สำนักงานใหญ่สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐฯ อาคาร เจ. เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
ภาพจาก Fbi headquarters – Federal Bureau of Investigation – Wikipedia
ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันดีในนาม สำนักงานสอบสวนกลาง หรือ เอฟบีไอ (Federal Bureau of Investigation : FBI)
สำนักงานสอบสวนกลาง หรือ เอฟบีไอ เป็นหน่วยงานด้านข่าวกรองและความมั่นคงภายในของสหรัฐฯ
เป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในระดับกลาง ปฏิบัติหน้าที่ ภายในเขตอำนาจของกระทรวงยุติธรรม
เป็นสมาชิกของประชาคมข่าวกรองสหรัฐฯ ขึ้นตรงต่อ อัยการสูงสุด และ ผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ
อนึ่ง เอฟบีไอ ยังเป็นองค์การหลักของสหรัฐฯ ในการต่อต้านการก่อการร้าย การต่อต้านข่าวกรอง
และการสืบสวนอาชญากรรม ที่เกิดขึ้นภายในประเทศ โดยมีเขตอำนาจเหนือการละเมิดกฎหมาย
ในกลุ่มอาชญากรรมกลางกว่า 200 กลุ่ม
ในปี พ.ศ. 2439 สำนักงานระบุรูปพรรณอาชญากรแห่งชาติ
(National Burau of Criminal Identification ; NCBI) ได้ถูกก่อตั้งขี้น
มีหน้าที่รวบรวมข้อมูลเพื่อระบุตัวอาชญากรที่เป็นที่รู้จัก ให้แก่หน่วยงานทั่วประเทศ
จนกระทั่ง เมื่อมีเหตการณ์ลอบสังหารประธานาธิบดี วิลเลียม แมกคินลีย์ ในปี พ.ศ. 2444
ทำให้พวกเขาได้ตระหนักว่า อเมริกา ถูกคุกคามจาก กลุ่มผู้นิยมความรุนแรง
แม้กระทรวงยุติธรรมและกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ จะได้จัดเก็บข้อมูลของกลุ่มผู้นิยมความรุนแรง
มาเป็นปีๆแล้ว แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอในการสืบสวนคดี
ประธานาธิบดี ธีโอดอร์ รูสเวลต์ ต้องการขอบเขตอำนาจมากกว่าเดิม
ในการเฝ้าสังเกตการณ์พฤติกรรมของกลุ่มคนผู้นิยมความรุนแรง
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ในยุคนั้น ขาดแคลนบุคลากรในการปฏิบัติหน้าที่ในคดีสำคัญๆ
ประธานาธิบดีรูสเวลต์ จึงได้สั่งการให้อัยการสูงสุด ชาร์ลส์ โจเซฟ โบนาปาร์ต
จัดตั้งหน่วยงานราชการลับ เพื่อทำการสืบสวนโดยอิสระ โดยขึ้นตรงต่อสำนักงานอัยการสูงสุดเท่านั้น
เอฟบีไอ ได้ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2451 ในฐานะ สำนักงานสอบสวน (The Bureau of Investigation : BOI )
ก่อนที่ต่อมาจะเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานสอบสวนกลาง(Federal Bureau of Investigation : FBI ) ในปี 2478 สำนักงานใหญ่เอฟบีไอ ตั้งอยู่ที่อาคาร เจ. เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
ในช่วงแรกของการก่อตั้งหน่วยงาน รัฐสภาสหรัฐฯ ห้าม ไม่ให้กระทรวงยุติธรรม
ใช้บุคลากรจากกระทรวงการคลัง เนื่องจากเกรงว่าหน่วยงานใหม่จะกลายเป็น กรมตำรวจลับ ที่ควบคุมไม่ได้
อัยการสูงสุด โบนาปาร์ต จึงใช้วิธียืมตัวบุคลากร มาจากหน่วยงานอื่นๆ
รวมถึงหน่วยราชการลับ (U.S. Secret Service; USSS) ต่อมาภายหลัง จึงได้จัดตั้งเป็น สำนักงานสอบสวน
อย่างเป็นทางการ มีเจ้าหน้าสำหรับปฏิบัติภารกิจพิเศษ (Special Agents) เป็นของตนเอง
ภารกิจหลักของ เอฟบีไอ ในการสนับสนุนงานด้านความมั่นคงแห่งชาตินั้น เทียบได้กับบทบาทของหน่วยงานเอ็มไอไฟว์ (MI5) ของอังกฤษ และ เอฟเอสบี (FSB) ของรัสเซีย โดยจะทำงานคนละส่วนกับ
สำนักข่าวกรองกลาง(CIA) เพราะ ซีไอเอ ไม่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย เน้นการรวบรวมข่าวกรองจากต่างประเทศ
ขณะที่ เอฟบีไอเป็นหน่วยหลัก งานภายในประเทศ มีสำนักงานภาคสนาม (field office) 56 แห่ง
ในเมืองหลักๆทั่วสหรัฐฯ และสำนักงานประจำ (resident office) อีก 400 แห่งตามเมืองเล็กๆ
และท้องที่อื่นๆทั่วประเทศ เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโส สำนักงานภาคสนามจะทำหน้าที่เป็น
ผู้แทนผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ
แม้จะเน้นภารกิจภายในประเทศ เอฟบีไอ ก็มีเขตบริการระหว่างประเทศ (international footprint)
ที่สำคัญอยู่หนึ่งเขต ทำหน้าที่บริหารสำนักงานนิติกรทางการทูต (Legal Attache office) 60 แห่ง
กับสำนักงานย่อย (sub-office) อีก 15 แห่ง ซึ่งอยู่ในสถานทูตและกงสุลสหรัฐฯทั่วโลก
สำนักงานต่างแดนเหล่านี้ มีขึ้น เพื่อประสานงานกับหน่วยงานราชการด้านความมั่นคงในต่างประเทศเป็นหลัก
และโดยปรกติแล้ว จะไม่ปฏิบัติการฝ่ายเดียว ภายในประเทศที่ตั้งสำนักงาน
อนึ่ง เอฟบีไอ ยังสามารถดำเนินกิจกรรมลับในต่างประเทศ เป็นภารกิจแบบเดียวกับที่ ซีไอเอ
มีหน้าที่โดยจำกัดในประเทศ ซึ่งภารกิจดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐหลายหน่วยงาน
เจ เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ เป็นผู้อำนวยการคนสำคัญของ เอฟบีไอ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2467 ถึง 2515 การอยู่ในตำแหน่งอย่างยาวนาน ทำให้มีส่วนสำคัญต่อการการทำงานของ เอฟบีไอ มากมาย มีส่วนเกี่ยวข้องในคดีใหญ่ๆระดับชาติอีกหลายคดี บางคดีก็เป็นที่ กังขา ของสาธารณะชน ในเรื่องความโปร่งใส ในการใช้อำนาจในการสอบสวน
ฮูเวอร์ เป็นผู้ก่อตั้งห้องทดลองวิจัยเพื่อใช้พิสูจน์หลักฐาน สำหรับเอาผิดกับอาชญากร
ด้วยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ โดยอาศัยหลักฐานวัตถุและวิทยาการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือสำคัญ
ในยุคของฮูเวอร์ มีการใช้วิธีดักฟังโทรศัพท์ อย่างแพร่หลาย ในเพื่อรวบรวมหลักฐานในการสืบสวนคดี
ซึ่งในเวลานั้นถือว่า ไม่ผิดกฎหมาย ตราบใดที่ เจ้าหน้าที่เอฟบีไอ ไม่ได้บุกรุกบ้านของใครโดยไม่ได้รับอนุญาต
เพื่อทำการดักฟังโทรศัพท์
ต่อมาภายหลัง รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านรัฐบัญญัติการสื่อสารปี 2477 (Communications Act of 2477)
ซึ่งระบุให้การดักฟังโทรศัพท์โดยไม่ได้รับการยินยอมนั้น ผิดกฎหมาย
ความอื้อฉาวในการทำคดีสำคัญๆหลายคดี ในยุคของฮูเวอร์ ทำให้หลังจากที่ฮูเวอร์เสียชีวิตลง
รัฐสภาสหรัฐฯ จึงได้ผ่านกฎหมาย จำกัดเวลาดำรงตำแหน่งของผู้อำนวยการ เอฟบีไอ ให้เหลือเพียง 10 ปี
You must be logged in to post a comment Login