ไวน์ฝรั่งเศสถูกยกให้เป็นไวน์ ‘ชั้น 1’ ของโลก อย่างไรก็ดี ฝรั่งเศสได้เทเครื่องดื่มประจำชาติชนิดนี้ทิ้งไปราว ๆ 300 ล้านลิตร โดยรัฐบาลฝรั่งเศสยอมจ่ายงบประมาณราว 7,000 ล้านบาทให้เกษตรกรที่ยอมทำลายไวน์ทิ้ง เพราะนี่คือ ‘ทางออกที่ดีที่สุด’ เนื่องจากไวน์ก็เหมือนกับสินค้าเกษตรอื่น ๆ ที่เกิดปัญหาผลผลิต ‘ล้นตลาด’ ได้เช่นกัน คือ มีสินค้ามากไปจนเฟ้อ ราคาก็เลยตกเหมือนแจกฟรี และเกษตรกรเดือดร้อน
เกษตรไร่องุ่นในประเทศฝรั่งเศสต้องเผชิญกับต้นทุนในการผลิตไวน์สูงมากในช่วง 2 ปีผ่านมา เริ่มจากราคาปุ๋ยถีบตัวสูงขึ้นเป็นผลจากรัสเซียทำสงครามกับยูเครน ทำให้กระทบการขนส่งปุ๋ย และขวดบรรจุไวน์ มายังฝรั่งเศส ท่ามกลางปัจจัยโลกร้อนที่กระทบต่อแผนการผลิตไวน์ที่ผันผวนตลอดเวลา
เกษตรกรฝรั่งเศสที่เป็นชาวไร่องุ่นในภูมิภาคบอร์โดซ์ (Bordeaux) ซึ่งเป็นแหล่งผลิตไวน์ของฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงโด่งดังของโลก เปิดเผยว่ารัฐบาลฝรั่งเศสพยายามจะจ่ายค่าจ้างให้ลดการผลิตไวน์ หรือให้เลิกปลูกองุ่น แล้วไปปลูกพืชชนิดอื่น เนื่องจากการผลิตไวน์ปัจจุบันนั้นมากเกินกว่าความต้องการของตลาดโลก ถ้าหากเกษตรชาวสวนองุ่นยังปลูกในปริมาณเดิมอีก ไวน์จะต้องโดนทำลายทิ้งอีกเช่นกัน
ในแง่พฤติกรรมการดื่มไวน์ พบว่าคนดื่มไวน์ลดน้อยลง แม้แต่คนรุ่นใหม่ ๆ ในฝรั่งเศสไม่นิยมดื่มไวน์กันแล้ว ในขณะที่อเมริกา พบว่าคนอเมริกันที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปเท่านั้นที่ดื่มไวน์กันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม คนในวัยอื่นในสหรัฐอเมริกาดื่มไวน์ลดน้อยลง
อย่าลืมกดติดตาม Tojo News เพื่อพบกับข่าวสาร และบทความใหม่ ๆ จากเรา
Line Today TOJO NEWS , ToJoNews