นับเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่สำหรับอุตสาหกรรมการบิน เป็นผลให้ในเวลาต่อมา ต้องยุติการใช้งานเครื่องบินคองคอร์ดในเชิงพานิชย์ทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2546
เครื่องบินคองคอร์ด (Concorde) เป็นเครื่องบินขนส่งเพื่อการพานิชย์แบบ ความเร็วเหนือเสียง
หนึ่งในสองแบบของเครื่องบินที่มีความเร็วเหนือเสียง สำหรับใช้เป็นเครื่องบินโดยสาร และนำมาให้บริการ
ในเชิงพาณิชย์ เครื่องบินคองคอร์ดต้นแบบเครื่องแรก ใช้เวลาศึกษาวิจัยเป็นเวลา 7 ปี
ก่อนที่จะทดลองทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2512 หลังจากนั้นก็ใช้เวลาทดสอบและพัฒนาอีก 4 ปี
โดยเครื่องบินคองคอร์ดลำแรกออกจากสายการผลิตและเริ่มบินทดสอบเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2516
รวมๆแล้วใช้เวลาตั้งแต่เริ่มโครงการ จนนำมาผลิตเพื่อใช้งานจริง มากกว่า 13 ปี
ใช้เงินในการพัฒนาไปกว่า 1,000 ล้านปอนด์
เครื่องบินคองคอร์ดมีความเร็วปกติ 2,158 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
เพดานบินสูงสุด 60,000 ฟุต (18.288กิโลเมตร) มีปีกสามเหลี่ยม
เครื่องบินคองคอร์ด ของบริติชแอร์เวย์ ภาพจาก British Airways Concorde G-BOAC 03 – Concorde – Wikipedia
การบินเชิงพาณิชย์ของคองคอร์ด ดำเนินการโดย บริติชแอร์เวย์ (British Airways) และ
แอร์ฟรานซ์ (Air France) โดยเริ่มต้นทำการบินครั้งแรก เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2519
และเที่ยวบินสุดท้าย ก่อนที่จะถูกยกเลิก เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2546
โดยปรกติ เที่ยวบิน ลอนดอน-นิวยอร์ก และ ปารีส-นิวยอร์ก ใช้เวลาเดินทางเฉลี่ยประมาณ 3 ชม.
เครื่องบินคองคอร์ด มีข้อจำกัดในการออกแบบด้านพลศาสตร์ โดยที่ส่วนหัวของเครื่องบินจะเชิดขึ้น
ส่งผลให้ทัศนวิสัยของนักบินไม่ดี ผู้ออกแบบได้แก้ไขโดยเพิ่มกลไกปรับส่วนหัวของเครื่องบิน ให้กดก้มต่ำลงมา เพื่อให้นักบินมองเห็นสนามบินขณะเครื่องบินขึ้น และลงจอด ขณะอยู่บนแทกซี่เวย์
ส่วนหัวของคองคอร์ดปรับทำมุมกดได้ 12.5 องศา
เครื่องบินคองคอร์ดถูกผลิตขึ้นมาทั้งสิ้น 20 ลำ เป็นเครื่องที่ใช้ในการพัฒนา 6 ลำ
ใช้งานเชิงพาณิชย์ 14 ลำ ประสบอุบัติเหตุตก 1 ลำ
เครื่องบินคองคอร์ดของสายการบินแอร์ฟรานซ์
ภาพจาก Air France Concorde Jonsson – Concorde – Wikipedia
ข้อมูลทางเทคนิคของเครื่องบินคองคอร์ด
- ผู้สร้าง: บริษัท บีเอซี/แอโรสปาติออง (อังกฤษ/ฝรั่งเศส)
- ประเภท: เครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียง ทำการบินด้วยนักบิน 3 คน
จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร 128 ที่นั่ง - เครื่องยนต์: เทอร์โบเจ๊ต รอลส์-รอยซ์/สเนคมา โอลิมปัส 593 หมายเลข 610
- กางปีก: 25.60 เมตร
- ยาว: 62.17 เมตร
- สูง: 12.19 เมตร
- พื้นที่ปีก: 358.25 ตารางเมตร
- น้ำหนักเปล่า: 78,700 กิโลกรัม
- น้ำหนักบรรทุกปกติ: 11,340 กิโลกรัม
- น้ำหนักบรรทุกสูงสุด: 12,700 กิโลกรัม
