หลังจากก่อนหน้านั้น กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นบุกเข้ายึดครองเกาะกวมได้ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2484
ในช่วงสงครามแปซิฟิก ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง
แต่เดิมนั้น เกาะกวม อยู่ในความครอบครองของอเมริกา ในวันที่ 8 ธันวาคม ถึง 10 ธันวาคม 2484
กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ได้บุกเข้ายึดครองเกาะกวม เพื่อตัดการส่งกำลังของกองทัพพันธมิตร
เนื่องจากเกาะกวมเป็นจุดยุทธศาตร์สำคัญ ของกองทัพฝ่ายพันธมิตรในช่วงสงครามแปซิฟิก
สามปีต่อมา ด้วยกองทัพพันธมิตร พยายามรุกคืบข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง เพื่อตลบหลัง
กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งกำลังทำศึกสำคัญในการกรีฑาทัพเข้ายึดฟื้นที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พร้อมแผนจะปลดปล่อยเกาะกวม ร่วมกับปฏิบัติการต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นบนเกาะไซปัน
หลังจากการยกพลขึ้นขึ้นฝั่งที่เกาะไซปัน พร้อมทั้งได้รับชัยชนะในสมรภูมิทะเลฟิลิปปินส์
ทหารอเมริกา ก็ได้ยกพลขึ้นขึ้นฝั่งที่เกาะกวมเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2487
เริ่มด้วยการทิ้งระเบิดปูพรม พร้อมการโจมตีจากทางอากาศหนัก เพื่อกรุยทางให้ทหารราบ
ในการยกพลขึ้นบก ซึ่งประกอบไปด้วย ทหารนาวิกโยธิน และ กองทัพบก
จากกองพลสะเทินน้ำสะเทินบกที่ 3 ของ นายพลไกเกอร์ รวมกำลังพล 55,000 นาย
ในสัปดาห์แรก การสู้รบเป็นไปอย่างอย่างดุเดือด กองทัพอเมริกา พยายามรุกคืบหน้า เพื่อยึดคืนฟื้นที่ไปเรื่อย
ด้วยกำลังพลมหาศาล ในขณะที่กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น มีทหารประจำการบนเกาะกวมเพียง 19,000 นาย
เนื่องจากกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นไม่สามารถส่งกำลังมาช่วยเหลือเพิ่มเติมได้ เพราะกำลังรับศึกรอบด้าน ในเวลานั้น
จนในที่สุดทหารกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นก็ไม่อาจต้านทานกองทัพอเมริกาได้
ใช้เวลาไม่นาน การสู้รบจึงยุติลงในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2487
ทหารอเมริกา ก็สามารถยึดเกาะกลับคืนมาได้แบบเบ็ดเสร็จ
และต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ ในการรวบรวมเชลยศึก กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นที่เหลืออยู่
เกาะกวม จึงถูกใช้เป็นฐานปฏิบัติการสำคัญของฝ่ายสัมพันธมิตร
ในการทำศึกกับกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในเวลาต่อมา
You must be logged in to post a comment Login