คุณริชาร์ด วัชราทิตย์ เกษศรี ได้ให้เกียรติเชิญ คุณบอม โอฬาร วีระนนท์ CEO & Co-founder, YAK GREEN (บจ.ยักษ์เขียว) และอดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ไปออกรายการเศรษฐกิจติดบ้าน ทาง Thai PBS โดยคุณวิทย์ สิทธิเวคิน ผู้ดำเนินรายการ ได้ร่วมพูดคุยในประเด็น “โอกาสของเศรษฐกิจไทย กับนโยบาย Vision 2030 ของประเทศซาอุดิอาระเบีย” เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2566
คุณวิทย์ สิทธิเวคิน ผู้ดำเนินรายการ
คุณบอม โอฬาร เผยว่าโอกาสที่ประเทศหนึ่งที่จะพัฒนานั้นมีอยู่ 3 มุมคือ เศรษฐกิจ, สังคม และการเมือง Vision 2030 นายกคนปัจจุบัน เจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ที่ได้รับตำแหน่งไปเมื่อช่วงเดือนกันยายน 2022 ได้ประกาศว่า 3 เดือนหลังได้รับตำแหน่งจะมี Vision 2030 ซึ่งมีเวลาเพียง 7 ปีในการเปลี่ยนประเทศแบบพลิกโฉม
ในเชิงสังคมตั้งเป้าหมายไว้ว่าทำให้อัตราการว่างงานลดลงที่จากเดิม 12% ให้ลดลงได้เหลือ 7% ภายใน 7 ปี ส่วนอย่างที่ 2 Foreign Direct Investment (เม็ดเงินการลงทุนจากต่างประเทศ) ที่ต้องพุ่งเข้าประเทศจาก 1% ขึ้นมาเป็น 5.7% และอีกประเด็นคือต้องการให้ผู้คนในประเทศมีบ้านให้ได้อย่างน้อย 70% ของประเทศ ซึ่งก่อนรับตำแหน่งมีเพียง 47% สำหรับเชิงเศรษฐกิจได้มองว่าอย่างน้อยรายได้ต้องมาจาก Non-oil ขึ้นไปให้ได้อย่างน้อย 267 Billion USD จากเดิม 40 Billion USD หรือเพิ่มขึ้น 6 เท่าตัว
ด้านความมั่นคงของประเทศ
ทางประเทศซาอุฯ มองถึงเรื่องการลงทุน ซึ่งจากเดิมที่เป็น Public Investments มีมูลค่า 160 Billion USD จะเพิ่มเป็น 2 Trillion และให้ประชาชนในประเทศมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจนสามารถมาทำงานอาสาสมัครให้ประเทศได้อย่างน้อย 1 ล้านคน ที่จากเดิมมีเพียง 10,000 คน ตอนนี้มีจำนวน 480,000 คน รวมถึงการเพิ่มสิทธิผู้หญิงที่จากเดิมมีอัตราการจ้างงาน 22% จะเพิ่มเป็น 30% แต่ตอนนี้สามารถทำได้ถึง 35.6% แล้ว และเรื่องการลงทุนจากเดิมที่ใช้เงิน Public Investments ประมาณ 160 Billion USD เพิ่มขึ้น 4 เท่าตัว เป็น 620 Billion USD ภายในระยะเวลา 8 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็น Vision 2030 ของประเทศซาอุดิอาระเบีย
คุณบอม โอฬาร วีระนนท์ CEO & Co-founder, YAK GREEN (บจ.ยักษ์เขียว)
และอดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ความคาดหวังจากประเทศไทยในมิติของเศรษฐกิจ
คุณโอฬาร กล่าวว่าในตอนนี้ประเทศซาอุดิอาระเบีย ได้ทำตามทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำให้จ้างคน 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งมาขุดคลอง และอีกกลุ่มมาถมคลอง เพื่อให้เกิดเงินหนุมในวงล้อเศรษฐกิจ ซึ่งตอนนี้ประเทศซาอุฯ มองที่ริยาด เมืองหลวง เมืองเก่า ๆ ที่เคยสร้างมาได้ทำการทุบทิ้งแล้วทำการสร้างใหม่ทั้งหมด ตัวอย่างโครงการ The Line เป็นเพียง 1 ใน 20 โครงการของซาอุฯ โดยได้แบ่ง Infrastructure ในการพัฒนาเป็น 2 ระดับ ระดับแรกคือ Mega Project ที่เป็นโครงการที่มีมูลค่าการลงทุนมากกว่า 1 Billion USD และ Giga Project ที่มีมูลค่าการลงทุนขั้นต่ำ 10 Billion USD ตั้งแต่ตอนเปิดประเทศช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา Mega Project มีประมาณ 20 โครงการ และ Giga Project มี 3 โครงการ ทำให้มีแนวคิดว่าหากจะเปลี่ยนประเทศธุรกิจอะไรน่าสนใจ ธุรกิจอะไรที่ต้องใช้ในการสร้างเมืองใหม่ คุณโอฬาร มองว่านอกจากวัสดุที่ต้องใช้ในการก่อสร้างแล้วยังมีในเรื่องของการออกแบบ ซึ่งความจริงแล้วสถาปนิกไทยหลายคนทำงานอยู่ที่ซาอุฯ อยู่แล้ว แต่เป็นการทำรับจ้างที่ประเทศเนอเธอร์แลนด์ หรือสิงคโปร์ แต่ไม่ได้ทำโดยตรงกับประเทศซาอุฯ
เมื่อสร้างเมืองใหม่ทำให้เกิดความต้องการด้านสินค้าทางด้านการเกษตร
ทางคุณโอฬาร มองว่า 4-5 ปีต่อจากนี้ จะเป็นปีทองของการส่งออกสินค้าด้านการเกษตร แต่ทางซาอุฯ ก็ได้ตั้งเป้าไว้เช่นกันว่า 7 ปีข้างหน้า 70% ของอาหารต้องผลิตจากในประเทศ ซึ่งจะทำให้เกิดโอกาสสำหรับผู้ที่มีความรู้ด้านการเกษตร ที่ไปตั้งโรงงานผลิตในประเทศซาอุฯ นอกจากนี้ยังมี Investments ด้าน Digital Hub ที่ ริยาด ไทม์สแควร์ ที่เปิดให้ทุกคนสามารถเข้าไปได้ฟรี และมีการจ้างศิลปินระดับโลกตามความต้องการของประชาชนมาให้ทุกคนได้ดูกัน ซึ่ง Digital Hub ส่งเสริมทั้งเรื่อง Startup, Digital Content หรือที่เรียกว่า MarTech และที่สำคัญอีกอย่าง นั่นก็คือ E-Sport และหนึ่งในโครงการที่สำคัญ Green Initiative โดยประเทศกลุ่ม GCC 6 ประเทศรอบนั้นเป็นประเทศที่ผลิตน้ำมัน ที่เป็นเป็นเทศที่ครอบครองพลังงานของโลกราว 60% เมื่อผลิตพลังงานได้เยอะจึงอยากปลูกทำแทนได้เยอะ และในประเทศซาอุฯ มีพื้นที่เสื่อมโทรมราว 250 ล้านไร่ โดยพื้นที่ตรงนี้ต้องการปลูกต้นไม้เพิ่ม ซึ่ง 30% ของพื้นที่ทั้งหมดหรือ 400 ล้านไร่ จะเป็น Protected area คุณโอฬาร ชี้ว่าหากใครทำธุรกิจด้าน BCG เรื่องการเพิ่มพื้นที่สีเขียว การลดคาร์บอนในประเทศ เป็นโอกาสทองที่สำคัญมาก ๆ

ศักยภาพของคนไทยที่จะไปทำงานที่ซาอุฯ
คุณโอฬาร กล่าวว่า เมื่อก่อนประเทศไทยส่ง Unskill Labor ไปทำงานในซาอุฯ ราว 300,000 คน ซึ่งถ้าเราส่งแรงงาน Unskill Labor ไปเราจะได้ค่าแรงไม่เยอะมากนัก สิ่งที่เห็นโอกาสจะเป็น 3 มิติ คือ 1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สายวิศวกรรม, 2. Soft power อาชีพด้านการสื่อสาร รวมถึงร้านนวด ศิลปะอย่างมวยไทย และ 3. มิติด้านการเกษตร ซึ่งทางประเทศซาอุฯ ชื่นชมเรื่องศาสตร์ของพระราชา ในเรื่องของการดูแลต้นไม้ สิ่งแวดล้อม ถ้าเราเอาองค์ความรู้ด้านนี้ที่เรามีพื้นฐานประเทศที่ดีมาใช้อย่างเป็นระบบ จะเป็นโอกาสสำคัญ 3 ด้านหลัก ๆ
ความท้าทายในการเข้าไปใช้ประโยชน์จากการเปิดประเทศซาอุฯ
คุณโอฬาร บอกไว้ว่าจะเป็นในเรื่องของกฎหมาย ที่มองว่าไม่ง่ายหลังจาก 2-3 ปีนี้ กฎหมายจะมีความเข้มข้นขึ้น, ความร่วมมือของพาร์ทเนอร์ ถ้าเข้าไปทำธุรกิจแล้วจับมือกับพาร์ทเนอร์ได้ไม่ถูกราย หรือไม่มีต้นทุนในการลงไปทำธุรกิจตลอดเวลา และรัฐไม่ได้ส่งเสริม ทำให้โอกาสในการเกิดธุรกิจได้จริงก็ไม่ง่าย เพราะทางประเทศซาอุฯ ใช้สายสัมพันธ์ในการนำธุรกิจ หากหวังว่าไปครั้งแรกแล้วเกิดธุรกิจเลยจะเป็นไปได้ยาก แต่ถ้าหากไปแล้วรู้จักกันอย่างเราไปบ้านเขา เขามาบ้านเรา เขาจะเปิดใจทำให้เกิดการทำธุรกิจได้ง่าย และเรื่อง Investment คนส่วนมากมองว่าหากเป็นในเรื่อง Investment จะเป็นนักธุรกิจรายใหญ่ที่เข้าไปได้ แต่ความจริงนั้นไม่จำเป็น เพียงแต่ว่าทางภาครัฐไทยต้องให้การสนับสนุนอย่างเป็นระบบในการทำงาน รวมถึงเราต้องให้ข้อมูลที่เพียงพอเพราะทางซาอุฯ ก็มีประกบ Investment Fund ที่สามารถลงทุนได้มากถึง 75% ในกลุ่มธุรกิจที่เขาสนใจ และคุณโอฬารทิ้งท้ายไว้ว่า “จะไปลงทุนในประเทศใด ต้องรู้ให้ลึก รู้ให้จริง และทำงานกับคนที่ทำเป็น”
สามารถรับชมคลิปจากรายการได้ทาง
โอกาสของธุรกิจไทยกับนโยบาย Vision 2030 | เศรษฐกิจติดบ้าน
https://www.youtube.com/watch?v=_xtCCSKRQ5Q&t=30s
อย่าลืมกดติดตาม Tojo News เพื่อพบกับข่าวสาร และบทความใหม่ ๆ จากเรา
Line Today TOJO NEWS , ToJoNews
#ToJoNews #สำนักข่าวโตโจ้นิวส์
#เศรษฐกิจติดบ้าน #ThaiPBS #Vision2030
#ยักษ์เขียว #ปลูกต้นไม้ในใจคน
#YakGreenChannelOfficial
#Agripreneur #Agtech #GreenTech #BCG
#TreeFarmThailand #YakGreen
#ประเทศไทยพัฒนาได้ถ้าร่วมใจกัน