จากกรณีรถบรรทุกรูปปั้น ครูกายแก้ว เทพเจ้าแห่งโชคลาภ ติดคานสะพานลอยคนข้าม เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566 จนทำให้การจราจรติดขัดเป็นอย่างมาก จนกลายเป็นไวรัล ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม มีทั้งคนเชื่อและไม่เชื่อ
ครูกายแก้ว บรมครูผู้เรืองเวทย์
“ครูกายแก้ว” หลายคนอาจรู้จักกันในนาม “พ่อใหญ่ บรมครูผู้เรืองเวทย์” มีรูปร่างลักษณะของผู้บำเพ็ญกึ่งมนุษย์กึ่งนก เล็บยาว ตาแดง มีปีกด้านหลัง มีเขี้ยวสีทองสื่อถึงนกการเวก รูปปั้นองค์ปฐมครูกายแก้วถูกสร้างเป็นไปตามจินตนาการของ อ.สุชาติ รัตนสุข ที่ได้รับองค์ครูขนาดเล็กหน้าตักเพียง 2 นิ้ว จาก อ.ถวิล มิลินทจินดา นักร้องเพลงไทยเดิมของกองดุริยางค์ทหารสมัยก่อน ที่ได้รับต่อมาอีกทีจากพระธุดงค์ จ.ลำปาง ที่ไปทำสมาธิที่ปราสาทนครวัดนครธม ประเทศกัมพูชา
ผู้บูชาเชื่อว่าครูกายแก้วจะช่วยเรื่องความสำเร็จ การค้าขาย เพราะครูกายแก้วมีลักษณะคล้ายนกการเวก สัตว์จากป่าหิมพานต์ที่มีเสียงไพเราะ จะช่วยดึงดูดใจคนที่ได้ยินเสียง ช่วยโน้มน้าวใจ จึงเป็นที่นิยมในหมู่พ่อค้าแม่ขาย และไม่ใช่แค่ชาวไทยเท่านั้น ครูกายแก้วยังเป็นที่นิยมกับสายมูชาวต่างชาติ อาทิ ชาวจีน ไต้หวัน ฮ่องกง
ผู้ที่อยากกราบไหว้ขอพรจาก ครูกายแก้ว สามารถไปได้ที่เทวาลัยพระพิฆเนศ สี่แยกห้วยขวาง, เทวาลัยพระพิฆเนศบางใหญ่, ศาลพระพิฆเนศ อาเขตเชียงใหม่ และในเร็ว ๆ นี้ ที่โรงแรมย่านรัชดา-ลาดพร้าว
คาถาบูชาครูกายแก้ว
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธ ธัสสะ (ตั้งนะโม 3 จบ)
มะอะอุ ครูกายแก้ว เมตตา จะมหาราชา สัพพะสเน่หา มะมะจิตตัง ปิยังมะมะ (สวด 9 จบ)
อย่าลืมกดติดตาม Tojo News เพื่อพบกับข่าวสาร และบทความใหม่ ๆ จากเรา
Line Today TOJO NEWS , ToJoNews