Connect with us

Published

on

            นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่กำลังเป็นที่พูดถึง อย่าง “หิมะสีชมพู” บริเวณธารน้ำแข็งเปรเซนา ที่เทือกเขาแอลป์ ในเขตประเทศอิตาลี ซึ่งปรากฎการณ์ดังกล่าวเรียกว่า Chlamydomonas nivalis ซึ่งจะพบได้ในเกาะกรีนแลนด์รวมทั้งทุ่งหิมะในเทือกเขาแอลป์ และแถบขั้วโลก

            สีชมพู หรือสีแดงที่พบนั้นเป็นสาหร่ายชนิดหนึ่งซึ่งส่งผลทำให้หิมะมีสีชมพูนั่นเอง ซึ่งบรรดาดนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าปรากฎการณ์ดังกล่าวไม่ใช่เรื่องดีสำหรับปัญหาโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ โดยตามปกติน้ำแข็งจะสะท้อนรังสีดวงอาทิตย์ขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศได้กว่าร้อยละ 80 แต่การมีสาหร่ายชนิดนี้เกิดขึ้นทำให้สูญเสียการสะท้อนความร้อนออกไป อีกทั้งยังดูดซับความร้อนเอาไว้มากขึ้นทำให้ธารน้ำแข็งละลายเร็วขึ้นส่งผลทำให้การเจริญเติบโตของสาหร่ายนั้นเร็วมากขึ้น จนกลายเป็นวัฏจักรที่เป็นอันตรายต่อสภาพภูมิอากาศ

            จากการศึกษาเมื่อปีที่แล้วเตือนว่า ครึ่งหนึ่งของธารน้ำแข็ง 4,000 แห่งในแถบเทือกเขาแอลป์จะละลายภายในอีก 30 ปี ซึ่งเป็นผลมาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ทั่งโลก โดย 2 ใน 3 ของธารน้ำแข็งจะหายไปในปี 2100

ผลจากการที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นจะทำให้น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือละลายไปในฤดูร้อน ซึ่งจะส่งผลทำให้สัตว์ และพืชต้องพบกับจดจบเพราะที่อยู่อาศัยนั้นเล็กลงไปทุกขณะนั่นเอง

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: