Connect with us

News

นายวีรพงษ์ รามางกูร หรือ ดร.โกร่ง อดีตขุนพลทางเศรษฐกิจของรัฐบาลหลายสมัย เสียชีวิตแล้วในวัย 78 ปี

Published

on

ขอบคุณภาพประกอบจาก OPTIMISE – Optimum View (kkpfg.com)

นายวีรพงษ์ รามางกูร หรือ ดร.โกร่ง ได้เสียชีวิตลงอย่างสงบ ด้วยโรคมะเร็ง
ที่โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า อายุ 78 ปี ญาติ เตรียมนำศพบำเพ็ญกุศล
ที่วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร

นายวีรพงษ์ รามางกูร หรือ ดร.โกร่ง เดิมชื่อ ประดับ บุคคละ
เกิดเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2486 ที่กรุงเทพมหานคร
เป็นบุตรชายร้อยตำรวจตรี ประดิษฐ์ รามางกูร (แดง) หรือประดิษฐ์ บุคคละ
และนางบุญศรี รามางกูร (สกุลเดิม เกิดเล็ก) เชื้อสายฝ่ายปู่เป็นตระกูลเจ้านายลาวเวียงจันทน์
ผู้ปกครองเมืองธาตุพนม (เมืองพนม) ในอดีต เชื้อสายฝ่ายย่าเป็นตระกูลเจ้านายภูไทเมืองวัง
ผู้ปกครองเมืองเรณูนคร (เมืองเว) ในอดีต ปัจจุบันคืออำเภอธาตุพนม
และอำเภอเรณูนครในจังหวัดนครพนม

เมื่อวัยเด็กของ ดร.โกร่ง นั้นกรุงเทพมหานครเกิดสงคราม จึงได้ย้ายไปอาศัยอยู่กับยาย
ซึ่งมีอาชีพทำนา ที่อำเภอบางบ่อ โดยมีป้าเป็นผู้เลี้ยงดูใกล้ชิด ส่วนบิดาทำงานอยู่ที่โรงพักบางรัก
แล้วย้ายไปอยู่พญาไท ต่อมาได้ย้ายถิ่นฐานตามบิดาไปอยู่ที่อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
โดยอาศัยอยู่กับเจ้าพระอุปฮาต (เฮือง รามางกูร) ผู้เป็นปู่ ที่ธาตุพนมเป็นเวลาถึง 7 ปี
ด้วยปัญหาความขัดแย้งของตระกูลเจ้านายธาตุพนมเดิม เป็นเหตุให้เจ้าพระอุปฮาต (เฮือง รามางกูร)
ซึ่งแต่เดิมใช้สกุล บุคคละ ตามพี่ชายคนโตคือ เจ้าพระอัคร์บุตร (บุญมี บุคคละ)
เจ้าพระอุปฮาตได้ปรึกษากับบุตรชายคนรองคือ นายดวง รามางกูร ผู้มีศักดิ์เป็นลุงของดร.โกร่ง
จึงได้ตั้งสกุล รามางกูร ขึ้นใหม่ เป็นเหตุให้ทายาทสกุลบุคคละเดิม และดร.วีรพงษ์ต้องเปลี่ยนสกุล
จากบุคคละมาเป็นรามางกูรตามปู่และบิดาของตน

ดร.วีรพงษ์ รามางกูร เป็นคนเฉลียวฉลาดมีสติปัญญาดีมาก และมีความขยันขันแข็งพากเพียร
ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนจนเป็นอันดับ 1 ในชั้นเรียนมาโดยตลอด จนเป็นที่เล่าลือและชื่นชมในหมู่ญาติ
และครูอาจารย์ เมื่อวัยเยาว์ได้เข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาที่ตัวจังหวัดนครพนม
คือโรงเรียนเทศบาล 2 และโรงเรียนสุนทรวิจิตร จนจบประถม 4
ก่อนจะย้ายตามบิดาเข้ากรุงเทพมหานคร
ในปี พ.ศ. 2496 ฝ่ายบิดานั้นได้ประจำอยู่ที่สถานีตำรวจนครบาลยานนาวา
ดร.โกร่ง ได้เข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนศรีอยุธยา
เข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย
จากนั้นศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แผนกวิทยาศาสตร์
รุ่นเดียวกับสุรศักดิ์ นานานุกูล เมธี ครองแก้ว และศิริบุญ เนาถิ่นสุข
จากนั้นจบการศึกษาระดับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทอง เป็นคนแรก
จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในขณะที่ศึกษาอยู่
ก็สอบได้เป็นอันดับ 1 มาตลอดทุกเทอม



หลังจากจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2508 ดร.วีรพงษ์ ได้บรรจุเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำ
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แผนกวิชาการต่างประเทศและการทูต
ต่อมาร่วมมือกับ ศ. บำรุงสุข สีหอำไพ ก่อตั้งแผนกอิสระสื่อสารมวลชน ซึ่งต่อมาคือ
คณะนิเทศศาสตร์ แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ต่อมาได้รับทุนจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ เข้าศึกษาต่อทางด้านวิชาเศรษฐมิติ (Econometrics)
ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ใช้ชีวิตที่ประเทศสหรัฐอเมริกานาน 5 ปีครึ่ง
และมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์มอบทุนค่าใช้จ่ายให้มากสุดถึงเดือนละ 300 เหรียญ
เป็นเหตุให้หลังจากกลับจากการศึกษาต่อ วีรพงษ์สามารถสร้างบ้านส่วนตัวหลังแรกได้สำเร็จ

ต้นปี พ.ศ. 2515 ได้กลับมาเป็นอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แล้วดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์
พ.ศ. 2519 อุปสมบทที่วัดบวรนิเวศวิหาร สังกัดธรรมยุติกนิกาย
โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน)
เป็นพระอุปัชฌาย์

หลังปี พ.ศ. 2526 เข้าทำงานที่สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
จากนั้น พ.ศ. 2533 ได้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐบาลประเทศลาว

เป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการคลังในรัฐบาลของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
เคยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย
อดีตที่ปรึกษาเศรษฐกิจในหลายรัฐบาล
อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.)
ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
เป็นประธานกรรมการบริหาร บริษัท ​ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) ​จำกัด (มหาชน)​
กรรมการอิสระ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)

ข้อมูลจาก
วีรพงษ์ รามางกูร – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)
ขอบคุณภาพประกอบจาก OPTIMISE – Optimum View (kkpfg.com)

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: