Connect with us

Uncategorized

11 ตุลา 2475 “กบฏบวรเดช” และ อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญที่หายไป

Published

on

“อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ” โบราณสถานที่หายไปอย่างไร้คำตอบ สร้างความสนใจให้ประชาชนหันมาตั้งคำถามว่า ที่มาที่ไปของอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญคืออะไร สำคัญอย่างไร 

สำหรับที่มาของการสร้างอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญนี้ มีความสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2476 เมื่อมีบุคคลคณะหนึ่งที่ประกอบด้วยทหารและพลเรือน เรียกตัวเองว่า “คณะกู้บ้านเมือง” มี นายพลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เป็นผู้นำ ได้นำทหารจำนวนมากจากหัวเมือง ทั้งจากอุบลราชธานี นครราชสีมา สระบุรี อยุธยา นครสวรรค์ พิษณุโลก ปราจีนบุรี ราชบุรี และเพชรบุรี มายึดบริเวณดอนเมือง เพื่อบีบบังคับให้รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนาลาออกหรือปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของคณะกู้บ้านเมือง

ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลได้ส่งตัวแทนไปเจรจากับคณะกู้บ้านเมืองให้ล้มเลิกความคิดล้มล้างรัฐบาล และถอนทหารกลับสู่ที่ตั้งแต่กลับไม่เป็นผล ดังนั้น พระยาพหลฯ จึงตั้งให้หลวงพิบูลสงครามเป็นแม่ทัพคุมกำลังทหารออกปราบปรามฝ่ายคณะกู้บ้านเมือง โดยมีการปะทะกันที่บางเขนตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม จนถึงวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2576 ฝ่ายคณะกู้บ้านเมืองได้พ่ายแพ้ พระองค์เจ้าบวรเดชทรงลี้ภัยไปอินโดจีน แต่อย่างไรก็ตาม ฝ่ายรัฐบาลได้สูญเสียทหารและตำรวจจำนวน 17 นาย ในการปกป้องระบอบรัฐธรรมนูญครั้งนี้

นับว่าเป็นการก่อกบฏครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่ประเทศไทยมีการเปลี่ยนการปกครอง ปี พ.ศ.2475 เพียงปีเดียวเท่านั้น

หลังเหตุการณ์สงบเรียบร้อย รัฐบาลได้นำศพของผู้เสียชีวิตมาทำบุญอุทิศส่วนกุศล ณ วัดราชาธิวาส และได้จัดพิธีฌาปนกิจอย่างยิ่งใหญ่บนท้องสนามหลวงอย่างสมเกียรติในฐานะวีรชนของชาติ ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการจัดงานศพของสามัญชนบนท้องสนามหลวง

จากนั้นได้บรรจุอัฐิไว้ในปลอกกระสุนปืนใหญ่ทองเหลืองตามประเพณีของทหารและตั้งไว้ที่กรมกองต้นสังกัดของเหล่าทหารและตำรวจทั้ง 17 นาย เป็นเวลา 3 ปี ต่อมาเมื่อทางราชการสร้างอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ที่ตำบลหลักสี่ อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร จึงนำอัฐิของวีรชน 17 นาย มาบรรจุไว้ที่อนุสาวรีย์

 โดยแนวคิดที่จะสร้างอนุสาวรีย์ เริ่มตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2476 ก่อนที่จะมีพิธีฌาปนกิจทหารและตำรวจที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดช ณ ท้องสนามหลวง โดยในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2477 พระยาพหลฯ นายกรัฐมนตรีขอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาญัตติด่วนเรื่อง “ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นเพื่อขยายและตัดถนนเชื่อมคมนาคมกรุงเทพพระมหานครกับดอนเมือง และเพื่อสร้างอนุสาวรีย์ทหารปราบกบฏ พ.ศ. 2476”

อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ยังมีชื่อเรียกอื่นๆ อีกมากมายที่คนมักนิยมเรียกกัน เช่น ถ้าเรียกตามสถานที่ก็เรียกกันว่าอนุสาวรีย์หลักสี่ ถ้าเรียกกันตามเหตุการณ์ก็เรียกกันว่าอนุสาวรีย์ปราบกบฏ และยังมีบางคนเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าอนุสาวรีย์หลวงอำนวยสงคราม

นอกจากนนี้ยังเป็นที่มาของ วัด ถนน สถานีตำรวจ ต่างๆ เช่น 

ถนนจากสนามเป้าไปดอนเมือง เป็นการตัดถนนเส้นนี้ขึ้นเพื่อยุทธศาสตร์ทางการทหารในการควบคุมพื้นที่ ดอนเมืองและต้องการพัฒนาสนามบินดอนเมืองในเชิงพาณิชย์ โดยเหตุผลนี้อยู่ในการเสนอญัตติของการสร้างอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ

วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร คือวันที่สร้างขึ้นหลังจากที่สร้างอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญเมื่อปี พ.ศ. 2483  โดยในสมับจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ได้เสนอคณะรัฐมนตรีให้สร้างวัดใกล้เคียงกับอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นอนุสรณ์การปกครองระบอบประชาธิปไตย และกำหนดให้แล้วเสร็จทันวันชาติ คือวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้สร้างวัดขึ้นโดยให้ชื่อว่า วัดประชาธิปไตย และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหารในปัจจุบัน

ถนนสายกรุงเทพฯ-ดอนเมือง หรือถนนประชาธิปัตย์ (ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๔๙๓ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ‘ถนนพหลโยธิน’ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)) ซึ่งเป็นถนนใหญ่จากถนนยิงเป้า (สนามเป้า) ไปยังดอนเมือง กับถนนที่ตัดจากสถานีรถไฟหลักสี่ (ต่อมาเป็นส่วนหนึ่งของถนนแจ้งวัฒนะ) โดยลานนี้มีขนาดกว้าง ๑๒๒.๕๐ เมตร ยาว ๙๐.๐๐ เมตร และตามกฎหมายฉบับนี้ให้ถือว่าลานนี้เป็นส่วนหนึ่งของถนนอีกด้วย 

นับว่าเหตุการณ์ในครั้งนั้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างในทุ่งบางเขนเกิดขึ้น แต่ปัจจุบันอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ยังไม่ได้รับคำตอบว่าหายไปไหนและหายไปได้อย่างไร ทั้งๆที่ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน หรือนี่จะเป็นการเปลี่ยนอะไรบางอย่างอีกครั้ง ก็เป็นได้

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: