Connect with us

Published

on

ขึ้นแท่นนั่งตำแหน่งหัวหน้าพรรคเป็นไปตามข่าวลือก่อนหน้านี้เรียบร้อยแล้วสำหรับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ แม้ก่อนหน้านี้เจ้าตัวจะปฏิเสธแบบน่ารักๆ ว่าไม่รู้เรื่องนี้มาก่อน นี่เป็นหนึ่งในแผนการที่เตรียมปรับครม. ของรัฐบาลและเตรียมปรับเก้าอี้รัฐมนตรีบางตำแหน่งออกที่ดูจะขัดแย้งกับผลงานที่ผ่านมา เอื้อผลประโยชน์ให้กับคนในข่าวที่จะเข้ามาเป็นรัฐมนตรี กลับมาวนลูปการเมืองเก่าๆ แบบเดิมๆ ทำให้ประชาชนไร้ศรัทธาเพราะไม่สามารถรักษาสัญญาที่เคยให้ไว้ก่อนเข้ามาเป็นรัฐบาลว่าจะสร้างการเมืองแบบให้ ปฏิรูปการเมืองและประเทศให้พ้นวงจรของการเมืองเดิมๆ 


    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง เหตุปัจจัย กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินการเก็บข้อมูลแบบผสมผสาน (Mixed Method) ทั้งการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ การลงพื้นที่ และการเก็บข้อมูลในโลกโซเชียล ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,187 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25-26 มิ.ย.2563 ที่ผ่านมา


    เมื่อสอบถามถึงเหตุปัจจัยของปัญหาด้านการเมืองการปกครอง พบว่า 
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.7 ระบุความล้มเหลวในการแก้ปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม 
รองลงมาคือร้อยละ 89.7 ระบุความเหลื่อมล้ำ เลือกปฏิบัติ ที่ประชาชนถูกกระทำ 
ร้อยละ 89.1 ระบุความไม่ชอบธรรมของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐเกิดขึ้นในทุกระดับ 
ร้อยละ 87.3 ระบุความไม่เชื่อมั่นต่อองค์กรอิสระ 
และร้อยละ 85.9 ระบุผู้หลักผู้ใหญ่ในรัฐบาล ไม่เป็นแบบอย่างที่ดีต่อเด็กและเยาวชน

ตัวเลขของผู้คนส่วนใหญ่ที่แสดงให้เห็นว่าประชาชนนั่นไม่ได้มีความไว้ใจและเห็นว่ารัฐบาลนั้นล้มเลวเป็นอย่างมากใมนการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ แม้ก่อนหน้านี้คะแนนความสามารถของรัฐบาลจะถูกประชาชนพร้อมใจกันเทใจให้เนื่องจากสามารถแก้ไขปัญหาของโรคระบาดโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี แต่ถึงเวลานี้การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยังคงอยู่และมีแววว่าจะยืดต่อไปอีก 1 เดือน ทั้งๆ ที่ไทยจะไม่พบผู้ติดเชื้อในประเทศเป็นเวลา 1 เดือนแล้วก็ตาม ทำให้ประชาชนมองว่ารัฐบาลต้องการรักษาอำนาจจากการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ภายหลังมีข่าวต่ออายุ ขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พบว่าแนวโน้มจุดยืนการเมืองของประชาชนต่อการสนับสนุนรัฐบาลลดฮวบลง จากร้อยละ 22.3 ในช่วงผ่อนปรนโควิด-19 เหลือร้อยละ 13.5 ในช่วงหลังมีข่าวต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

    ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามถึงการรับรู้ต่อความซื่อสัตย์ สุจริตของรัฐมนตรีทั้งสี่ ที่ตกเป็นข่าวจะถูกปรับออก พบผู้ที่ได้คะแนนความซื่อสัตย์ สุจริต สูงที่สุด ได้แก่ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ร้อยละ 59.3 รองลงมาคือ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร้อยละ 59.2, นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ร้อยละ 59.0 และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 52.5 ตามลำดับ
    อย่างไรก็ตาม ที่น่าเป็นห่วงคือ การรับรู้ต่อประวัติด่างพร้อย หรือเกี่ยวโยงทุจริต ผลประโยชน์ต่างตอบแทนบุญคุณของบางคนที่ตกเป็นข่าวจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรี พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.3 เคยได้ยินต่อบุคคลที่มีประวัติด่างพร้อย เกี่ยวโยงทุจริต ผลประโยชน์ต่างตอบแทนบุญคุณกัน เข้ามาจะถอนทุนคืน มีเพียงร้อยละ 9.7 เท่านั้นที่ไม่เคยได้ยิน

    นอกจากนี้ ที่น่าเป็นห่วงอีกคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.8 ระบุผู้หลักผู้ใหญ่ในรัฐบาลทำงานการเมืองเก่าแบบเดิม ที่เคยถูกอ้างก่อนการยึดอำนาจ ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 14.2 ระบุ รัฐบาลทำงานแบบการเมืองใหม่


การปรับครม.จะเกิดขึ้นในเร็วๆวันนี้ ประชาชนได้แต่หวังว่ารัฐบาลจะสามารถสร้างผลงานเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ ไม่ใช่เพื่อตอบแทนเก้าอี้และตำแหน่งทางการเมืองของใครคนใดคนหนึ่ง ในยุคที่ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ทันทีเป็นผลดีที่รัฐบาลจะสามารถเรียกศรัทธาประชาชนกลับมาเชื่อมั่นว่าจะนำพาประเทศไปในอนาคตที่ดีได้ ในทางกลับกันประชาชนก็สามารถเป็นพลังถอนรากถอนโคนการเมืองเก่าๆ ที่ตุกติกกับคำสัญญาต่อพวกเขาได้เช่นเดียวกัน ให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าอนาคตของประเทศไทย การเมืองที่พลังประชารัฐกำลังเดินเกมนี้อยู่นั้น “เพื่อประชาชนหรือเพื่อใคร”  

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: