Connect with us

On this day

วันที่ 4 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันชาติของสหรัฐอเมริกา

Published

on

เป็นวันหยุดสำคัญของชาติ เพื่อรำลึกถึงการประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกาจากอังกฤษ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ซึ่งมีใจความบางส่วนว่า

“สิบสามอาณานิคม ซึ่งในเวลานั้นกำลังทำสงครามอยู่กับราชอาณาจักรบริเตนใหญ่เป็นรัฐเอกราชแล้ว และดังนั้น ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอังกฤษอีกต่อไป”

คำประกาศอิสรภาพส่วนใหญ่ร่างโดยโธมัส เจฟเฟอร์สัน อธิบายเหตุผลอย่างเป็นทางการว่า เหตุใดสภาจึงลงมติเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม เพื่อประกาศอิสรภาพจากบริเตนใหญ่ ราวหนึ่งปีหลังจากการปะทุของสงครามปฏิวัติอเมริกัน จึงถือเป็นวันเกิดของสหรัฐอเมริกา หรือวันประกาศเอกราช มีการจัดงานเฉลิมฉลองขึ้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ซึ่งตรงกับวันครบรอบที่คำประกาศอิสรภาพได้รับการเห็นชอบโดยสภา

วันที่ 4 กรกฎาคม ชาวอเมริกัน จะจัดงานเลี้ยงรื่นเริงที่บ้าน ใช้เวลาอยู่กับครอบครัว รวมถึงจัดกิจกรรมกับสมาคม เฉลิมฉลองเดินขบวน จุดพลุ ดอกไม้ไฟ งานฉลองวันประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2319 (ค.ศ. 1776) หรือ 247 ปีมาแล้ว

สหรัฐอเมริกา แต่เดิมส่วนหนึ่งเคยอยู่ภายใต้การปกครองในอาณานิคมของสหราชอาณาจักร และคณะผู้แทนสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศอิสรภาพในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 อันมีใจความส่วนนึงว่า

“การกระทำของรัฐบาลอังกฤษในสมัยพระเจ้าจอร์จที่ 3 (George III) ได้สร้างความทุกข์แก่ชาวอาณานิคม จนทำให้ชาวอาณานิคมต้อง ล้มล้างการปกครองของอังกฤษ และสถาปนารัฐบาลขึ้นมาใหม่

สงครามแห่งการปฏิวัติของชาวอเมริกัน (American Revolutionary War) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1775 คำประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา ได้เกิดขึ้น 1 ปีกว่าหลังจากมีสงครามครั้งนั้น วันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1776 ริชาร์ด เฮนรี่ ลี ผู้แทนจากอาณานิคมเวอร์จิเนีย เสนอญัตติต่อที่ประชุมสภาว่า บรรดาอาณานิคมทั้งหมด ควรมีสิทธิเป็นอิสระจากอังกฤษ และได้ตั้งคณะกรรมาธิการ 5 คน เพื่อร่างคำประกาศอิสรภาพของอเมริกา

คณะกรรมาธิการร่างคำประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา 5 คน ประกอบด้วย จอห์น อดัมส์, โรเจอร์ เชอร์แมน, โรเบิร์ต อาร์. ลิฟวิงสตัน, โธมัส เจฟเฟอร์สัน และเบนจามิน แฟรงคลิน สภาพิจารณาในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1776 และได้กล่าวแถลงในวันที่ 4 กรกฎาคม ปีเดียวกัน

ใจความสำคัญของคำประกาศอิสรภาพ คือ
คำอธิบายว่าเหตุใดที่สิบสามอาณานิคมซึ่งทำสงครามกับราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ จึงได้ถือว่าพวกตนเป็นรัฐอธิปไตยเอกราชทั้งสิบสามรัฐ ไม่ได้อยู่ภายใต้การปกครองของบริติชอีกต่อไป ด้วยคำประกาศนี้ รัฐใหม่เหล่านี้ได้เริ่มก้าวแรกร่วมกันในการก่อตั้งสหรัฐอเมริกา คำประกาศนี้ลงนามโดยผู้แทนจากนิวแฮมป์เชียร์ อ่าวแมสซาชูเซตส์ โร้ดไอแลนด์ คอนเนตทิคัต นิวยอร์ก นิวเจอร์ซี่ย์ เพนซิลเวเนีย แมรี่แลนด์ เดลาแวร์ เวอร์จิเนีย นอร์ทแคโรไลน่า เซาท์แคโรไลน่า และจอร์เจีย

เอกสารใบคำประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา
ปัจจุบันถูกจัดแสดงอยู่ที่ห้องนิทรรศการหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในกรอบอัดก๊าซฮีเลียมเพื่อรักษาสภาพของกระดาษไว้

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: