ผู้สื่อข่าวต่างประเทศของสำนัดข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ชื่อดังช่อง DW ของเยอรมัน ได้จัดทำสารคดีเรื่องการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางน้ำ”เรือเมล์ไฟฟ้า”ของ กรุงเทพมหานครแล้วนำขึ้นเผยแพร่ต่อบนช่องยูทูบ
เนื้อหาในสารคดีกล่าวถึง สภาพภูมิประเทศดั้งเดิมของกรุงเทพฯ ที่มีเส้นทางการสัญจรทางน้ำมากมายในอดีต แต่ด้วยนโยบายการปรับตัวเพื่อพัฒนาเมืองให้ก้าวทันความเจริญของโลก ทำให้ผู้บริการเมืองในอดีตที่ผ่านๆมา ได้ถมคูคลองแล้วสร้างถนนขึ้นมาแทน เพื่อรองรับการเดินทางด้วยรถยนตร์ตามสมัยนิยม
โดยระบบคลองต่างๆในกรุงเทพฯมีระยะทางรวมกันถึง 400 กิโลเมตร และในวันหนึ่งๆมีชาวกรุงเทพใช้บริการการเดินเรือในคลองถึงวันละ 50,000 คน
ในสารคดีดังกล่าวยังได้อธิบายให้ผู้ชมได้รับรู้ถึงขั้นตอนในการเข้ามาแก้ไขปัญหาในอดีตของระบบการขนส่งมวลชนทางน้ำของกรุงเทพฯ โดยมีขั้นตอนหลักๆที่สำคัญ 2 ประการคือ
– การปรับปรุงทัศนียภาพริมคลองและช่วยเหลือชาวบ้านริมคลองให้ได้มีที่อยู่อาศัยที่ถูกสุขลักษณะมากขึ้นกว่าเดิม
– การนำเรือเมล์พลังงานไฟฟ้ามาให้บริการขนส่งมวลชน
ระบบคลองต่างๆในกรุงเทพฯนี้ยาวถึง 400 กิโลเมตร และในวันหนึ่งๆมีชาวกรุงเทพโดยสารเรือไปไหนมาไหนถึงวันละ 50,000 คน
โดยผู้สื่อข่าวช่อง DW ได้ลงเรือเพื่อเก็บภาพบรรยากาศริมคลองสายสำคัญของกรุงเทพฯ เช่น คลองลาดพร้าว คลองผดุงกรุงเกษม คลองแสนแสบ และอธิบายว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐ ร่วมมือกับชาวบ้านที่เคยปลูกบ้านรุกล้ำเข้ามาในลำคลองจนกีดขวางเส้นทางการสัญจรทางน้ำ ได้ตกลงย้ายบ้านขยับออกไป จากนั้นรัฐบาลก็ช่วยเหลือสร้างบ้าน สร้างทาวน์เฮ้าส์เพื่อให้ประชาชนได้เข้าไปอยู่กันขึ้นใหม่
จากสลัมริมคลองก็กลายบ้านสวยๆริมคลอง ชาวบ้านก็ยินดีมีสุข
ในสารคดียังอธิบายอีกว่า ดั้งเดิมเรือที่นำมาให้บริการประชาชนในคลองนั้นเป็นเรือที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งมีปัญหาทั้งเครื่องยนตร์ที่ดัง มีควันดำเป็นมลพิษ
แต่ในอนาคต เรือที่จะมาให้บริการในคลองจะปรับเปลี่ยนมาใช้ พลังงานแบตเตอรี่ โดยใช้เครื่องยนต์และแบตเตอรี่ของบริษัทเยอรมันชื่อ โดยต่อการชาร์จเต็มหนึ่งครั้ง เรือสามารถแล่นรับผู้โดยสารได้ 4 ชั่วโมง
และยังมีแผงโซล่าร์เซลล์ช่วยชาร์จไฟให้แบตเตอร์ระหว่างที่เรือวิ่งไปด้วย พลังจากแสงอาทิตย์นี้ช่วยให้เรือยืดระยะวิ่งได้อีก 15-20 นาที
ซึ่งเรือเมล์พลังงานไฟฟ้านี้ ผู้โดยสารและชาวบ้านสองริมคลองชอบมาก เพราะเงียบและไม่มีมลพิษ
เรื่องและภาพจาก
You must be logged in to post a comment Login