Connect with us

Published

on

ไทยผลักดัน พ.ร.บ.โลกร้อน ควมคุมการปล่อยก๊าซจากผู้ประกอบการเอกชน

ไทยอุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1-1.5 องศาเซลเซียส สผ. เตรียมผลักดัน พ.ร.บ.โลกร้อน ภายใน 2 ปี ควบคุมเอกชนส่งข้อมูลรายงานการปล่อยก๊าซ

เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2563  สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) จัดงานประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะทั่วประเทศ เพื่อให้ภาคส่วนต่างๆ ร่วมแสดงความเห็นต่อการออกกฎหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ดร.รวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เผยว่า “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นวาระร่วมของประชาคมโลกและเป็นเรื่องของเราทุกคน การออก พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานของประเทศไทย ซึ่งเราจำเป็นต้องยกระดับการทำงานเรื่องนี้ เพราะการค้าขายกับต่างประเทศจะถูกบังคับด้วยกรอบสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น”

หลังจากที่ไทยได้ให้สัตยาบันเข้าร่วมข้อตกลงปารีส เมื่อปี พ.ศ. 2559 โดยมีเป้าหมายเพื่อควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส และลดการปล่อบก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยในภาคพลังงานและการขนส่งไทยมีเป้าลดการปล่อยให้ได้ 11-20% และจะขยับขึ้นเป็น 20% ทุกภาคส่วนในปี 2573 ซึ่งสามารถผลักดันให้ได้ถึง 25% หากมีการสนับสนุนทางเทคโนโลยี

โดยจุดประสงค์ของ พ.ร.บ. ฉบับนี้คือการร่วมมือกับภาคเอกชนและผู้ประกอบการทั้งรายเล็กและใหญ่ เพื่อเก็บข้อมูลกิจกรรมการปล่อย กักเก็บ และลดก๊าซเรือนกระจกต่างๆ ในกิจการของตน และจัดทำรายงานให้กับหน่วยงานรัฐในกำกับ เพื่อให้สามารถคำนวณออกมาเป็นข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคส่วนต่างๆ แต่อาจมีผู้ประกอบการบางรายที่อาจได้รับการยกเว้น เช่น กรณีที่การรายงานข้อมูลเสี่ยงทำให้ความลับทางธุรกิจรั่วไหล ในกิจการที่มีคู่แข่งน้อยราย  

เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีการเก็บข้อมูลจากภาคเอกชน เป็นเพียงการขอความอนุเคราะห์เท่านั้น ทำให้อุตสาหกรรมไม่มีการจัดเก็บการปล่อยก๊าซเป็นสัดส่วน ดังนั้น พ.ร.บ.ฉบับนี้จะสามารถทำให้หน่วยงานรัฐสามารถใช้อำนาจในการเก็บข้อมูลเพื่อตรวจวัดได้  โดยจะเป็นการเปิดเผยข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกต่อสาธารณะ (ที่อาจหักลบกับกิจกรรม CSR แล้ว) แต่ไม่จำเป็นต้องแจกรายละเอียดของกิจกรรม โดยมีข้อยกเว้น 

คาดว่าจะสามารถเสนอร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ให้คณะรัฐมนตรีได้ภายในปลายปีนี้ โดยหลังจากที่ พ.ร.บ.ออกบังคับใช้แล้วจะมีการออกแผนแม่บทและแผนปฏิบัติต่างๆ ตามมา หาก พ.ร.บ. ฉบับนี้ผ่าน ประเทศไทยก็จะเป็นประเทศต้นๆ ที่มีการบังคับใช้

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: