วันที่ 23 สิงหาคม 2566 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต หนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย ร่วมกับ DURIAN CORPORATION ผู้นำด้านการสร้างหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงของไทย ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญมาร่วมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ณ โรงแรมแลงคาสเตอร์
The Pinnacle Leadership Program by L-NET (PLP) หลักสูตรวิทยาการพัฒนาผู้นำระดับสูงอย่างยั่งยืน (วพส.) เกิดจากความร่วมมือของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่มีความเข้มแข็งทางด้านวิชาการพร้อมกับการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ และ บริษัท ดูเรียน คอร์ปปอเรชัน จำกัด (DURIAN) ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างระบบนิเวศน์นวัตกรรม และการบริหารจัดการหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง ที่มีประสบการณ์ทั้งในประเทศ และระดับนานาชาติ ร่วมกันพัฒนาหลักสูตร PLP ซึ่งประกอบไปด้วย 6 Modules หลักในการเรียนรู้ ที่ออกแบบเนื้อหาเฉพาะเพื่อพัฒนาศักยภาพสู่การเป็นสุดยอดผู้นำที่เป็นตำนาน เป็นผู้บริหารระดับแนวหน้าของประเทศ พร้อมด้วยการถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์จริงจากเหล่าผู้นำระดับสูง จากหลากหลายแวดวง
ภายในงานวันนี้เริ่มช่วงแรกกับกิจกรรม PLP’s Talk ที่ให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มได้มาแบ่งปันประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อเพื่อน ๆ และให้คนได้รู้จักกันมากขึ้น ในวันนี้ช่วงเช้าจะเป็นตัวแทนจาก 2 กลุ่มแรกที่ได้ส่งตัวแทนที่เป็นผู้บริหารตัวจริงมาเล่าแบ่งปันประสบการณ์ไม่ว่าจะเป็น คุณพัชรพร ไชยชนะชมภู ผู้จัดการทั่วไป หจก.ณัฐพงศ์ ขนส่ง และดร.วราธร อภิรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Chat GPT-4 for Executive
เซคชั่นแรกได้รับเกียรติจาก คุณปฤณ จำเริญพานิช ที่ปรึกษาการตลาด (Marketing Consultant) ได้มาพูดให้ความรู้ในหัวข้อ “Chat GPT-4 for Executive” โดยคุณปฤณ เผยว่า Chat GPT นี้เปรียบเสมือนเลขาคนหนึ่งที่เป็นเครื่องมือในการช่วยผู้บริหารในการวางแผนการทำงานในด้านต่าง ๆ
Chat GPT ตัวช่วยที่สามารถทำทุกอย่างที่เราต้องการได้
ความสามารถสำหรับ Chat GPT คุณปฤณ ชี้ว่าสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ข้อด้วยกัน คือ สามารถเข้าใจและสร้างข้อความที่เหมือนมนุษย์ได้, แม้จะได้รับข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตที่หลากหลาย แต่ไม่มีสิทธิ์เข้าถึงฐานข้อมูลที่เป็นความลับได้, สามารถเข้าใจและสร้างข้อความได้หลายภาษา แต่ที่เก่งที่สุดจะเป็นภาษาอังกฤษ, สามารถทำงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อความได้เป็นอย่างดี เช่น การร่างอีเมล หรือการเขียนโค้ด และสามารถสร้างคำตอบตามบริบทที่เราให้ไว้ในการสนทนาได้
ในความสามารถของ Chat GPT ก็ยังมีข้อจำกัดเช่นกัน
สำหรับข้อจำกัดของ Chat GPT นั้นคุณปฤณ บอกไว้ว่า Chat GPT จะไม่มีความรู้สึกหรือประสบการณ์ส่วนตัวเหมือนมนุษย์, ไม่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างเฉพาะเจาะจง, ไม่สามารถเข้าใจคำถามที่คลุมเครือ หรือความแตกต่างทางภาษาที่ซับซ้อนได้ และ Chat GPT 3.5 มีข้อมูลล่าสุดถึงแค่เดือนกันยายน 2021 จึงไม่สามารถเข้าถึงหรือดึงข้อมูลตามเวลาจริงในปัจจุบันได้ ซึ่งปัจจุบันมี Chat GPT 4 ที่มีข้อมูลมากกว่า 3.5 และสามารถโหลดเครื่องมือเสริมได้ โดยจะมีค่าใช้จ่าย 20 เหรียญต่อเดือน คุณปฤณทิ้งท้ายไว้ว่า “Chat GPT ก็เหมือนกับนม เราสามารถสร้างอะไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ของเรา”
Corporate Branding “Finding your Brand DNA ”
อีกช่วงสุดล้ำค่าที่คุณกิตติพงษ์ วีระเตชะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดนท์สุ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) ผู้เชี่ยวชาญด้านแบรนด์และการสื่อสารการตลาด ได้มาร่วมให้ความรู้กับหัวข้อ Corporate Branding “Finding your Brand DNA” ซึ่งคุณกิตติพงษ์ ชี้ว่าการทำแบรนด์นั้นให้มองในมุมมองผู้บริโภค ไม่ใช่การมองในมุมมองผู้ผลิต พร้อมทั้งมีการยกตัวอย่างว่าหากเป็นเสื้อยืดเปล่า ๆ นั้นให้ราคาเท่าไหร่ และถ้ามีการใส่โลโก้แบรนด์ลงไปนั้นจะให้ราคาเท่าไหร่ที่จะยอมซื้อ นอกจากนี้ยังให้ผู้เข้าร่วมได้เปรียบเทียบตัวเองกับแบรนด์ ว่าตัวเองนั้นเป็นแบรนด์อะไร เพราะอะไร
Value Creation สมการแห่งการสร้างคุณค่า
คุณกิตติพงษ์ กล่าวว่าการทำการตลาดหรือการทำแบรนด์นั้นไม่ใช่การวางแผนแบบเป็นเส้นตรงเหมือนในอดีต แต่ในปัจจุบันนั้นมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และได้เผยถึงสมการแห่งศาสตร์การสร้างคุณค่านั้นมาจาก จินตนาการ, ความคิดสร้างสรรค์, ความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น และนวัตกรรม พร้อมกับชี้ว่าการทำแบรนด์ในปัจจุบันนั้นให้เริ่มจากคุณภาพและความรับผิดชอบ ให้เริ่มจากลูกค้าเป็นตัวตั้งทำให้ชีวิตเขาดีขึ้น เพราะการหาลูกค้าใหม่นั้นยากกว่าการรักษาลูกค้าเดิม
Design Thinking “Sustainable Devepment Leadership Homkhajorn Model”
สำหรับช่วงสุดท้ายของวันได้เชิญคุณชวยศ ป้อมคำ Co-founder & CEO Codekit Innovation Co., Ltd. Lean Innovation Thailand Co., Ltd. ผู้ช่วยนายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย มาแบ่งปันความรู้ในหัวข้อ Design Thinking “Sustainable Devepment Leadership Homkhajorn Model”โดยให้แบ่งกลุ่มเพื่อทำการ Workshop การทำ Design Thinking และได้มีการให้ชี้ไปที่มีประสบการณ์น้อยสุด ซึ่งคนคนนั้นจะได้รับหน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม
Empathy Workshop
คุณชวยศให้แต่ละกลุ่มได้สัมภาษณ์บุคคลภายนอกสำหรับการสอบถามข้อมูลในหัวข้อ Food, Health, Education และEnvironment ตามที่ตัวเองได้รับ และนำมาสร้างประโยคในการแก้ปัญหาด้วยประโยค How Might We เราจะ….ได้อย่างไร? แล้วทำการสร้าง Solution จากหลาย ๆ มุมมองและคัดเลือกไอเดียที่น่าสนใจ โดยเน้นที่ Wild Idea และ Follow 7 Rule แล้วนำมาสร้างต้นแบบเพื่อนำเสนอสิ่งที่ “เห็นภาพ จับต้องได้” โดยการวาด Storyboard จำนวนไม่เกิน 6 ช่อง และใช้อุปกรณ์ที่มีในการสร้างตัวอย่างของโปรเจกต์นั้น พร้อมทั้งให้ออกมานำเสนอและให้กลุ่มอื่น ๆ แสดงความคิดเห็นต่อการทำสิ่งนั้น ซึ่งคุณชวยศทิ้งท้ายสำหรับกิจกรรมนี้ไว้ว่า “Design Thinking is a Mindset, not Tools”
PLP’s Talk
ก่อนจบกิจกรรมของวันได้มีกิจกรรม PLP’s Talk จากอีก 2 ทีม ที่ได้ส่งตัวแทนผู้บริหารมาเล่าแบ่งปันประสบการณ์ทั้งคุณแสนสุข ฉิมเย็น Vice President Sale and Marketing บริษัท เน็กซ์เทค เอเชีย จำกัด และคุณเอนก เวชพันธุ์ CEO & Co-Founder บริษัท น้ำใสไทย จำกัด
ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ที่
Website : Thepinnacle, DurianCorp
Facebook : The Pinnacle Leadership Program , DurianCorp
#ThePinnacleLeadershipProgram #PLP
#SDUXDURIAN #SDU
#โอฬารวีระนนท์ #DURIAN #Becomealegendaryleader
#ปฤณจำเริญพานิช #กิตติพงษ์วีระเตชะ #ชวยศป้อมคำ
อย่าลืมกดติดตาม Tojo News เพื่อพบกับข่าวสาร และบทความใหม่ ๆ จากเรา
Line Today TOJO NEWS , ToJoNews