ประเทศไทยมีสิ่งที่เรียกว่า”ธรรมนูญว่าด้วยระบบ สุขภาพแห่งชาติ” ทำหน้าที่เป็นเข็มทิศด้านสุขภาพ หรือเปรียบได้กับพิมพ์เขียวนโยบายสุขภาพของประเทศ โดยให้มีการทบทวนทุก ๕ ปี นับตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ ที่ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ มีผลบังคับใช้ ประเทศไทยมีธรรมนูญว่า “ด้วยระบบสุขภาพฯ มาแล้ว ๒ ฉบับ ปัจจุบันอยู่ในช่วง ปลายของฉบับที่ ๒ (เริ่ม พ.ศ. ๒๕๕๙) เพื่อให้เท่าทันกับสภาพความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และรุนแรง การประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สุขภาพฯ ฉบับที่ ๓ และทิศทางนโยบายสุขภาพที่ (คสช) หรือบอร์ดสุขภาพของประเทศ เมื่อวันที่ ๑๖ พ.ย. ๒๕๖๓ จึงให้ความเห็นชอบแต่งตั้งผู้ที่จะเข้ามากุมบังเหียน ทำหน้าที่ “สังคายนา” เนื้อหาในธรรมนูญ สุขภาพฯ ฉบับเก่า เพื่อก่อร่างขึ้นรูปธรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพฯ ฉบับใหม่
สำนักข่าวโตโจ้นิวส์จึงขอนำความคิดเห็นของ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ในฐานะประธาน จัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพฯ ฉบับที่ ๓ มาเผยแพร่เพื่อให้เข้าใจภาพรวมของแนวคิด”ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพฯ”ทั้งในอดีตและอนาคตผ่า Concept ธรรมนูญฯ ฉบับที่ ๓
ภายใต้ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ ๓ ที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่นี้ ความท้าทายคือ
การสร้างสมดุลระหว่าง ๒ เรื่อง คือ “Determination” ความมุ่งมั่นเพื่อเดินหนตามเป้าหมาย กับ “Adapt-ability” การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่
ดร.สุวิทย์ อธิบายว่า ในด้านหนึ่งขณะที่เราอยากเดินไปข้างหน้า แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกที่ไม่หยุดนิ่ง จำเป็นต้องมีกลไกการปรับตัวให้สอดคล้องกับพลวัตของโลกและสังคมควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนความมุ่งมั่นที่มีอยู่ ดังนั้นในธรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพฯ ฉบับที่ ๓ จึงต้องแสดงให้เห็นทั้ง ๒ ปัจจัยนี้ไปพร้อมกัน เพื่อให้ ” Vision ” หรือวิสัยทัศน์ สามารถนำไปสู่ ” Action ” หรือการลงมือทำได้อย่างแท้จริง
ดร.สุวิทย์นิยามภาพ “ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์” คือการสร้าง “ความปกติสุข” ให้เกิดขึ้นกับทุกคนใน ทุกช่วงเวลา ซึ่งโจทย์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่ย้อนแย้งกับความเป็นจริงของโลกที่มีความผันผวนและไม่แน่นอน หรือที่ถูกขนานนามว่าเป็นโลก “VUCA” อันประกอบ ด้วย “Volatility” ความผันผวน “Uncertainty” ความไม่แน่นอน “Complexity” ความซับซ้อน และ “Ambiguity”ความคลุมเครือ
ขณะเดียวกัน ภายใต้โลกใบใหม่นี้ ยังพบอีกว่า คนในโลกจะต้องเผชิญหน้ากับชะตากรรมเดียวกันและร่วมกัน หรือที่เรียกว่า One World One Destiny คือ มีสุขด้วยกัน-มีทุกข์ด้วยกัน โดยตัวอย่างที่เห็นได้ ชัดเจนคือ การแพร่ระบาดของโควิด-19
ในมุมมองของ “ดร.สุวิทย์” แล้ว ความเป็นปกติสุข ที่เรามองหา จึงต้องประกอบด้วย “Hope” สังคมที่มีความหวัง “Happiness” สั่งคมที่มีความสุข และ”Harmony” สังคมที่มีความปรองดองซึ่งกันและกัน เมื่อ”Hope-Happiness-Harmony” คือ หมุดหมายที่ประเทศไทยจะต้องเดินไปให้ถึง แล้วคำถามคืออะไร จะเป็น “เครื่องมือ” หรือสิ่งนำทาง เพื่อหนุนเสริมให้ ภาพฝันดังกล่าวกลายมาเป็นความจริง
ดร.สุวิทย์อธิบายว่า ความปกติสุขที่จะเกิดขึ้นภายใต้ VUCA นั้นจะต้องกอปรด้วยหลักการสำคัญ ๔ ประการ ซึ่งจะเป็นตัวนำทางในการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพฯ ฉบับที่ ๓
– Leave No One Behind – เดินหนไปด้วยกันโดย ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
– Multi-stakeholder Engagement – ต้องให้ทุกภาค ส่วนเข้ามามีส่วนร่วม
– Dynamic Coherence – การปรับตัวให้สอดรับกับพลวัต และ
– Open Integrated Platform – การทำงานทั้งหมดบนพื้นที่เปิด ที่ทุกฝ่ายบูรณาการร่วมกัน
Leave No One Behind : ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
“ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพฯ ฉบับที่ ๓ จะต้องเปิดพื้นที่ให้ทุกคนมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อแสวงหา
“เจตจำนงร่วม” หรือ Common Goals ซึ่งเจตจำนงร่วมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเรามี “พื้นที่ร่วม”
หรือ Common Ground ให้กับทุกฝ่าย”
ดร.สุวิทย์ ระบุ เขามั่นใจว่าเมื่อทุกคนรู้สึกว่ามีส่วนร่วมด้วยแล้วจึงจะสามารถร่วมกันหาเป้าหมายในการสร้าง “สังคมปกติสุข” ได้
สำหรับการสร้าง”สังคมปกติสุข”โดยพื้นฐานจะต้องมาจากการสร้างใน ๓ ส่วน ได้แก่
๑. สังคมที่เป็นธรรม “Clean & Clear” ที่จะนำไปสู่การทำให้เกิด
๒. สังคมแห่งโอกาส “Free & Fair” และ
๓. สังคมที่เกื้อกูลและแบ่งปัน “Care & Share” ในท้ายที่สุด”
“ทั้ง ๓ ส่วนนี้มีความเชื่อมโยงที่สำคัญเพราะหากมีสังคมที่ไม่เป็นธรรมตั้งแต่ต้น ก็จะไม่เกิดความเท่าเทียมทำให้โอกาสตกอยู่กับคนเพียงไม่กี่คน เมื่อบางคนได้รับโอกาสขณะที่บางคนไม่ได้รับโอกาส ก็ย่อมไม่สามารถที่จะสร้างสังคมที่เกื้อกูลได้” ดร.สุวิทย์ ขยายภาพความเกี่ยวโยงกันในทราบ
หัวใจสำคัญของการสร้าง ๓ ส่วนนี้ จะนำมาสู่การเกิดขึ้นของ “trust” หรือความไว้เนื้อเชื่อใจกันเมื่อคนหรือสังคมมีความไว้วางใจกันแล้ว ย่อมจะสามารถขับเคลื่อนอะไรได้โดยง่าย
“ที่สังคมไทยเป็นอย่างทุกวันนี้ มีการประท้วงเกิดขึ้นมากมาย ก็เป็นเพราะเรายังไม่สามารถตอบโจทย์สังคม ให้เกิด Clean & Clear – Free & Fair – Care & Share ได้จริง” อดีตรัฐมนตรี ชี้ประเด็น
ดร.สุวิทย์ อธิบายต่อไปอีกว่า สังคมปกติสุขที่จะเกิดขึ้นนั้น นอกจากมี “New Normal” แล้ว ยังจะต้องสร้าง “New Culture” หรือ วัฒนธรรมใหม่ด้วย โดยสิ่งสำคัญคือต้องเปลี่ยนประชาชนจากที่มีลักษณะ เฉยชา (Passive Citizens) มาเป็นประชาชน ที่มีส่วนร่วม (Engaged Citizens) ให้มากขึ้น
วัฒนธรรมใหม่นี้จะต้องมีทั้ง “Empathy” ความเห็นอกเห็นใจกัน “Sharing Cuture” วัฒนธรรมแห่งการแบ่งปัน “Clean Culur” วัฒนธรรมความสะอาด หรือ”SafetyCulture” วัฒนธรรมความปลอดภัย เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นนามธรรมที่ต้องแปลงออกมาให้เกิดขึ้น ในส่วนของวิธีการ” ดร.สุวิทย์” บอกว่า อาจนำเอาหลักการ AIDA มาใช้ คือเริ่มด้วย
“Awareness” ทำให้คนตระหนัก
“Interest” เกิดความสนใจที่จะทำ
“Desire” เกิดความต้องการที่จะทำและสุดท้าย
“Action”เกิดการเข้ามาร่วมกันทำ เข้ามาร่วมกันสร้าง CommonGoals ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง
ขณะที่การเปิดพื้นที่ Common Ground ก็จำเป็นจะต้องเข้าใจถึงลำดับขั้นของคน ๔ กลุ่มที่มีอยู่ในสังคมไทยคือ
“Suffering” คนที่ตกทุกข์ได้ยาก ซึ่งมีมากที่สุดในสังคม
“Suviving” คนที่ยังเอาตัวรอดได้
“Suficient”คนที่พอดี และ
“Sustained” คนที่มั่นคง
“จะทำอย่างไรให้คนแต่ละระดับสามารถขยับขั้นขึ้นมาได้ นั่นจึงจะทำให้เกิดสังคมปกติสุข ไม่เช่นนั้น ธรรมนูญฯ ที่ถูกเขียนขึ้นก็จะไม่มีประโยชน์ เพราะธรรมนูญฯ ที่ดีไม่ใช่แค่การเขียนหลักการ แต่ต้องนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง ซึ่งจะทำให้การเดินหน้าไปด้วยกันโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ไม่ใช่แค่เพียงคำพูดที่สวยหรู” ประธานจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพฯ ฉบับที่ ๓ ระบุ
Multi-stakeholder Engagement : ทุกส่วนมีส่วนร่วม
“การดึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม” จำเป็นต้องทำให้ครบถ้วนในทุกมิติ ซึ่งในธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพฯ ฉบับที่ ๑ และ ๒ ทำได้อย่างดี ด้วยการขยับการมีส่วนร่วมจากภาครัฐไปสู่ภาคประชาสังคม
อย่างไรก็ตาม “ดร.สุวิทย์” มองว่าต้องเพิ่มการมีส่วนร่วมให้มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มของ “คนรุ่นใหม่”ที่จำเป็นต้องชักชวนเขาเข้ามากำหนดเนื้อหาในธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพฯ ฉบับที่ ๓ ด้วย “เด็กในยุคนี้จะไม่ได้เป็นเพียงผู้รับอย่างเดียวอีกต่อไปแต่เขาเหล่านั้นมีความคิดความอ่นต่อเรื่องราวต่างๆ ที่ก้าวหน้าและน่าสนใจ จึงจำเป็นต้องรวมพลังของคนหนุ่มสาวพลังระหว่างเจนแนอเรชั่นเข้ามาทำงานร่วมกัน” อาจารย์สุวิทย์ ระบุ
สำหรับการสร้างการมีส่วนร่วม”ดร.สุวิทย์”ใช้หลักการ 3E คือ
“Encourage” การเสริมพลัง
“Empower” ปลดล็อคข้อจำกัดที่มีเพื่อให้ได้ปลดปล่อยศักยภาพ ซึ่งจะนำไปสู่
“Engage” การเข้ามามีส่วนร่วม
อย่างไรก็ดี การที่จะทำให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้าง “สังคมปกติสุข” นั้น จะใช้ระบบโครงสร้างอำนาจปัจจุบันที่รวมศูนย์และแบ่งลำดับชั้นหรือ “Centralized Hierarchical Structure” ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนเป็น ” Multilayered Polycentric Network “หรือระบบอำนาจที่กระจายศูนย์ลงไปหลายชั้นเป็นเครือข่าย คำอธิบายในเรื่องนี้ก็คื ต้องทำความเข้าใจเรื่องระบบนโยบายใน ๓ ระดับ ได้แก่ ระดับประเทศ ระดับ ภูมิภาค และระดับชุมชน เพราะบางเรื่องเป็นนโยบายระดับประเทศโดยตรง บางเรื่องเป็นนโยบายที่ต้องกำหนดจากส่วนกลางลงไปยังภูมิภาค หรือต้องกำหนดลงไปสู่ระดับตำบลและชุมชน ทว่าในบางเรื่องก็ต้องปล่อยให้ภูมิภาคหรือจังหวัดจัดการเอง บางเรื่องก็จะต้องปล่อยให้ชุมชนจัดการเอง
“บ้านเราไม่เคยมีการมองภาพใหญ่ ว่าจะแบ่งงานกันทำและเอาทุกอันมาเชื่อมต่อกันอย่างไร ภาพนี้จึงจะเรียกว่าเป็นการแบ่งหลายระดับชั้น ซึ่งไม่ใช่เรื่อง การรวมศูนย์หรือกระจายศูนย์อย่างเดียวอีกต่อไปตัวอย่าง เช่น เรื่องน้ำท่วม ถ้าเป็นส่วนที่มาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอกาศก็จะเป็นเรื่องระดับชาติ แต่หากเป็นการบริหารจัดการแต่ละพื้นที่ ก็เป็นเรื่องของชุมชน ตำบล หรือบางเรื่องข้ามพื้นที่ก็เป็นระดับภูมิภาค จังหวัด ฉะนั้นการจะนำอะไรมาถักทอกันอย่างไรต่างหากเป็นส่วนที่ไม่เคยมีมาในระบบของเรา” ดร.สุวิทย์ อธิบาย
Dynamic Coherence : ปรับตัวไม่หยุดนิ่ง
ดร.สุวิทย์ กล่าวต่อไปถึงหลักการข้อที่ ๓ ในการสร้างความปกติสุขให้เกิดขึ้นในโลกแห่ง VUCA ซึ่งก็คือ “การปรับตัวให้สอดรับกับพลวัต” เนื่องจากพบว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของโลกเป็นอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทำให้รูปแบบวิถีชีวิตเดิม ที่เรียกว่า “3-Stage Life” ได้แก่ เรียน ทำงาน และเกษียณ เปลี่ยนไปเป็น “Muli-stage Life” ที่คนจะต้องอยู่ เรียนรู้ และทำงานตลอดชีวิต
โจทย์ต่อมาคือรูปแบบวิถีชีวิตใหม่โดยเฉพาะยุคหลังโควิด-19 ฉะนั้นสิ่งที่ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพฯ ควรจะพูดถึงอันดับแรกคือ “หลักประกันความมั่นคงขั้นพื้นฐาน” ซึ่งเป็นองค์รวมของคำว่า “สุขภาวะ” ครอบคลุมทั้งเรื่องของความมั่นคงทางสุขภาพ ความมั่นคงด้านพลังงาน อาหาร การมีงานทำ รายได้
ส่วนอีกเรื่องที่ต้องพูดถึงคือ “หลักประกันความฉลาดรู้ขั้นพื้นฐาน” เป็นการให้คนฉลาดรู้ เพื่อสามารถเอาตัวรอดได้ ไม่ว่าจะเป็นความฉลาดรู้ทางสุขภาพ ดิจิทัลการเงิน สังคม เป็นต้น
ดังนั้น การสร้างหลักประกันอย่างน้อย ๒ ด้านนี้เป็นองค์ประกอบที่ทำให้เกิดความปกติสุข ของคนในระดับปัจเจก ซึ่งความปกติสุขในระดับปัจเจกจะประกอบจาก 4H คือ “Head” สมอง “Hand” ทักษะ “Health” สุขภาพ และ “Heart” จิตใจ ท้ายที่สุด เมื่อรวมกับภาพใหญ่ในระดับสังคมที่มี Hope-Happiness-Harmony ทั้งหมดจึงเป็นปัจจัยรวม 7H ที่จะต้องนำมาผนวกอยู่ในธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพฯ และทำให้สอดรับกับภาวะพลวัตโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
Open Integrated Platform : ทำงานบนพื้นที่เปิด
ในส่วนของหลักการสุดท้ายคือ “การทำงานบนพื้นที่เปิด” หรือการทำงานทั้งหมดบนแพลทฟอร์มแบบเปิดซึ่งภายใต้ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพฯอาจพูดถึง “Design Thinking”กระบวนการคิดและออกแบบเป้าหมายที่อยากได้
การหาความปกติสุขบนโลกที่ผันผวน จึงไม่ได้มี เพียงการออกแบบระบบ “System Desigท” เท่านั้น แต่ยังจะต้องรวมไปถึง “Mechanism Desigท” ออกแบบกลไกโดยรวม “Organization Design” มีหน่วยงานอะไรบ้างที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง “Instumental Design” มีองค์ประกอบเครื่องมือเชิงนโยบาย หรือรัฐสวัสดิการอะไร รวมไปถึง “Governance Design” การออกแบบที่จะนำมาสู่ธรรมาภิบาลอย่างไร ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญแต่ไม่ค่อยมีการออกแบบมาก่อนอย่างไรก็ตาม ในกรออกแบบทั้งหลาย จะต้องมองใน ๓ ส่วนเชื่อมโยงกัน คือ
“Design for People” การออกแบบให้ประชาชน
“Design with People” ร่วมกับ
ประชาชนในการออกแบบ และสุดท้ายคือ
“Designby People” ให้ประชาชนเป็นผู้ออกแบบ
เพราะท้ายที่สุดแล้วในบางเรื่องประชาชนย่อมเป็นผู้รู้มากที่สุด นอกจากนี้ในโลกที่ทุกคนอยู่บนความเป็นจริงหลายระดับ(Multiple Realties) ที่เชื่อมโยงตั้งแต่ตัวเองไปสู่ครอบครัวโรเรียนชุมชนจนถึงสังคมและโลกเราจึงต้องสร้างคนไทยให้มีบทบาทที่หลากหลาย (Multiple Roles) ตัวอย่างเช่น บทบาทของการเป็นคนท้องถิ่น (LocalCitizens) คนในชาติ (National Citizens) ตลอดจนคนของโลก (Global Citizens) เพราะบางอย่างอาจเป็นเรื่องปัจเจก ภูมิปัญญา หรือวัฒนธรรมชุมชน แต่บางเรื่องก็เป็นประเด็นร่วมกันของคนทั้งโลก การทำให้คนมีหลากบทบาท จึงจะทำให้เกิดภาวะที่เป็นปกติสุขได้ ขณะเดียวกัน เรื่องขององค์กรก็จะเข้ามามีบทบาทจากเดิมที่มีการออกแบบว่าหากรัฐล้มเหลว (Govern-ment Failure) ก็จะใช้ตลาดเป็นตัวนำ หากตลาดล้มเหลว(Market Failure) ก็จะใช้รัฐเป็นตัวนำ แต่เมื่อวันนี้โลกที่ไม่ใช่ใบเดิม มีปรากฎการณ์ที่รัฐและเอกชนล้มเหลวทั้งคู่ ที่จะนำไปสู่ระบบลัมเหลว (System Failure) ได้นั่นจึงเกิดเป็นองค์กรแบบใหม่ที่เป็นลูกผสม “Hybrid” เพื่อให้ทำงานร่วมกันได้ระหว่างรัฐ เอกชนและประชาชน ไม่ว่าจะเป็นภาคประชาสังคม (CSO) หุ้นส่วนมหาชน (PPP) หรือวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enteprise) ที่ออกมาช่วยกันขับเคลื่อนโดยอาศัยข้อดีของแต่ละส่วน มาทำงานร่วมกัน ท้ายที่สุดในการออกแบบอนาคต เรื่องสำคัญยังเป็นการออกแบบระบบราชการเพื่ออนาคต ที่จะต้องเป็น”Digital Govenment” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะการเป็นดิจิทัลจะมาพร้อมกับประสิทธิภาพ และความโปร่งใสที่ดีขึ้น มีส่วนสร้างให้เป็น “Credible Govern-men” รัฐบาลที่น่าเชื่อถือ และเมื่อรวมกับพลวัตโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจึงต้องมีองค์ประกอบสุดท้ายคือ “Experimental Govenment” เป็นรัฐบาลที่สามารถทดสอบทดลองนโยบายและมาตรการใหม่ๆเพื่อปรับเปลี่ยนให้ทันพลวัตโลก
หลักเดียวกันนี้ยังเป็นการออกแบบระบบชุมชนที่จะต้องเป็น Digital Community, Credible Community และ Experimental Community ด้วยเช่นกัน คือพื้นที่ที่เท่าทันดิทัลมีความน่าเชื่อถือ ลดทอนอิทธิพลท้องถิ่นและสามารถทดลองทดสอบจนค้นพบสิ่งที่เหมาะกับภูมิสังคมนั้นๆ เมื่อรวมกันทั้งหมดจึงจะตอบโจทย์การนำวิสัยทัศน์ไปสู่การลงมือทำได้
สร้างสังคมสุขภาวะแห่งความยั่งยืน
ดร.สุวิทย์ สรุปว่า ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพฯฉบับที่ ๓ จะต้องนำ Vision ไปสู Action ได้ โดยที่ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม บนความเข้าใจในภาพใหญ่เดียวกัน และการที่จะหาเจตจำนงร่วมได้ ก็ต้องอนุญาตให้ทุกฝ่ายได้เข้ามาอยู่บนพื้นที่กลางร่วมกัน บนความจริงที่ว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีความเหลือมล้ำ ซึ่งไม่ใช่แค่ด้านรายได้แต่ยังเป็นความเหลื่อมล้ำทั้งด้านทรัพย์สิน โอกาส การศึกษา หรืออำนาจ ฯลฯ และการปลดล็อคทั้งหมดล้วนมีทางออก แต่ต้องอาศัยความกล้าและมุมมองทางการเมืองเข้ามาร่วมด้วย”
คำว่าสุขภาวะ ในที่นี้จึงเป็นเรื่องใหญ่ เพราะไม่ใช่เพียงแค่สุขภาพทางกายภาพ แต่เป็นสุขภาพของสังคมที่แยกออกจากกันไม่ได้” ดร.สุวิทย์ ขมวดประเด็น
นอกจากนี้ดร.สุวิทย์ยังบอกอีกว่า ปัญหาความบกพร่องในสังคมไทยไม่ว่จะเป็นวัตถุนิยมบริโภคนิยมอำนาจนิยมอุปถัมภ์นิยม สิ่งเหล่านี้จะต้องค่อยๆหมดไป หากสามารถสร้างสังคมที่ Clean & Clear, Free & Fair และ Care & Share ได้ เรื่องของเศรษฐกิจ ขีดความสามารถ หรือประชาธิปไตย ก็จะตามมา
ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ จึงเป็น “ทุกขภาวะ” ที่ทุกฝ่ายต้องเข้ามาช่วยกันมองภาพใหญ่ให้ออก และเขียนธรรมนูญ ว่าด้วยระบบสุขภาพฯ ขึ้นมาเพื่อให้ตอบโจทย์สถานการณ์ปัจจุบัน ที่จะนำไปสู่อนาคตได้จริง มีความเป็นสากล สุดท้ายธรรมนูญนี้ควรสร้าง “Ecosystem” หรือระบบนิเวศเพื่อเอื้อให้เกิดสังคมที่เป็นธรรม สังคมแห่งโอกาส และสังคมที่เกื้อกูลแบ่งปัน
ดร.สุวิทย์ ทิ้งท้ายว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยมักจะเป็นแบบ Short-term Gain, Long-term Loss กล่าวคือทำอะไรง่ายๆ เน้นประชานิยม แต่ระยะยาวไม่ยั่งยืน ซึ่งธรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพฯ ฉบับใหม่นี้จะต้องเป็น Short-term Loss แต่ Long-term Gain แน่นอน ในช่วงแรกทุกคนอาจต้องเผชิญความยากบ้าง ฉะนั้นเราต้องมี New Culture มี New Mindset ซึ่งมั่นใจว่าเราจะทำให้เกิดความยั่งยืนได้จริงอย่างแน่นอน
ข้อมูลจาก ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ Dr. Suvit Maesincee
https://www.facebook.com/1385294465110613/posts/2057092941264092/
You must be logged in to post a comment Login