมีค่าของแผ่นดินแอฟริกากลับไปยังประเทศแม่ มากมายมหาศาล
กลุ่มคนฟื้นเมืองที่เข้มแข็งหลายๆกลุ่มจึงพยายาม ต่อต้านการปกครองจากฝรั่งตะวันตก

เฟลิกซ์ ฮูเฟต์ บัวนี่ย์ ผู้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของ โกต ดิวัวร์ หลังประกาศเอกราชจากฝรั่งเศส
ภาพจาก Félix Houphouet-Boigny ชีวิตในวัยเด็กและอาชีพทางการเมืองของฝรั่งเศส (hmong.in.th)

หลังจากความพยายามอยู่นาน โกต ดิวัวร์ ก็เป็นอิสระจากฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2503
โดยมี เฟลิกซ์ ฮูเฟต์ บัวนี่ย์ (Félix Houphouet-Boigny) ลูกชายของหัวหน้าเผ่า บูเล่ย์ (Baoulé)
ก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนแรกของ โกต ดิวัวร์ รัฐบาลของ เฟลิกซ์ ฮูเฟต์ บัวนี่ย์
ให้ความสำคัญกับราคาพืชผลทางการเกษตร จนทำให้ โกต ดิวัวร์
กลายเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรชั้นนำ โดยส่งออก กาแฟ สับปะรด ปาล์มน้ำมันและโกโก้ เป็นสินค้าหลัก
นำรายได้สู่ประเทศเป็นกอบเป็นกำ ทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้นตามลำดับ

ประธานาธิบดี เฟลิกซ์ ฮูเฟต์ บัวนี่ย์ และสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง Marie-Thérèse Houphouët-Boigny
เข้าพบกับประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคนเนดี้ และสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง แจ็กเกอลีน เคนเนดี้ ที่ทำเนียบขาว ในปี 1962
ภาพจาก ไอวอรี่โคสต์ นิรุกติศาสตร์และประวัติศาสตร์ (hmong.in.th)

หลังประกาศตนเป็นประเทศเอกราช โกต ดิวัวร์ กลายเป็นประเทศนึงแอฟริกาตะวันตก
ที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ 1960 และ 1970
แต่อย่างไรก็ตาม โกตดิวัวร์ ก็ได้เผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงทศวรรษ 1980
ซึ่งนำไปสู่ช่วงเวลาแห่งความวุ่นวายภายในประเทศ จากการแย่งชิงอำนาจทางการเมือง

ทหารติดอาวุธของ Ivorians และรถหุ้มเกราะ ในเขต French Foreign Legion ในสงครามกลางเมืองในช่วงปี 2004
ภาพจาก French Foreign Legion – Ivory Coast – Wikipedia
ที่พักพิงสำหรับผู้พลัดถิ่นภายในระหว่างสงครามกลางเมืองปี 2011
ภาพจาก ไอวอรี่โคสต์ นิรุกติศาสตร์และประวัติศาสตร์ (hmong.in.th)

สงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นหลายรอบ จากหลายๆกลุ่ม ทำให้ความเจริญของประเทศชะงักงัน
การแช่งชิงอำนาจทางการเมืองระหว่างกลุ่มต่างๆในประเทศ ทวีความรุนแรงขึ้น
กว่าจะมีข้อยุติ และบ้านเมืองกลับยืนสู่สภาวะปรกติอีกครั้ง ก็ต้องรอจนถึง
เดือนพฤศจิกายน 2020 ที่ผ่านมานี่เอง

นครอาบิดจอง เมืองที่ใหญ่ที่สุดของโกตดิวัวร์และเป็นเมืองหลวงหลักทางเศรษฐกิจ
ภาพจาก ไอวอรี่โคสต์ นิรุกติศาสตร์และประวัติศาสตร์ (hmong.in.th)

ข้อมูลจาก

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: