Connect with us

Music

12 กันยายน 2453 กุสตาฟ มาห์เลอร์ คีตกรชาว ออสเตรีย-โบฮีเมีย เปิดทำการแสดง ซิมโฟนีหมายเลข 8 รอบปฐมทัศน์

Published

on

กุสตาฟ มาห์เลอร์ (Gustav Mahler) คีตกรและวาทยกรชาวโบฮีเมีย-ออสเตรีย 
เมื่อยังมีชีวิตอยู่ มาเลอร์ เป็นที่รู้จัก ในฐานะวาทยากรชื่อดังแห่งยุค หลังจากเสียชีวิตจนปัจจุบัน
ผลงานด้านกรประพันธ์เพลงของมาเลอร์ จึงได้รับการยอมรับในฐานะคีตกรแห่งยุคนีโอโรแมนติก 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากบทประพันธ์แบบซิมโฟนี และบทเพลงร้องเช่น เพลง Das Lied von der Erde 
(เพลงแห่งพิภพ) ซึ่งถือเป็นสุดยอดบทเพลงขับร้องที่ มาเลอร์ ประพันธ์ขึ้น
ส่วนซิมโฟนีหมายเลข 3 ซึ่งใช้เวลาในการบรรเลงยาวนานถึง 95 นาที ถือว่าเป็นซิมโฟนีที่ยาวที่สุด
ที่เคยมีการเปิดแสดงกันมา และยังชื่อได้ว่า เป็นซิมโฟนีที่ยาวที่สุด ในบรรดาซิมโฟนี ทั้งหลายอีกด้วย

กุสตาฟ มาห์เลอร์ เกิดในครอบครัวเชื้อสายยิวซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองคาลิชท์ แคว้นโบฮีเมีย 
ต่อมา บิดามารดาของเขาได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองจิห์ลาวา มาห์เลอร์ จึงเติบโตในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี 
บิดามารดาของมาห์เลอร์ สังเกตเห็นความสามารถทางดนตรีของเขาตั้งแต่วัยเด็ก
จึงสนับสนุนให้เขาได้เรียนเปียโนตั้งแต่อายุหกขวบ
ปี 1875 เมื่ออายุได้ 15 ปีมาห์เลอร์ เข้าศึกษาmuj วิทยาลัยดนตรี แห่งกรุงเวียนนา 
ที่นี่เอง ที่เขาได้เรียนเปียโนกับจูเลียส เอปสไตน์

สามปีต่อมา มาห์เลอร์ได้เข้าศึกษาใน มหาวิทยาลัยเวียนนา ซึ่ง อันโตน บรูคเนอร์ เป็นอาจารย์ประจำอยู่
Ffpในระหว่างเรียนในมหาวิทยาลัย เขาได้ทำงานพิเศษเป็นครูสอนดนตรี รวมถึงได้ลองประพันธ์เพลง
เป็นครั้งแรก เป็นเพลงร้องที่มีชื่อว่า Das klagende Lied ซึ่งต่อมาภายหลัง
ได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็น คันตาต้า เพื่อได้ส่งเข้าประกวด แต่ก็ต้องผิดหวัง

ในปี 1880 มาห์เลอร์ ได้เริ่มทำงานในตำแหน่งวาทยากร เป็นงานชั่วคราวช่วงฤดูร้อนที่โรงละครแบดฮอลล์
ต่อมา เขาได้ทำงานวาทยากร ให้โรงอุปรากรใหญ่ๆหลายแห่งเช่นโรงอุปรากร เมืองลุบลานาในปี 1881
เมืองโอโลมุค ในปี 1882 เมืองคาสเซล ในปี 1884 กรุงปราก ในปี 1885 เมืองไลป์ซิก ในปี 1886
และที่กรุงบูดาเปสต์ ในปี 1888 ส่วนใหญ่เป็นงานไม่ยาวนาน

ช่วงเริ่มต้นของโน๊ตเพลง Lieder eines fahrenden Gesellen, ตีพิมพ์ในปี 1897 สำหรับเสียงร้องและเปียโน
ภาพจาก Gustav Mahler – Wikipedia

ในปี 1887 เขาได้ทำหน้าที่เป็นวาทยกร ควบคุมการบรรเลงอุปรากรชุดของริชาร์ด วากเนอร์ ที่มีชื่อว่าเดอะ ริง 
แทนที่อาร์ตู นิคิช ที่ล้มป่วย ซึ่งมาห์เลอร์ได้ทำหน้าที่อย่างดีเยี่ยม สร้างความประทับใจให้แก่สาธารณชน
และนักวิจารณ์

โรงอุปรากรแห่งกรุงเวียนนา ที่ทำงานของ กุสตาฟ มาห์เลอร์ The Vienna Hofoper (now Staatsoper),
pictured in 1898 during Mahler’s conductorship

ภาพจาก Gustav Mahler – Wikipedia

มาห์เลอร์ ได้ประพันธ์อุปรากรเรื่อง Die drei Pintos ซึ่ง คาร์ล มาเรีย ฟอน เวเบอร์ประพันธ์ไว้ไม่จบ
หนึ่งปีให้หลังผลงานของ มาห์เลอร์ ก็ประสบความสำเร็จอย่างสูง สร้างทั้งชื่อเสียงและรายได้ให้อย่างมาก
มาห์เลอร์ ได้รับงานระยะยาว ตำแหน่งแรกที่โรงอุปรากรแห่งนครฮัมบูร์ค ตั้งแต่ปี 1891 จนถึงปี 1897
ในช่วงเวลาดังกล่าว เมื่อมีเวลาว่าง ก็มักจะไปพักร้อนที่เมืองสไตน์บาค-อัม-อัทเทอร์ซี ในออสเตรียตอนเหนือ
ทุ่มเทเวลาให้การประพันธ์เพลง จนแต่ง ซิมโฟนีหมายเลข 1 รวมถึงบทเพลงส่วนใหญ่ในเพลงชุดขับร้อง 
และแตรมหัศจรรย์แห่งวัยเยาว์(Des Knaben Wunderhorn) ซึ่งเป็นการรวมเพลงชื่อเดียวกันกับบทกวีพื้นบ้าน

กุสตาฟ มาห์เลอร์และอัลมา มาเรีย ชินด์เลอร์ ภาพจาก suffering brings joy? – Cor van Leeuwen Image Credit: Moritz Nahr‎

ปี 1902 มาห์เลอร์ ได้พบกับอัลมา มาเรีย ชินด์เลอร์ ทั้งสองรู้สึกถูกชะตา ชอบพอกันตั้งแต่แรกพบ
ก่อนที่จะตกลงใจแต่งงานกัน หลังจากคบหาดูใจกันไม่กี่เดือน ทั้งคู่มีลูกสาว 2 คนเกิดปี 1902 และ ปี 1904

ช่วงที่มาห์เลอร์รับงานที่กรุงนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ปลายปี 1910 ได้เริ่มป่วยด้วยอาการไอ เจ็บคออย่างรุนแรง
จากสภาพอากาศที่หนาวเย็นของนิวยอร์ค 8 เมษายน 1911 มาห์เลอร์และภรรยาจึงเดินทางกลับยุโรป
10 วันหลังจากออกเดินทางก็ถึงปารีส หลังจากแวะให้หมอดูอาการที่ปารีส แล้วจึงนั่งรถไฟไปเวียนนา
อาการป่วยก็รุนแรงเข้าขั้นวิกฤติ ก่อนที่จะเสียชีวิตลงในวันที่ 18 พฤษภาคม 1911 ด้วยอาการปอดบวม

ตั๋วเข้สชมคอนเสิร์ตรองปฐมทัศน์ของ ซิมโฟนีหมายเลข 8 ภาพจาก Symphony No. 8 (Mahler) – Wikipedia

ซิมโฟนีหมายเลข 8 ในบันไดเสียง อี แฟลต เมเจอร์ ผลงานของกุสตาฟ มาห์เลอร์ เป็นงานประพันธ์ดนตรี
สำหรับการร้องประสานเสียงประกอบดนตรีจากวงออร์เคสตรา เป็นหนึ่งในงานดนตรีคลาสสิกขนาดใหญ่
ต้องใช้กลุ่มเครื่องดนตรี และนักร้องประสานเสียงจำนวนมาก จนผู้คนเรียกขานซิมโฟนีบทนี้ว่า
“ซิมโฟนีที่ใช้คนนับพัน” (Symphony of a Thousand,หมายถึงต้องใช้นักดนตรีและนักร้องประสาน
เกือบพันคนสำหรับการแสดง) มาห์เลอร์เองก็ไม่ได้โต้แย้งใดๆ ที่มีคนเรียกซิมโฟนีบทนี้ เช่นนั้น

หน้าแรกของโน๊ตเพลงในชุด ซิมโฟนีหมายเลข 8 ภาพจาก Symphony No. 8 (Mahler) – Wikipedia

มาห์เลอร์ ประพันธ์ซิมโฟนีบทนี้ในช่วงฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1906 ขณะพำนักอยู่ที่เมือง Maiernigg
ทางตอนใต้ของออสเตรีย ถือได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง นับตั้งแต่การแสดงรอบปฐมทัศน์
ที่โรงละคร Neue Musik-Festhalle เมืองมิวนิค เมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1910
ซึ่งมาห์เลอร์เป็นผู้อำนวยเพลงด้วยตนเอง มีความยาวของเพลงประมาณ 85 นาที

โน๊ตเพลงในชุด ซิมโฟนีหมายเลข 8 ท่อนประสานเสียง ภาพจาก Symphony No. 8 (Mahler) – Wikipedia

ซิมโฟนีบทนี้ มาห์เลอร์ใช้รูปแบบแตกต่างไปจากซิมโฟนีทั่วไปที่แบ่งออกเป็น 4 มูฟเมนต์
โดย ซิมโฟนีหมายเลข 8 ได้แบ่งออกเป็น 2 ภาค ภาคแรกมาห์เลอร์นำบทร้องมาจาก
บทเพลงฮิมน์เก่าแก่ต้นฉบับภาษาละติน ชื่อ Veni creator spiritus (Come creator Spirit)
ผลงานของราบานุส เมาริอุส บาทหลวงชาวแฟรงก์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 9
ส่วนภาคสองมาห์เลอร์นำมาจากท่อนจบของบทละครภาษาเยอรมัน เรื่อง เฟาสต์ 
ของ โยฮันน์ วูล์ฟกัง ฟอน เกอเธ่ 
ตอนดวงวิญญาณของเฟาตุส หลุดพ้นจากอำนาจของเจ้าแห่งปิศาจเมฟิสโตฟิลีส

คอนเสิร์ต ซิมโฟนีหมายเลข 8 บรรเลงโดยวงเนเธอร์แลนด์ ฟิลฮาร์โมนิค ออร์เครสตร้า
MAHLER | Symphony no. 8 | Netherlands Philharmonic Orchestra | Marc Albrecht | Concertgebouw – YouTube

ข้อมูลจาก
Symphony No. 8 (Mahler) – Wikipedia
Gustav Mahler – Wikipedia
กุสทัฟ มาเลอร์ – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)
ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: