News
14 กรกฏาคม 2332 ฝูงชนบุกทลาย คุกบัสตีย์ ในกรุงปารีส ในระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส
Published
4 ปี agoon

เหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงเช้าวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 ที่คุก บัสตีย์ ซึ่งเป็นป้อมปราการและเรือนจำ
สร้างขึ้นตั้งแต่ ยุคกลาง ตั้งอยู่ ณ ใจกลางกรุงปารีส ราชอาณาจักรฝรั่งเศส ในขณะนั้น เหตุการณ์นี้เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของ การปฏิวัติฝรั่งเศส
ในเช้าวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 กรุงปารีส ตกอยู่ในสภาวะความไม่สงบ ผู้สนับสนุนฐานันดรที่สามในฝรั่งเศสซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของกองทหารกระฎุมพีแห่งปารีส (ภายหลังกลายเป็นกองกำลังติดอาวุธของประชาชน;Garde Nationale) ซึ่งก่อนหน้านี้ได้บุกปล้นสะดม ออแตล เด แซ็งวาลีด (Hôtel des Invalides)
ยึดเอาอาวุธ (เช่น ปืนคาบศิลาจำนวน 29,000 – 32,000 กระบอก แต่ไม่มีดินปืนหรือกระสุน) และกำลังพยายามบุกเข้าไปยังป้อมบัสตีย์ เพื่อชิงเอาอาวุธยุทโธปกรณ์เพิ่มเติม เช่น ดินปืน ซึ่งมีมากถึง 13.6 ตัน ถูกเก็บรักษาเอาไว้ภายในป้อม
ณ ช่วงเวลานั้น คุกภายในป้อมบัสตีย์แทบจะไม่มีนักโทษหลงเหลืออยู่แล้ว มีเพียงนักโทษชราถูกคุมขังเพียง 7 คนเท่านั้น ตามบันทึกระบุว่านักโทษทั้งเจ็ดคนได้แก่ ผู้ต้องหาปลอมแปลงเอกสาร 4 คน ผู้วิกลจริต 2 คน และขุนนางผู้มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากพวกพ้อง 1 คน คือ เคาน์แห่งโซลาจ
ด้วยเหตุที่ค่าใช้จ่ายในการทำนุบำรุงรักษาป้อมปราการแห่งนี้ ไม่คุ้มกับประโยชน์การใช้งานที่มีอยู่จำกัด
ทำให้รัฐบาลตัดสินใจปิดป้อมแห่งนี้ ไม่นานก่อนเกิดเหตุความวุ่นวาย อย่างไรก็ตาม
ป้อมบัสตีย์ยังคงถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ความเผด็จการของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส

La Bastille 20060809 – การทลายคุกบัสตีย์ – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)
พลทหารที่ประจำอยู่ ณ ป้อมบัสตีย์ โดยปกติมีทั้งสิ้น 82 นาย (ทั้งหมดเป็นนายทหาร แอ็งวาลีด; invalides; พลทหารผ่านศึกปลดประจำการ ผู้ไม่สามารถทำการสู้รบอีกต่อไป เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บจนพิการหรือทุพพลภาพ)
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 7 กรกฎาคม มีการเสริมกำลังด้วยพลทหารรักษาพระองค์จำนวน 32 นาย
จากกองทหารซาลิ-ซามาดของสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเดิมประจำการอยู่ ณ สวนสาธารณะ ช็อง เดอมาร์ส
มีการเสริมกำลังปืนใหญ่น้ำหนัก 8 ปอนด์ ตามกำแพงของป้อมจำนวน 8 กระบอก
และปืนใหญ่ขนาดเล็ก 12 กระบอก โดยมีผู้บัญชาการสูงสุดประจำป้อมคือ แบร์นาร์ด-เรอเน เดอ โลเนย์
บุตรชายชองผู้บัญชาการคนก่อนหน้า และเป็นผู้ที่เกิดภายในป้อมบัสตีย์แห่งนี้
รายชื่อของ แว็งเกอเดอลาบัสตีย์ (vainqueurs de la Bastille ; ผู้ทลายคุกบัสตีย์) ตามบันทึก
มีจำนวนทั้งสิ้น 954 ราย ซึ่งหากรวมฝูงชนผู้ร่วมการทลายคุกแล้ว จำนวนผู้ทลายคุกทั้งหมดก็ไม่เกิน 1,000 คน เหตุการณ์เริ่มต้นขึ้น เมื่อฝูงชนรวมตัวกันในช่วงเช้า เรียกร้องให้นายทหารประจำป้อมยอมจำนน เคลื่อนย้ายปืนใหญ่ออกไป และยอมมอบอาวุธรวมถึงดินปืนให้แก่ฝ่ายประชาชน ฝ่ายทหารได้เชิญตัวแทนสองคนเข้าไปเจรจาภายในป้อมและเชิญตัวแทนอีกกลุ่มเข้าไปในช่วงเที่ยง การเจรจาดำเนินไปอย่างยืดเยื้อในขณะที่ฝูงชนเริ่มหมดความอดทน
จนกระทั่งเวลาประมาณ 13.30 น. ฝูงชนกรูกันเข้าไปบริเวณลานด้านนอกของป้อมซึ่งไม่ได้มีการป้องกันเอาไว้
ทำให้ฝ่ายพลทหารของป้อมตัดสินใจตัดสายโซ่ของสะพานชัก เพื่อป้องกันไม่ให้ฝูงชนบุกเข้าถึงส่วนในของป้อมได้ ส่งผลให้ตัวสะพานหล่นทับผู้ร่วมทลายคุกรายหนึ่งและนำมาสู่การยิงต่อสู้ในที่สุด
มีการเล่ารายละเอียดของเหตุการณ์แตกต่างกันออกไป หนึ่งในนั้นเล่าว่าผู้บัญชาการป้อม (เดอโลเนย์) สั่งให้ระดมยิงปืนใหญ่ใส่ฝูงชน คร่าชีวิตเด็ก สตรี และผู้ประท้วงคนอื่นๆ ไปหลายคน จึงทำให้การประท้วงเปลี่ยนไปเป็นการจลาจลบริเวณรอบ ๆ ป้อมบัสตีย์ นอกจากนี้ฝูงชนยังรู้สึกว่าตนถูกหลอกล่อให้ติดกับของฝ่ายทหาร ทำให้การต่อสู้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม ในขณะที่เจ้าหน้าที่บางส่วนพยายามยุติการยิงต่อสู้ของทั้งสองฝ่าย
แต่ไม่มีใครฟัง

cph 3b51512 http://hdl.loc.gov/loc.pnp/cph.3b51512 (b&w film copy neg.) cph
3b41648 http://hdl.loc.gov/loc.pnp/cph.3b41648
การต่อสู้ยังคงดำเนินไปจนกระทั่งเวลา 15.00 น. เมื่อมีการเสริมกำลังจากกองกำลังราชองครักษ์
การ์ดฟร็องเซ (ผู้ก่อกบฏและกลุ่มนายทหารผู้แปรพักตร์จำนวนหนึ่ง) พร้อมด้วยปืนใหญ่สองกระบอก
ซึ่งกองกำลังของกองทัพบกหลวงแห่งฝรั่งเศสที่ประจำการอยู่ใกล้เคียง ณ สวนสาธารณะช็องเดอมาร์ส
ไม่ได้เข้าทำการแทรกแซงหรือให้การช่วยเหลือฝ่ายของเดอโลเนย์แต่อย่างใด ต่อมาเมื่อเวลา 17.00 น.
ความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุสังหารหมู่ของทั้งสองฝ่ายเริ่มปรากฏให้เห็นเด่นชัดขึ้น เดอโลเนย์ จึงตัดสินใจหยุดยิง
และส่งจดหมาย ยื่นข้อเสนอของเขาแก่ฝูงชนผ่านช่องว่างของประตูป้อมด้านใน ฝูงชนปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว
แม้กระนั้นเอง เดอโลเนย์ ก็ยังคงตัดสินใจที่จะยอมจำนน เนื่องจากตระหนักได้ว่ากองทหารของเขาจะไม่สามารถยื้อการสู้รบได้นานกว่านี้ เดโลเนย์ เปิดประตูป้อม ฝูงชนต่างแห่กรูเข้าสู่ลานด้านใน
และปลดปล่อยคุกบัสตีย์ได้สำเร็จเมื่อเวลา 17.30 น.

ภาพจาก Anonymous – Prise de la Bastille – การทลายคุกบัสตีย์ – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)
ฝ่ายผู้ทลายคุก 94 ราย และนายทหาร 1 นาย เสียชีวิตในการต่อสู้ที่เกิดขึ้น เดอ โลเนย์ ถูกจับกุมตัวและถูกลากไปตามท้องถนนมุ่งสู่ ออแตล เดอ วีล พร้อมกับมีการด่าทอและทารุณกรรมไปตลอดเส้นทาง ในขณะที่ภายนอก ออแตล เดอวีล ก็ถกเถียงถึงการลงโทษ เดอ โลเนย์ต่อ เดอ โลเนย์ ซึ่งถูกถูกทารุณกรรมจนอาการสาหัส ตะโกนขึ้นว่า “พอได้แล้ว! ให้ฉันตายเถอะ ! พร้อมทั้งเตะพ่อครัวทำขนม นามว่า ดูเลต์ เข้าที่หน้าแข้ง เดอ โลเนย์ จึงถูกแทง
ซ้ำไปซ้ำมา ก่อนที่จะล้มลงขาดใจตายในที่สุด ก่อนที่ฝูงชนจะเลื่อยศีรษะของเขา นำมาเสียบเข้ากับหอกหลาวและนำไปตระเวนแห่ประจานตามท้องถนนของกรุงปารีส พลทหารประจำป้อมอีกสามนายก็ถูกสังหารโดยฝูงชนด้วยเช่นกัน รายงานรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้มาจากนายตำรวจที่รอดชีวิตมาได้
ส่วนทหารปลดประจำการ แอ็งแวลิด ประจำป้อมสองนาย ถูกรุมประชาทัณฑ์
ในขณะที่ พลทหารสวิส จากกองทหาร ซาลิ-ซามาด ได้รับการปกป้องจากกองกำลัง การ์ดฟร็องเซ และถูกปล่อยตัวกลับสู่กองทหารของพวกตน มีเพียงนายทหารสองนายจากกองทหารนี้ที่ถูกสังหาร
ผู้บังคับบัญชาของพวกเขา พลโทหลุยส์ เดอฟลู เขียนรายงานถึงรายละเอียดในเหตุการณ์ดังกล่าว และรวบรวมเข้ากับสมุดบันทึกเหตุการณ์ประจำกองทหารซาลิ-ซามาด
การเสียชีวิตของ เดอโลเนย์ นับว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรง(และไม่ยุติธรรม) แต่กระนั้น เดอฟลู ก็ยังคงกล่าวโทษว่า เดอ โลเนย์ ใจอ่อนและบกพร่องในการเป็นผู้นำที่เฉียบขาด พร้อมทั้งการกล่าวโทษว่า เป็นสาเหตุที่ทำให้ป้อมถูกทลาย
ในความเป็นจริง ความเฉื่อยชาของผู้บัญชาการกองทัพบกหลวงแห่งฝรั่งเศส ที่ประจำอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน
ที่ไม่ส่งกำลังเข้าสนับสนุนกองกำลังของเดอโลเนย์ ณ ป้อมบัสตีย์ หรือ ออแตล เดอ แซ็งแวลิด
ที่กำลังถูกโจมตีจากฝูงชน ก็มีส่วนที่ทำให้ ป้อมบัสตีย์ ถูกทลาย

ภาพจาก Fête de la Fédération 1790, Musée de la Révolution française – Vizille – Fête nationale française — Wikipédia (wikipedia.org)
โดยวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1790 ถูกกำหนดให้เป็นวันหยุดของสหพันธรัฐ (Fête de la Fédération)
เพื่อเป็นการรำลึกถึง วันครบรอบหนึ่งปีของการทลาย คุกบัสตีย์ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789
วันครบรอบการทลายคุกบัสตีย์ ถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์การลุกฮือของ ชาติสมัยใหม่ และการปรองดองชาวฝรั่งเศส ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส ด้วยราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ สมัยก่อนสาธารณรัฐที่ 1
ต่อมาวันที่ 14 กรกฎาคม ของทุกปี ในประเทศฝรั่งเศสจึงถูกเรียกว่า วันบัสตีย์ ถือเป็น วันชาติฝรั่งเศส
ถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า “งานเฉลิมฉลองแห่งชาติ” (La Fête Nationale)
และเรียกโดยทั่วไปว่า “สิบสี่กรกฎา” (le quatorze juillet) จะมีงานเฉลิมฉลองและพิธีการทางการ
จะถูกจัดขึ้นทั่วประเทศฝรั่งเศส มีการเดินสวนสนามประจำปีที่เก่าแก่ที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป
ถูกจัดขึ้นในเช้าวันที่ 14 กรกฎาคม บนถนนช็องเซลีเซในปารีส
ต่อหน้าประธานาธิบดีฝรั่งเศส เจ้าหน้าที่ของรัฐ และแขกต่างประเทศ

ภาพจาก 14 juillet 2018 – feu d’artifice de la fête nationale tirée depuis le champ de Mars à Paris par le Groupe F (43411781601) – Fête nationale française — Wikipédia (wikipedia.org)
ข้อมูลจากบางส่วนของบทความ การทลายคุกบัสตีย์ – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)



แพทยสภา ออกประกาศ เหตุเลื่อน! สอบจริยธรรมหมอชั้น 14 รักษา ทักษิณ

โปรฯ นักโทษในเรือนจำ สิทธิพิเศษในการลดโทษจำคุกได้เดือนละ 5 วัน !!

You must be logged in to post a comment Login