Connect with us

Published

on

คืนวันที่ 21 ธ.ค. ที่จะถึงนี้ ดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุด 2 ดวงของระบบสุริยจักรวาล ก็คือ ดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดี จะอยู่บนท้องฟ้าในตำแหน่งที่ใกล้กันที่สุดเมื่อมองจากโลก จนเกือบจะทับกันสนิท ในรอบ 794 ปี ซึ่งเรียกปรากฏการณ์นี้เป็นภาษาอังกฤษว่า Conjunction (คอนจังชัน) 

สำนักข่าวโตโจ้นิวส์รายงาน นายแพทริก ฮาร์ติแกน นักวิชาการด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยไรซ์ ในนครฮูสตัน รัฐเทกซัสของสหรัฐ ได้ออกความคิดเห็นกับปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นนี้ว่า จริงๆ แล้วการที่ดาวเสาร์และพฤหัสบดีมาอยู่ใกล้กันมากเกิดขึ้นทุก 20 ปีโดยประมาณ แต่การอยู่ใกล้กันในครั้งนี้มีความพิเศษกว่าครั้งอื่นๆ เพราะอยู่ใกล้กันมากกว่าหลายครั้งที่ผ่านมา ซึ่งการใกล้กันครั้งล่าสุดเช่นนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 1769 (ค.ศ. 1226)

ที่จริงแล้ว ดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดี มาอยู่ใกล้กันตั้งแต่ช่วงกลางปีนี้แล้ว และมาอยู่ใกล้กันมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมองจากโลก และในวันที่ 16-25 พ.ย. นี้ จะเป็นช่วงที่ใกล้ที่สุด ซึ่งในประเทศไทยจะสามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงเวลาสั้นๆ หลังพระอาทิตย์ตก โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันตก

ถึงแม้ว่าการมองจากโลกจะดูใกล้กันมาก แต่องค์การบริการอวกาศและการบินสหรัฐ (นาซา) ได้ระบุว่า ดาวเคราะห์ทั้ง 2 ดวงนี้ ก็ยังอยู่ห่างกันในอวกาศหลายร้อยล้านกิโลเมตรอยู่ดี

นายฮาร์ติแกน บอกอีกว่า ปรากฏการณ์ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์อยู่ใกล้กันมากเช่นนี้หรือมากกว่านี้ เกิดขึ้นเพียง 7 ครั้ง ตั้งแต่ปี 543 จนถึงปี 3543 ซึ่ง 2 ครั้งจากทั้ง 7 ครั้งดังกล่าวเกิดขึ้นใกล้กับดวงอาทิตย์มากจนมองด้วยตาเปล่าไม่ได้ ดังนั้นครั้งนี้ที่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า จึงเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: