ในสภาวะที่ประเทศไทยกำลังต่อสู้กับการระบาดของ COVID-19 ซึ่งกำลังอยู่ในสถานการณ์
ที่แย่กว่าที่คาดคิดกันเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ การฉีดวัคซีน
เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันสังคม ยังทำได้น้อย เนื่องจากปัญหาการกระจายวัคซีนสำหรับฉีด
ให้กับประชาชนในส่วนต่างๆของประเทศ ยังไม่ครอบคลุม รวมถึงปริมาณของวัคซีน
ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการในการใช้งาน และ ปัญหาสำคัญคือ
บุคลากรทางการแพทย์ที่เหนื่อยล้าจากการปฏิบัติงานอย่างหนัก มาต่อเนื่องยาวนาน
ตั้งแต่มีการระบาดเกิดขึ้นในประเทศ
ด้วยสถานการณ์ดังกล่าว คณะนักวิจัยจากหน่วยปฏิบัติการวิจัยวิศวกรรมชีววัสดุ
เพื่อการแพทย์และสุขภาพ หรือ (BEMHRU) แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้ทำการพัฒนาแขนกล “AutoVacc” หรือ เครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัติ
ซึ่งมีความสามารถแบ่งบรรจุวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca)
ออกจากขวดได้ 12 โดส ภายใน 4 นาที
ภายหลังจากเริ่มใช้งานจริงเมื่อวันจันทร์ 23 ส.ค. ที่ผ่านมา ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์
แห่งหน่วยปฏิบัติการวิจัยวิศวกรรมชีววัสดุเพื่อการแพทย์และสุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เปิดเผยว่า แขนกลนี้สามารถดึงปริมาณวัคซีนมาใช้ ได้มากกว่าแรงคน 20% หรือ
จาก 10 โดสเป็น 12 โดส ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการกระจายวัคซีน
ลดความเหนื่อยล้า จากการใช้แรงงานบุคลากรทางการแพทย์
“ส่วนที่เพิ่มขึ้น 20% หมายความว่า
หากเรามีวัคซีนแอสตร้าฯ 1 ล้านโดส
สำหรับฉีด 1 ล้านคน หุ่นยนต์นี้
จะช่วยเพิ่มตัวเลขผู้ได้รับวัคซีนเป็น 1.2 ล้านคน”
ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ประธานหลักสูตรวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จนถึงวันที่ 25 ส.ค. สถิติของผู้ได้รับวัคซีนโควิดครบโดสแล้วในประเทศไทยอยู่ที่ ราว 9%
ของจำนวนประชากรกว่า 66 ล้านคน ขณะที่จำนวนวัคซีนที่มีอยู่ในประเทศนั้น น้อยกว่าที่คาดไว้
ทีมวิจัยจุฬาฯ คาดว่า จะสามารถผลิตหุ่นยนต์ AutoVacc ได้อีก 20 เครื่อง ภายใน 3-4 เดือน
โดยเครื่องต้นแบบมีมูลค่าราวๆ 2.5 ล้านบาท และยังมีแผนจะพัฒนาหุ่นยนต์แบ่งบรรจุเพื่อใช้กับ
วัคซีนไฟเซอร์-ไบออนเทค (Pfizer-BioNTech) และโมเดอร์นา (Moderna) อีกด้วย
ภาพและข้อมูลจากรอยเตอร์
https://www.reuters.com/world/asia-pacific/thailand-develops-robotic-system-squeeze-out-more-vaccine-doses-2021-08-25/
You must be logged in to post a comment Login