Connect with us

Business

ภาวะเศรษฐกิจไทย เรียกอะไรดีนะ

Published

on

โดย ปุ้ม ศิริวรรณ นพรัตน์

ภาวะเศรษฐกิจไทย เรียกอะไรดีนะ ขอ แชร์ คำว่า
เงินเฟ้อ
กำลังซื้อ
การลงทุนการออมเงินฝืด
และ STAGFLATION
เราทุกคน กำลัง เจอ ภาวะ ราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นมาจากต้นทุน
ราคาน้ำมัน การเดินทาง Logistic ที่ชะงักจากการระบาดของ Covid ขาดตู้ คอนเทนเนอร์
ความกลัว Covid แพร่กระจาย + มาตราการตรวจสอบสินค้าที่ส่งระหว่างประเทศ
สุดท้าย ทุกคน ทุกอาชีพ กลัวกำไรลด ก็ เพิ่ม ราคาสินค้าและค่าบริการของตัวเอง วน วนไป
(ค่าแรงเพิ่ม… หมูแพง ราคาอาหารจานเดียวขึ้น ทุกร้านบวกเพิ่ม….ไปทั้งระบบ)

ในอดีต..ในวิชาเศรษฐศาสตร์ เรียกภาวะแบบข้างต้นนี้ว่า…. เงินเฟ้อ จาก Cost Push Inflation
ส่วนเงินเฟ้ออีกแบบ เรียก Demand Push Inflation คือเศรษฐกิจเติบโต คนมีเงินมากกกก
(ประเทศพัฒนาแล้ว ค่าครองชีพสูง สิงคโปร์ ยุโรป สหรัฐ และ จีนในเมืองใหญ่ๆ)
แย่งกันซื้อสินค้าและบริการ ทำให้เจ้าของสินค้าบริการ มีของจำกัด ก็ต้องเพิ่มราคา
เงินเฟ้อ ทุกแบบเมื่อเกิดแล้ว ราคาสินค้าc]tบริการจะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้เงินที่เรามี ซื้อของได้ลดลง
เรียกว่า กำลังซื้อลดลง

และจากเดิมเวลาที่ เกิด วงจรเศรษฐกิจในช่วงการเติบโต มีการขยายตัว การเพิ่มค่าแรงทำได้ง่าย
เงินสดมีล้นในระบบเศรษฐกิจ จะผลิตอะไรก็มีกำลังซื้อ รองรับ เงินหมุนแบบตัวทวีคูณทำงาน
ส่วนภาครัฐใช้กลไก จากนโยบายของธนาคารกลาง ที่คุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ
โดยใช้ ดอกเบี้ย ดอกเบี้ยที่เพิ่ม ดึงปริมาณเงินออกจากระบบ ที่ล้นจนราคาสินค้าเพิ่ม
ดอกเบี้ยเพิ่ม ดังนั้น นำเงินไปออม ตามทฤษฏี Invesment = Saving = S
คือเงินที่เราไม่จำเป็นต้องใช้ เก็บออมเพื่อสร้าง Wealth และจัดการความเสี่ยง
เค้าจึงบอกว่า หากจะลงทุน อย่าใช้เงินจาก การกู้ยืม ไม่เหมือนธุรกิจที่เค้ากู้ยืมขยายธุรกิจ แยกให้ออก
และธุรกิจล้ม คนไม่ล้มเยอะนะคะ หรือ การที่ธุรกิจ นำมาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ก็เพื่อการหาแหล่งทุนต้นทุนดอกเบี้ยต่ำ
นักลงทุนบุคคล ก็ไม่เหมือนธุรกิจนะคะ หลักคิดต่างกัน สถานะการณ์วันนี้ เงินที่ทำ QE ล้นโลก
กดค่าเงินลดลง กำลังซื้อลด แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ การเพิ่มดอกเบี้ยของ FED คือการแก้ปัญหาเงินเฟ้อ
ว่า เศรษฐกิจโต มีตัวเลขการว่างงานลดลง หากสังเกตุให้ดี มีเพียงสิ่งที่สะท้อนไปในการเติบโต
ภาคธุรกิจการเงิน ตลาดหุ้น สินทรัพย์ต่างๆ ผันผวนเพื่อสร้างกำไร??? เท่านั้นหรือ
ภาวะของคนที่ไม่มีเงินเก็บ มีแต่หนี้ในการดำเนินชีวิตหมุนวนไปกู้ได้เรื่อยๆ(กลุ่มจนกระจายเพิ่มสูงขึ้น)ทั่วโลก

ภาพจาก https://kasikornresearch.com/

มองกลับมาที่ประเทศไทย เราเจอ ผลกระทบ ขัดแย้งเรื่องการเมือง การเปลี่ยนเพื่อพรรคพวกสูงมาก
และระบบเศรษฐกิจของไทย โครงสร้างหลวม เราต้องพึ่งพาต่างประเทศ ส่งออก รอเค้าสั่งซื้อ
ท่องเที่ยวรอเค้ามาเที่ยวใช้เงิน ที่ผ่านม ที่ดินถูกขาย แหล่งผลิตอาหารที่เป็นฐานการดำรงชีวิต
ไม่ได้อยู่กับคนทั่วๆไป
ทั้งโลก กำลังปรับระบบเศรษฐกิจยุคดิจิทัล ไทย เจอภาวะคนส่วนใหญ่ ที่ไม่เคยเก็บออมไม่มีเงินใช้
รัฐใส่เงินประคอง ภาวะเงินเฟ้อของคนไทย = ราคาสินค้าและบริการ
ที่ทำท่าจะเพิ่มราคาแรงมากขึ้น จากข่าวที่ได้ทราบในหลายมิติและคนไทย ก็เจอภาวะเงินฝืด
จากการได้เงินจากการทำงาน ลดลงในหลายอาชีพ ค่าจ้างจริงๆที่ได้ลดลง
ขายของแทบไม่ได้หรือไม่มีเงินสดไหลเข้ามา รัฐ ยืดการชำระหนี้ ลดดอกเบี้ยกู้ยืม
รอความหวัง การเปิดประเทศ ธุรกิจจะกลับมาคึกคัก? การมีอาชีพเป็นนักลงทุนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
คนหันเข้าหาการลงทุน หวังผลตอบแทน ทุกการลงทุน มีความเสี่ยง
ความผันผวน มีคำว่า ระยะสั้น กลาง ยาว และ มักจะจบที่คำว่า การเก็งกำไร
เมื่อเจอคลื่นความผันผวนและความสับสนว่า การใชัชีวิตในยุค
Go To The Moon แลัวก็กำลังก้าวสู่การ Go To The Mar

สรุป เมี่อปีที่แลัว คำว่า Stagflation คือ สิ่งที่ คนไทย กำลังฝ่ามรสุม ทั้งในประเทศและจากมหาอำนาจ
ความหมายในแบบเศรษฐศาสตร์ Stagflation หรือ Recession – เศรษฐกิจถดถอย
Inflation – ภาวะเงินเฟ้อ เป็นสถานการณ์ที่อัตราเงินเฟ้อสูง
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัว และการว่างงานยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง
มันแสดงให้เห็นถึงภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกสำหรับนโยบายเศรษฐกิจ
เนื่องจากการกระทำที่มุ่งเป้าไปที่ การลดอัตราเงินเฟ้ออาจทำให้การว่างงานรุนแรงขึ้น

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: