ในเวทีแทนคุณประเทศไทย โดยอาจารย์นพพร วิสุทธิศักดิ์ชัย และ ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์เกษมศรี นักเคลื่อนไหวด้านการปฏิรูปพลังงาน ได้พูดคุยกันถึงเรื่องการถวายฎีกาโดยตรง ต่อพระมหาษัตริย์ว่า เป็นสิ่งที่สามารถทำได้หรือไม่
ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์ ได้กล่าวว่า ในสมัยรัชกาลที่ 4 ประชาชนสามารถถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ได้ด้วยตัวเองเลยและก็มีระบุไว้ชัดเจนว่า พระมหากษัตริย์มีหน้าที่ในการรับฎีกาที่ประชาชนมาถวายด้วย โดยฎีกาส่วนใหญ่จะเป็นข้อร้องทุกข์เรื่องข้าราชการทุจริต หรือข้าราชการปกครองไม่เป็นธรรม ทั้งนี้ในสมัยรัชกาลที่ 9 ก็เคยมีประชาชนถวายฎีกาโดยเขียนเป็นจดหมายแล้วซ่อนไว้ใต้พวงมาลัย และนำไปถวายพระองค์โดยตรง
” หน่วยงานภาครัฐอาจจะไม่ชอบให้มีการถวายฎีกา ก็น่าจะเป็นข้าราชการนี่แหละ เพราะเรื่องราวส่วนใหญ่ที่นำมาถวายฎีกานั้น ก็คือเรื่องราวการฉ้อราษฏร์บังหลวงของหน่วยงานราชการแทบทั้งสิ้น ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์การแย่งชิงฏีการะหว่างข้าราชการกับประชาชนที่จะถวาย ซึ่งก็เป็นเรื่องจริงที่เคยมีการบันทึกไว้ในอดีต ”
ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์ ยังเล่าต่อว่า โดยส่วนตัวแล้วก็เคยถวายฎีกาต่อพระเจ้าแผ่นดินเหมือนกัน โดยในครั้งนั้นให้ลูกน้องไปยื่นให้ ผลปรากฏว่าขั้นตอนต่างๆยุ่งยากมาก ลูกน้องคนที่ไปยื่นบ้านที่อยู่ต่างจังหวัดก็โดนตรวจสอบ จะไปสมัครเป็นจิตอาสาก็ไม่สามารถทำได้ ทั้งที่ข้อความในจดหมายนั้นเขียนด้วยถ้อยคำสุภาพทุกอย่าง และมีหลักฐานอ้างอิงเป็นเอกสารหนาเป็นปึกๆ และตนเองก็เป็นคนเซ็นชื่อผู้ร้องเองด้วย ซึ่งก็ทำให้เข้าใจได้ว่าฎีกาที่ตนร้องทุกข์ไปนั้น ไม่น่าจะถึงพระหัตถ์ของพระองค์ จึงไม่มีข้อวินิจฉัยใดๆกล้บลงมา และนี่เองที่ทำให้การสื่อสารระหว่างกษัตริย์ก้บประชาชนดูห่างเหิน และไม่ประสานกันเท่าที่ควร
ด้านอาจารย์นพพร ก็ได้แสดงความเห็นด้วยว่า ฎีกาที่กลุ่มม็อบถวายเมื่อหลายวันก่อนนั้น ลักษณะเหมือนไม่ใช่ฎีกาแต่เป็นจดหมายเชิงต่อว่า ตำหนิสถาบันพระมหากษัตริย์มากกว่า ซึ่งก็ผิดตั้งแต่วิธีการแล้ว ที่เอาตู้จดหมายที่เขียนหน้าตู้ว่า ” สำนักพระราชวัง ” มาวางกันเอง แล้วแจกกระดาษเปล่าๆเขียนกันเดี๋ยวนั้นเลย แล้วหย่อนจดหมายลงไปในตู้ ซึ่งฎีกาแบบนี้ไม่น่าจะถึงพระมหากษัตริย์แน่นอน นั่นก็ทำให้เสียโอกาสในการได้ถวายฎีกาจริงๆไปนั่นเอง
ทั้งนี้ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ก็อยากฝากไปทางประชาชนผู้ที่จะถวาย ควรที่จะต้องใช้ถ้อยคำสุภาพไม่จาบจ้วงล่วงเกินต่อพระองค์ และเขียนฎีกาแบบที่มีเอกสารอ้างอิงประกอบ จะได้เป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อที่ฎีกานั้นจะได้ถึงมือพระองค์จริงๆ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ก็ควรจะอำนวยความสะดวกและทำระบบขั้นตอนการถวายฎีกาให้เข้าใจง่ายชัดเจน เมื่อมีผู้ยื่นถวายแล้ว ฎีกานั้นจะได้ถึงมือพระมหากษัตริย์จริงๆ ไม่เช่นนั้นภาครัฐเองจะกลายเป็นผู้ที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์และประชาชนดูห่างเหินและนำความความเข้าใจผิดมาสู่พระองค์
ทั้งนี้ ขั้นตอนการถวายฎีกายังมีอยู่จริง ประชาชนสามารถถวายฎีกาได้จริง และองค์พระมหากษัตริย์ก็สามารถรับฎีกาที่ถวายได้จริง นี่จึงเป็นขั้นตอนหนึ่งในการร้องทุกข์ที่ยังมีประสิทธิภาพอยู่นั่นเอง
You must be logged in to post a comment Login