บ้านเมืองไม่ได้เจริญก้าวหน้าด้วยวิชาการด้านสังคมศาสตร์เพียงอย่างเดียว ความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติบ้านเมืองมากจากวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีวิชาการด้านสังคมศาสตร์ทำหน้าที่ในสนับสนุน ในแต่ละบริบทของสังคม
คีตาญชลี เรา (เกิด 19 พฤศจิกายน 2005 (พ.ศ. 2548)) เป็นนักประดิษฐ์ชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย เป็นนักเขียน นักวิทยาศาสตร์และผู้ได้รับการสนับสนุนการศึกษา STEM School Highlands Ranch
TIM201207_KOTY.FINALCover Photograph by Sharif Hamza for TIME
– เธอได้รับรางวัล Discovery Education 3M Young Scientist Challenge ในปี 2017
ได้รับเงินรางวัล 25,000 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ (ราว 750,000 บาท)
– ได้รับการยอมรับจาก Forbes 30 Under 30 สำหรับสิ่งประดิษฐ์อันเป็นนวัตกรรมของเธอ
– เธอได้รับเลือกให้เป็น TIME Top young innovator ในปี 2020 สำหรับนวัตกรรมและ “การประชุม เชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรม” ซึ่งเธอดำเนินการไปทั่วโลก
– และเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2020 เธอได้รับโอกาสให้ปรากฎตัวขึ้นหน้าปกของนิตยสาร TIME และได้รับการขนานนามว่า “Kid of the Year” เป็นคนแรกอีกด้วย
ชีวิตวัยเด็ก คีตาญชลี เรา เกิดที่เมือง Lone Tree มลรัฐโคโลราโด และเข้าเรียนที่ STEM School Highlands Ranch เธอสนใจในการศึกษาพันธุศาสตร์และระบาดวิทยาที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์
time-koty-gitanjali-rao Photograph by Sharif Hamza for TIME
เธอได้กล่าวถึง “ช่องว่างของค่าจ้าง/เงินเดือนระหว่างเพศ” ด้วย
ตอนอายุ 10 ขวบ เธอได้ยินเรื่องของวิกฤตแม่น้ำฟลินท์ขณะดูข่าว และเริ่มสนใจในวิธีการวัดปริมาณสารตะกั่วในน้ำ นำไปสู่การพัฒนาอุปกรณ์ที่เรียกว่า “Tethys” โดยใช้ท่อนาโนคาร์บอนที่สามารถส่งข้อมูลคุณภาพน้ำผ่านบลูทูธได้
Tethys ประกอบด้วยแบตเตอรี่ขนาด 9 โวลต์ ชุดตรวจจับตะกั่ว ส่วนขยายบลูทูธ และโปรเซสเซอร์ เลือกใช้ท่อนาโนคาร์บอนซึ่งความต้านทานจะเปลี่ยนไปเมื่อตรวจพบตะกั่ว เธอเรียนรู้เกี่ยวกับท่อนาโนคาร์บอนขณะอ่านเว็บไซต์ของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ เธอวางแผนที่จะทำงานร่วมกับนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เพื่อตรวจสอบศักยภาพของ Tethys เมื่อเป็นวิธีการที่ใช้ได้ผล เธอก็ได้เสนอแนวคิดของเธอในการประชุม MAKERS ปี 2018 และระดมทุนได้อีก 25,000 ดอลลาร์ เมื่อเดือนมกราคม 2019 เธอทำงานกับโรงงานผลิตน้ำในเมืองเดนเวอร์ และหวังว่าจะมีต้นแบบในอีกสองปีข้างหน้า (ปี 2021)
เธอเป็นวิทยากรของงาน TEDx 3 ครั้ง และเมื่อกันยายน 2018 เธอได้รับรางวัล United States Environmental Protection Agency President’s Environmental Youth Award
นอกจากนั้นเธอยังได้รับรางวัล Pillar Prize ยอดนิยม จากการแข่งขัน TCS Ignite Innovation Student Challenge ในเดือนพฤษภาคม 2019 สำหรับการพัฒนาเครื่องมือวินิจฉัยที่เรียกว่า Epione โดยอาศัยความก้าวหน้าทางพันธุวิศวกรรมเพื่อการวินิจฉัยการติดยาของผู้ติดยาในกลุ่ม opioid ในระยะเริ่มต้น
เธอยังได้พัฒนา Application ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่สามารถตรวจจับการข่มขู่คุกคามทางอินเทอร์เน็ตได้ในระยะเริ่มต้นอีกด้วย
นอกจากนี้เธอยังเป็นนักเปียโนที่มากฝีมือ จากคำบอกเล่าของคุณแม่ของเธอ เมื่อเธออายุได้สามขวบ เธอถามว่า เธอจะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยคนที่ป่วย เธอได้รับคำแนะนำให้ฝึกฝนดนตรี
ปัจจุบัน คีตาญชลี เรา เป็นสมาชิกของ Scouts และได้ลงทะเบียนในโครงการ Scouting STEM ในสหรัฐอเมริกา และเธอกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการขอใบอนุญาตขับเครื่องบินด้วย
“สังเกต ระดมสมอง ค้นคว้า ลงมือ และสื่อสาร” นั่นคือกระบวนที่เด็ก อัจฉริยะ “คีตาญชลี เรา” เล่าให้นักแสดงสาว แองเจลิน่า โจลี่ (Angelina Jolie) ผ่านระบบสื่อสารของแอฟ ซูม จากบ้านของเธอในมลรัฐโคโลราโด ระหว่างพักเบรคจากการเรียนทางไกลในห้องเรียนเสมือนจริง คีตาญชลี เรา วัย15 ปี ได้รับเลือกในสาขาที่มีผู้ได้รับการเสนอชื่อมากกว่า 5,000 คน ให้เป็น Kid of the Year คนแรกของ TIME เธอพูดถึงผลงานอันน่าทึ่งของเธอ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการกับปัญหาต่างๆตั้งแต่น้ำดื่มที่ปนเปื้อนสารตะกั่ว การบำบัดผู้ติดยาเสพติดในกลุ่ม opioid และการข่มขู่คุกคามทางอินเทอร์เน็ต
เธอมีเป้าหมายที่จะสร้างชุมชนนักประดิษฐ์รุ่นใหม่เพื่อระดมสมองแก้ไขปัญหาต่างๆของโลก
แม้จะเป็นการสนทนากันผ่านวีดิโอทางไกล แต่ก็สัมผัสได้ถึงความปรารถนาอันแรงกล้าของเธอ ทั้งยังส่งผ่านแรงบันดาลใจของเธอถึงหนุ่มสาวอีกนับพัน “เราไม่ได้เข้าไปแก้ไขทุกปัญหา แค่มุ่งมั่นในเรื่องที่ท้าทายคุณ ถ้าฉันทำได้ ใครๆ ก็ทำได้” คีตาญชลี เรากล่าว
เครดิตข่าวต้นทาง https://www.facebook.com/doctoryothin/posts/1371903019823515
You must be logged in to post a comment Login