- น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด: 185,065 กิโลกรัม
- น้ำหนักร่อนลงสูงสุด: 111,130 กิโลกรัม
- อัตราเร็วเดินทางขั้นสูง: 2,180 กิโลเมตร/ชั่วโมง
- อัตราไต่ที่ระดับน้ำทะเล: 1,525 เมตร
- เพดานบินใช้งาน: 60,000 ฟุต
- อัตราเร็ววิ่งขึ้น: 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง
- อัตราเร็วร่อนลง: 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง
- ระยะทางวิ่งขึ้นพ้น 10.7 เมตร: 3,600 เมตร
- ระยะทางร่อนลงจาก 10.7 เมตร: 2,220 เมตร
- พิสัยบิน: 4,900 กิโลเมตร เมื่อมีสัมภารบรรทุกสูงสุด
- พิสัยบิน: 7,215 กิโลเมตร เมื่อบรรทุกเชื้อเพลิงสูงสุด
ภาพในห้องนักบิน เครื่องบินคงคอร์ด
ภาพจาก ConcordeCockpitSinsheim – Concorde – Wikipedia
สถิติการเกิดอุบัติเหตุตกเพียงครั้งเดียวของเครื่องบินคองคอร์ด คือ เที่ยวบิน 4590 ของแอร์ฟรานซ์
เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 หลังทะยานขึ้นจากท่าอากาศยานใกล้กรุงปารีส ทำให้มีผู้เสียชีวิต 113 คน
ผลการสอบสวนสรุปว่าสาเหตุการตก เนื่องมาจาก มีชิ้นส่วนโลหะที่หลุดออกมาจากเครื่องบินดีซี-10
ของสายการบิน คอนติเนนตัลแอร์ไลน์ ซึ่งทำการบินขึ้นก่อนไปหน้านั้น 4 นาที กระแทกกับยางล้อด้านซ้าย
ของเครื่องเที่ยวบิน 4590 ขณะกำลังเร่งเครื่องเพื่อบินขึ้น ยางล้อเกิดระเบิดและมีชิ้นส่วนของยาง
กระเด็นไปกระแทกถังน้ำมัน และสายไฟ ทำให้เกิดไฟลุกไหม้ขึ้น
ในขณะที่เจ้าหน้าที่หอบังคับการบินได้แจ้งนักบิน นักบินได้ตรวจสอบแล้วแจ้งว่า
เกิดปัญหากับเครื่องยนต์หมายเลข 1 อีก 4 วินาทีต่อมา นักบินได้แจ้งว่าเกิดปัญหากับเครื่องยนต์หมายเลข 2 ด้วย มีสัญญาณเตือนไฟไหม้ดังขึ้นในห้องนักบิน นักบินพยายามนำเครื่องร่อนลง ที่สนามบินใกล้เคียง
แต่เครื่องบินเสียการทรงตัว ดิ่งหัวลงสู่โรงแรมที่ตั้งอยู่ในละแวกนั้นจนเกิดการระเบิด
ทำให้ผู้โดยสาร 100 คน เจ้าหน้าที่บนเครื่อง 9 คน และแขกผู้เข้าพักในโรงแรม 4 คน เสียชีวิต
เพื่อการสอบสวนหาสาเหตุการตก ได้มีการระงับการบินของคองคอร์ดทุกเที่ยวบิน
ก่อนที่เครื่องบินคองคอร์ดจะกลับมาทำการบินทดสอบอีกครั้งเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
และพร้อมทำการบินแบบมีผู้โดยสาร เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544
แต่ความตกต่ำของอุตสาหกรรมการบินหลังเหตุการณ์ 9/11 ทำให้แอร์ฟรานซ์และบริติชแอร์เวย์
ตัดสินใจประกาศยกเลิกการใช้งานเครื่องบินคองคอร์ดทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2546
เนื่องจากมีผู้ใช้บริการน้อยและมีต้นทุนสูง
เครื่องบินคองคอร์ดถูกจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์การบิน ณ โรงงานผลิตเครื่องบินของบริษัทแอร์บัส ในเมืองตูลูส ฝรั่งเศส
ภาพจาก GroundedConcorde – Concorde – Wikipedia
ข้อมูลจาก Concorde – Wikipedia
คองคอร์ด – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)
แอร์ฟรานซ์ เที่ยวบินที่ 4590 – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)
You must be logged in to post a comment Login