Connect with us

Life

ทฤษฎี 21 วัน ใช้กับอะไรได้บ้าง?

Published

on

เดือนแห่งความรักแบบนี้หลายคนอาจมีทั้งสมหวังและผิดหวัง สำหรับคำว่าจีบเขา 21 วันแล้วเขาจะตกหลุมรักนั้นสามารถใช้ไห้จริงหรอ? ซึ่งทฤษฎี 21 วัน เป็นทฤษฎีของ Dr. Maxwell Maltz ศัลยแพทย์ชาวอเมริกา ที่หมายถึงเรื่องของการเปลี่ยนนิสัย หรือปรับพฤติกรรมตนเองใหม่ภายใน 21 วัน ซึ่งทฤษฎีนี้ได้กลายเป็นที่รู้จักกันกว้างขวางและได้รับความนิยมไปทั่วโลก เนื่องจากได้มีการนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวัน เช่น 21 วัน ต้องออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก กินอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงทฤษฎี 21 วันกับความรัก โดยเชื่อกันว่าหากจีบคนที่ชอบติดต่อกันเป็นระยะเวลา 21 วัน ความรักนั้นจะสมหวัง

จุดเริ่มต้นของทฤษฎี 21 วัน

ทฤษฎี 21 วัน คือ ทฤษฎีการเปลี่ยนนิสัยหรือเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นคนใหม่ จากการทำพฤติกรรมนั้นซ้ำ ๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 21 วัน โดยทฤษฎีนี้อยู่ในหนังสือ Psycho-Cybernetics ของ Dr. Maxwell Maltz จุดเริ่มต้นของทฤษฎี 21 วันเกิดจากการสังเกตพฤติกรรมของคนไข้ที่เข้ารับการรักษา เช่น คนไข้จากการศัลยกรรมใบหน้า คนไข้จากอุบัติเหตุ ที่ใช้ระยะเวลา 21 วันในการปรับตัวให้ชินกับการเปลี่ยนแปลง

ด้าน Phillippa Lally นักจิตวิทยาสุขภาพและทีม จากมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน ได้ศึกษาและทำการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่าง 96 คน ในระยะเวลา 3 เดือน พบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมดสามารถเปลี่ยนนิสัยใหม่ได้ แต่ระยะเวลาในการสร้างนิสัยใหม่ของแต่ละคนจะต่างกันออกไป ตั้งแต่ 18 – 254 วัน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 66 วัน จึงจะถือว่าวสามารถเปลี่ยนแปลงนิสัยหรือพฤติกรรมใหม่ได้อย่างสมบูรณ์

ทฤษฎี 21 วันไม่ได้ถูกหยิบมาเป็นแรงผลักดันเรื่องการเปลี่ยนนิสัยเท่านั้น

สำหรับทฤษฎี 21 วัน ยังได้ถูกนำมาปรับใช้ในเรื่องความรัก หรือการจีบคนที่ชอบ หรือที่ได้ยินกันบ่อยครั้งว่า “เวลาจีบใครให้จีบ 21 วัน” ทำให้หลายคนได้เลือกใช้ทฤษฎีนี้กับคนที่ชอบกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นส่งเพลงรักให้ฟังตลอด 21 วัน ทักแชทเพื่อทำความรู้จักตลอด 21 วัน รวมไปถึงการซื้อขนม หรือของอื่น ๆ เป็นประจำตลอด 21 วัน เพื่อหวังให้อีกฝ่ายรู้สึกคุ้นชิน ผูกพัน จนเกิดเป็นความรักขึ้นมา

ขอบคุณภาพจาก The birds and bees

ทฤษฎีสามเหลี่ยมความรัก

แม้ว่าทฤษฎี 21 วันจะไม่ได้ยืนยันความรักที่สมหวัง ซึ่งทฤษฎีความรักในเชิงจิตวิทยามีหลากหลายขึ้นอยู่กับมุมมอง แต่ถ้าจะพูดถึงทฤษฎีสุดคลาสสิกที่ได้รับการพูดถึงไม่พ้น “ทฤษฎีสามเหลี่ยมความรัก” ที่โรเบิร์ต สเติร์นเบิร์ก อาจารย์จิตวิทยา มหาวิทยาลัยเยล ผู้คิดค้นทฤษฎีนี้ได้ศึกษาเรื่องของความรักในทุกความสัมพันธ์ พบว่าความรักเกิดจาก 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความสนิทสนม ความหลงไหล และความผูกพัน โดยองค์ประกอบเหล่านี้ไม่มีการแบ่งสัดส่วนที่ชัดเจน เพียงแต่ความรักในครั้งนั้น ๆ จะมี 3 องค์ประกอบนี้ร่วมกันจะถือว่าเป็นรักในอุดมคติหรือรักที่สมบูรณ์แบบ

มุมมองผู้ผิดหวังจากทฤษฎี 21 วัน

สำหรับเดือนกุมภาพันธ์นี้ หรือวันวาเลนไทน์ ที่เป็นเดือนแห่งความรัก แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนที่จะสมหวัง ทางกลับกันหลายคนได้ถูกเลือกให้เป็นผู้ผิดหวังซ้ำ ๆ ทฤษฎี 21 วัน ก็อาจเป็นตัวช่วยเยี่ยมยาหัวใจให้ดีขึ้นได้ โดยอาจเป็นการสร้างนิสัยหรือพฤติกรรมใหม่ที่ดีขึ้น เช่น ฟังเพลงเพื่อเยียวยาหัวใจตลอด 21 วัน ออกกำลังกายติดต่อกัน 21 วันเพื่อให้หายเศร้า หรือกินข้าวคนเดียว 21 วัน เพื่อสร้างนิสัยใหม่ให้คุ้นชิน

ดร.พิมพนิต ให้ความเห็นต่อว่า “การมูฟออน ถ้าพูดถึงในเรื่องพฤติกรรมคือ จะมีพฤติกรรมซ้ำเดิมกับคนเดิม แต่เมื่อคนนั้นไม่อยู่แล้วอาจเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยหลักการเดิมซ้ำ ๆ แต่ทดแทนพฤติกรรมเดิม เช่น เมื่อต้องโทรหาเขา ก็อาจจะโทรศัพท์หาเพื่อนแทน หากทำซ้ำ ๆ อาจช่วยให้ดีขึ้นได้เองตามลำดับ”

ทฤษฎี 21 วันมูฟออนอาจจะใช้ไม่ได้ผลจนต้องมูฟออนเป็นวงกลม หรือบางคนอาจจะใช้เวลานานกว่า 21 วัน เพราะบางครั้งทฤษฎี 21 วันที่ช่วยเปลี่ยนนิสัย ก็อาจจะไม่ได้ช่วยให้เปลี่ยนใจจากคนที่ชอบได้

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือสร้างนิสัยเกิดขึ้นตั้งแต่ 18 – 254 วัน โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 66 วัน ดังนั้นเมื่อใช้ทฤษฎี 21 วันกับความรัก บางคนอาจสมหวัง แต่สำหรับบางคนก็อาจจะพบกับความผิดหวัง ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าเศร้า เพียงแค่ให้โอกาสตัวเองและพยายามต่อไป บางครั้งอาจเปลี่ยนจากคนที่แปลกหน้ามาเป็นคนรักที่ผูกพันกันในวันที่ 254 ก็ได้เหมือนกัน

เพื่อไม่พลาดข่าวสารดี ๆ จากเรา อย่าลืมกดติดตาม Tojo News

https://today.line.me/th/v2/publisher/102232

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: