Connect with us

Published

on

14 ตุลา – 6 ตุลา ต่างกันอย่างไร?

หลายคนยังแยกไม่ออกว่าเหตุการณ์ 14 ตุลา และ 6 ตุลา ต่างกันอย่างไร สาเหตุเกิดมาจากอะไร และผลที่ตามมากับประเทศไทยนั้น เกิดอะไรขึ้นบ้าง เนื่องจากทั้งสองเหตุการณ์นั้น เป็นเหตุการณ์ที่ขับเคลื่อนโดยกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ทั้งสองเหตุการณ์ หลายคนอาจจะสับสน

14 ตุลา”

นับว่าเป็นเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย เมื่อเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2516 กลุ่มนักศึกษา ประชาชนออกมาลุกฮือต้าน “คณาธิปไตย” ถนอม-ประภาส-ณรงค์ ปลดปล่อยนิสิต นักศึกษา อาจารย์ และนักการเมือง 13 คนที่ถูกจับกุมฐานเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ราวราวสาเหตุมาจากการทำรัฐประหารตัวเอง ของจอมพลถนอม กิตติขจร ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2514 หลังจากที่ทหารปกครองประเทศมายาวนาน ทำให้ประชาชนรู้สึกไม่พอกับกับการบริหารงานของรัฐบาล อีกทั้ง เหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ของกองทัพตก ที่จังหวัดนครปฐม ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2516 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 6 คน รวมถึงการพบซากกระทิง สัตว์ป่าอื่นๆ ปืนล่าสัตว์ และอาวุธจำนวนมาก มีการออก ‘บันทึกลับจากทุ่งใหญ่’ ประกอบกับการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ล่าช้ามาก ทำให้ประชาชนไม่พอใจอย่างหนัก นำไปสู่การประท้วงเรียกร้องรัฐธรรมนูญ

ในครั้งนั้น มีจำนวนผู้เข้าร่วมชุมนุมมากถึงแสนคน ได้รวมตัวกันชุมนุมอย่างสันติวิธีในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ตั้งแต่วันที่ 9-12 ตุลาคม ต่อมาในวันเสาร์ที่ 13ตุลาคม เนื่องจากเป็นวันหยุด ทำให้ประชาชนมาร่วมสบทบการชุมนุมเกิดเป็นการชุมนุมครั้งยิ่งใหญ่ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จนล้นออกไปยังถนนราชดำเนิน ในวันที่ 14-15 ถัดมาก็เกิดความรุนแรง เยาวชนคนหนุ่มสาวถูกปราบปรามด้วยอาวุธร้าย เป็นผลให้เกิดการลุกฮือขึ้นทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด และแล้วเผด็จการก็ล้มลง ผู้นำคณาธิปไตย ถนอม-ประพาส-ณรงค์ ต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ การสูญเสียในครั้งนั้น เยาวชนคนหนุ่มสาวหลายคนออกจากบ้านไปร่วมชุมนุม หลายคนไม่ได้กลับบ้านอีกเลย บางคนกลับไปด้วยร่างกายพิการ บางคนกลับไปด้วยความรู้สึกใหม่ เหตุการณ์ 14-15 ตุลาคม มีผู้เสียชีวิต 71 คน บาดเจ็บ 857 คน หลายคนเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า “ตุลามหาวิปโยค” บางคนเรียกว่า “วันแห่งชัยชนะของประชาชน” แต่ถือว่าเป็นเหตุการณ์ครั้งที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยอีกหนึ่งเหตุการณ์

6 ตุลา”

ภายหลังจากเหตุการณ์ “14 ตุลา” เกิดการตื่นตัวทางการเมืองในประเทศไทยอย่างกว้างขวาง ความอึดอัดดุเดือดและความไม่พอใจของนักศึกษาและประชาชนต่อ จอมพลถนอม กิตติขจรได้จุดชนวนขึ้นอีกครั้ง เมื่อจอมพลถนอม เดินทางกลับประเทศไทยแบบเป็นสามเณร องค์ประกอบและสถานการณ์หลายอย่างทำให้บรรยากาศบานปลาย สาเหตุเกิดมาจากช่างไฟสองคนที่แจกใบปลิวต่อต้านการกลับมาของจอมพลถนอม ถูกแขวนคอเสียชีวิต ต่อมานักศึกษาธรรมศาสตร์ได้นำเรื่องดังกล่าวมาแสดงละคร เพื่อประท้วงรัฐบาลเพราะเชื่อว่าเป็นฝีมือของเข้าหน้าที่รัฐ วันต่อมาหนังสือพิมพ์ดาวสยามพาดหัวข่าวว่า ละครของนักศึกษาเป็นการหมิ่นพระบรมโอรสาธิราช ทำให้กลุ่มฝ่ายขวา เช่น กระทิงแดง ลูกเสือชาวบ้าน ไปชุมนุมปิดล้อมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มีกลุ่มนักศึกษาประท้วงกันอยู่นำไปสู่เหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษาในวันที่ 6 ตุลาคม กลายเป็นวันที่เกิดเหตุการณ์ที่น่าเศร้าสลดที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทยเมื่อกองกำลังติดอาวุธซึ่งมีเจ้าหน้าที่รัฐอย่างตำรวจตระเวนชายแดน และลูกเสือชาวบ้านเป็นแกนนำได้เกิดการปะทะกับกับนักศึกษา ด้วยข้อหาเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ โดยมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 46 ราย (บางแหล่งอ้างถึงหลักร้อยราย) และบาดเจ็บ 167 คน

เหตุการณ์ทั้งสองยังถูกจัดรำลึกทุกปีที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และในปีนี้ก็ได้มีการนัดชุมนุมของกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และประชาชนจากกลุ่มต่างๆ ได้โพสต์ข้อความในโลกออนไลน์นัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 14 ตุลาคม 63 ที่จะถึงนี้อีกด้วย

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: